svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ม.อ.หาดใหญ่เผยงานวิจัยติดเชื้อโควิด-19 จาก“แมวสู่คน”

20 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.หาดใหญ่) ตั้งโต๊ะแถลงผลงานวิจัยพบการติดเชื้อโควิด-19 จาก “แมวสู่คน” ครั้งแรกของโลก ย้ำชัดอย่าตื่นตระหนกแนวโน้มเกิดขึ้นน้อยแค่ต้องพึงระวัง

20 มิ.ย.65 ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แถลงข่าวผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.65 ในวารสาร Emerging Infectious Diseases ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ (CDC) ที่ระบุว่า ไทยน่าจะเป็นประเทศแรกที่พบการติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งคาดว่าเป็นการติดจาก "แมวสู่คน"

รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการเก็บตัวอย่างจากกลุ่มผู้ป่วย 2 คนเป็นพ่อและลูกที่ติดเชื้อโควิด19 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.64 มีอาการของ COVID-19 และตรวจพบผลเป็นบวกในกรุงเทพฯ แต่เนื่องจากเตียงเต็ม จึงถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ซึ่งก็ปรากฏว่าทั้ง 2 คนพาแมวที่เลี้ยงมาด้วย

ม.อ.หาดใหญ่เผยงานวิจัยติดเชื้อโควิด-19 จาก“แมวสู่คน”

ม.อ.หาดใหญ่เผยงานวิจัยติดเชื้อโควิด-19 จาก“แมวสู่คน”

เมื่อมาถึงแมวจึงถูกส่งไปยังโรงพยาบาลสัตว์แห่งหนึ่งเพื่อทำการตรวจ โดยมีสัตวแพทย์หญิงวัย 32 ปี ตรวจหาเชื้อด้วยการแยงจมูกและทวารหนัก ซึ่งก็พบผลเป็นบวก ทั้งนี้ขณะที่กำลังสวอบ แมวตัวนี้ได้จามใส่หน้าสัตวแพทย์หญิง ที่กำลังใส่ถุงมือ หน้ากาก แต่ไม่ได้ใส่ face shield หรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาต่อมาวันที่ 13 ส.ค. สัตวแพทย์หญิงเริ่มมีอาการของ COVID-19 เช่น ไอและเป็นไข้ จากเดิมที่ยังสุขภาพดี ไม่เคยมีอาการใดๆ มาก่อน แต่ก็ไม่ได้ไปพบแพทย์จนกระทั่งวันที่ 15 ส.ค. จนสุดท้ายก็ตรวจพบผลเชื้อไวรัสเป็นบวก

 

รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ระบุอีกว่า การศึกษาลำดับจีโนม (genome sequencing) โดยทีมนักวิจัย ประกอบกับระยะเวลาการติดเชื้อที่ใกล้เคียงกัน พบว่า การติดเชื้อของทั้งสัตวแพทย์หญิง แมว และเจ้าของอีก 2 คน มีความเกี่ยวข้องกันในทางระบาดวิทยา เนื่องจากสัตวแพทย์หญิงไม่เคยพบกับเจ้าของมาก่อน จึงสรุปได้ว่า น่าจะติดจากการที่แมวจามใส่หน้า

ม.อ.หาดใหญ่เผยงานวิจัยติดเชื้อโควิด-19 จาก“แมวสู่คน”

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ถือเป็นหลักฐานที่ชี้ถึงการแพร่ระบาดจากแมวสู่คน แม้ว่าอัตราการเกิดของการแพร่ระบาดจะพบได้ไม่บ่อยและมีแนวโน้มน้อยมาก อีกทั้งแมวมีระยะเวลาการขับเชื้อ (viral shedding) ที่สั้น คือ 5 วันโดยเฉลี่ยเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อควรเว้นจากการใกล้ชิดกับแมว ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสกับแมวก็ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาเสริมไปด้วย

logoline