svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เผยวิธีตรวจค่า THC ในกัญชาว่าเกิน 0.2% หรือไม่ จะต้องทำยังไง

13 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไขข้อสงสัยว่า จะวัดค่า THC ในกัญชา ไม่ให้เกิน 0.2% ทำยังไง? ฟังข้อมูลจาก คุณเอ๋ อุนารินทร์ กิจไพบูลทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคนนาบิซ เวย์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกัญชา วันนี้ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ จะสรุปให้ทราบเคลียร์ชัดๆ กันตรงนี้

หลังรัฐบาลประกาศนโยบาย “ปลดล็อกกัญชา เป็น “กัญชาเสรี” แล้วนั้น แต่ยังเน้นย้ำว่า เพื่อใช้ประโชน์สูงสุดทางการแพทย์ และ เป็นพืชเศรษฐกิจ  เท่านั้น สันทนาการ สูบ ยังไม่เน้น แต่ก็กระแสแรงสุด แอปฯล่มกันทีเดียว ร้านขายต้นและเมล็ดพันธุ์กัญชา แถวลาดพร้าวแทบแตก  แต่เพราะ สาร THC มีฤทธิต่อจิตประสาท อาจเสพติดได้ ถ้าเข้มข้นเกิน เพราะงั้นการจะปลูก หรือ มี กัญชาในครอบครอง กฏหมายกำหนดว่า ต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2% เท่านั้น 

เผยวิธีตรวจค่า THC ในกัญชาว่าเกิน 0.2% หรือไม่ จะต้องทำยังไง

 

แล้วประชาชนอย่างเราๆ จะรู้ได้ยังไง ว่าต้น หรือ ส่วนประกอบกัญชาที่เรามี มีสาร THC เท่าไหร่

สำหรับในประเด็นนี้ ทางด้าน คุณเอ๋ อุนารินทร์​ กิจไพบู​ล​ทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท​ แคนนาบิ​ซ​ เวย์​  จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกัญชา  ระบุว่า
ต้องตรวจผ่านห้อง LAB เท่านั้น ปชช ตรวจเองไม่ได้ ถ้าประชาชนอยากจะปลูก พันธุ์ไหนก็ได้เลย เพราะ THC ต่ำอยู่แล้วใน ใบ กิ่งก้าน ราก ลำต้น ถ้าไม่ได้ใช้ช่อดอก
แต่ถ้าสูง จะรู้ได้วิธีเดียวคือการตรวจห้อง แล็บ อุปกรณ์ตรวจราคา 3 - 5 ล้านบาท หรือตรวจ ครั้งละ 5000 บาท เพราะงั้นชาวบ้านไม่สามารถตรวจได้

สมมติเราปลูกอยู่ ตำรวจเจอ จับเลยไม่ได้นะ เพราะการจะตรวจค่า THC ต้องตรวจจาก น้ำมันกัญชา ที่สกัดแล้ว เท่านั้น โดยต้องเอาไปตรวจแล็บ ให้รู้ว่าค่าเกิน หรือไม่เกิน แต่เราอาจจะสังเกตจากสีได้ ถ้าสีเข้ม ยางดำ หนืด อาจจะมีค่า THC สูง

เผยวิธีตรวจค่า THC ในกัญชาว่าเกิน 0.2% หรือไม่ จะต้องทำยังไง

ส่วนไหนในกัญชา มีสาร THC สูงที่สุด?
ช่อดอก ต้องระวังแค่ ถ้าเป็นช่อดอก แล้วเอามาสกัด เพราะช่อดอกมีสาร THC สูงสุด 2 -10 % เลยในบางสายพันธุ์ ถ้าเอามาสกัด ทำเนยกัญชา มีความเสี่ยงถ้าหากค่าเกิน แต่ก็สามารถนำเอาน้ำมันสกัดที่เราสกัดแล้ว เช่น ต้ม หรือ เคี่ยว น้ำกัญชา มาทำให้เจือจาง ก่อนจำหน่าย ได้ ถ้าเอาไปตรวจ ก็ไม่ผิดกฏหมาย ถ้าค่าต่ำกว่า 0.2%

ถ้าเป็นร้านอาหาร ร้านขนม จะเอาใบกัญชา เอาราก ต้น มาสกัด ด้วยการ เคี่ยว หรือ ต้ม เพื่อทำอาหารหรือขนม ทำได้เลย
เพราะส่วนใหญ่ THC ไม่เกิน หรือ เจือจางในน้ำหมดแล้ว

การเลือกเมล็ดพันธุ์กัญชา ถ้าเอาดี ก็เลือกจาก ตปท. ที่ได้มาตรฐาน COA เขาจะบอกรายละเอียดหมดว่ามี สาร THC และ CBD เท่าไหร่ แต่เมล็ดละ 100 - 300 แพงมาก  ชาวบ้านเข้าไม่ถึง เพราะงั้น เลือกพันธุ์ไหนก็ได้ ถ้าใช้แค่ ใบ ราก กิ่ง ลำต้น ไม่เกิน ....

สรุปได้ว่า
เราตรวจค่า THC เองไม่ได้ ต้องตรวจใน LAB เท่านั้น

ถ้าใช้แค่ ใบ ราก ลำต้น  ปลูกพันธุ์ไหนก็ได้ เพราะมีสาร THC ต่ำอยู่แล้ว แต่ถ้าใช้ช่อดอก ต้องระวัง เพราะค่า THC สูง
ถ้าเอาไปสกัด ต้องเอาไปเจือจาง ไดลูส จนค่าต่ำกว่า 0.2% ก่อน
แต่ถึงเกิน ตำรวจจะจับเลยก็ไม่ได้ ต้องมาเอาไปตรวจผ่าน LAB ก่อน จากสารสกัดแล้ว เท่านั้นนะจ้ะพี่ๆ บรรดาสายเขียว 

เผยวิธีตรวจค่า THC ในกัญชาว่าเกิน 0.2% หรือไม่ จะต้องทำยังไง

ไขปมคำถามคาใจเกี่ยวกับ กัญชง กัญชา

 

 

 

9 มิ.ย. ดีเดย์ ปลดล็อกกัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติดประเภท 5 แต่ต้องเป็นส่วนประกอบต่างๆ ที่มีสาร THC ไม่เกิน 0.2% ครอบครอง นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ปลูกในบ้านกี่ต้นก็ได้ ไม่ต้องขออนุญาติ แต่ต้องยื่นจดแจ้งผ่านแอป PlookGunJa แล้ว สูบกัญชา ผิดกฏหมายหรือไม่ ตรงนี้มีคำตอบ !!

 

 

 

ดีเดย์ปลดล็อกกัญชา สูบกัญชา ผิดกฏหมายไหม?
ดีเดย์ไปแล้ว เมื่อ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลปลดล็อก กัญชง กัญชา ออกจากยาเสพติดประเภท 5 แต่ต้องเป็นส่วนประกอบต่างๆ ที่มีสาร THC ไม่เกิน 0.2% สามารถมีไว้ในครอบครอง นำเข้า ส่งออก จำหน่าย

 

 

 

การเพราะปลูกในบ้านกี่ต้นก็ได้ ไม่ต้องขออนุญาติ แต่ต้องยื่นจดแจ้งกับ สธ.จังหวัด หรือ อย. ผ่านแอป Plook Gun Ja ว่าเราปลูกอะไร ใช้ทำอะไร เน้นว่าหลักๆเพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ และ เป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต ยังไม่เน้นเรื่องสันทนาการ

แล้วสูบกัญชา ผิดกฏหมายไหม?
พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง.ผบ.ตร  พูดชัด ตั้งแต่ 9 มิ.ย. สูบกัญชาในบ้าน ไม่มีความผิด ยกเว้นสูบกัญชาในที่สาธารณะ 
 

 

 

 

ผิด พรบ.สาธารณะสุข ทำความเดือดร้อนรำคาญ กลิ่น ควัน
(จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุด 2.5หมื่นบาท)

 

 

 

อะไรที่ทำเกี่ยวกับกัญชาแล้วผิดบ้าง?
ครอบครอง นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ปลูก กัญชา กัญชง ที่มีสาร THC เกิน 0.2% ขึ้น โดยไมมีใบอนุญาติ ไม่มีใบสั่งแพย์ ไม่ผ่านการรับรองจาก อย. หรือเป็นสารสกัดที่มีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ

 

 

 

เผยวิธีตรวจค่า THC ในกัญชาว่าเกิน 0.2% หรือไม่ จะต้องทำยังไง ขอขอบคุณที่มา : springnews

 

 

 

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุด เกี่ยวกับกัญชา วงการแพทย์ยกเคส "คุกกี้กัญชา" ทำหนุ่ม 19 เสียชีวิต ห่วงคุมไม่ได้ ผสมในอาหาร-เครื่องดื่ม

 

 

 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า ไม่สนับสนุน และไม่อุดหนุน ร้านที่ขายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว ขนมต่างๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา พร้อมกับเปิดรายงานการเสียชีวิตจากการกินคุกกี้กัญชา ว่า วารสารทางการแพทย์และสาธารณสุข MMWR ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม 2015 ได้รายงานกรณีศึกษาผู้เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาหลังจากกินคุกกี้กัญชา

เหตุเกิดเมื่อมีนาคม 2014 ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของรัฐโคโลราโด ได้รับรายงานว่ามีผู้ชายอายุ 19 ปี ที่เสียชีวิตหลังจากกินผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม จึงไปทำการสอบสวนภาวะดังกล่าว ทบทวนผลการชันสูตรศพ และรายงานของตำรวจ

เรื่องราวที่เกิดขึ้นคือ ผู้เสียชีวิตคนนี้ได้รับคุกกี้กัญชาจากเพื่อน หลังจากกินไปเพียง 1 ชิ้น เวลาผ่านไป 30-60 นาทีต่อมาก็ไม่ได้รู้สึกอะไร จึงได้กินเพิ่ม หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง พบว่ามีอาการพูดจาตะกุกตะกักผิดๆ ถูกๆ และมีอาการและพฤติกรรมดุร้ายขึ้น

เมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมงครึ่งหลังที่กินคุกกี้ชิ้นแรก และหลังกินเพิ่มไป 2 ชั่วโมงครึ่ง ผู้เสียชีวิตก็ได้กระโดดจากระเบียงชั้น 4 ของอาคาร และเสียชีวิต

ผลชันสูตรศพหลังเสียชีวิตไป 29 ชั่วโมง พบว่ามีปริมาณกัญชาเกินขนาดและน่าจะเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่ภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นและนำไปสู่การเสียชีวิต

ผลการวิเคราะห์สารเสพติดจากเลือดที่คั่งในช่องอก ตรวจพบสารประเภท cannabinoids ได้แก่ สาร delta-9 tetrahydrocannabinol [THC] 7.2 ng/mL และสาร delta-9 carboxy-THC 49 ng/mL

 

 

 

ปริมาณข้างต้นถือว่าสูง เพราะโดยที่ตามกฎหมายของรัฐโคโลราโดนั้น ปริมาณของ delta-9 THC ในเลือดต้องไม่เกิน 5.0 ng/mL สำหรับการขับขี่ยานพาหนะ

นี่เป็นกรณีศึกษาเคสแรกที่มีหลักฐานชัดเจนครบถ้วนว่า การกินผลิตภัณฑ์ที่มีสารประกอบจากัญชาจนนำไปสู่การเสียชีวิต โดยไม่ได้มีการใช้สารเสพติดอื่นมาเกี่ยวข้องในเหตุการณ์

และเป็นเรื่องที่ต้องย้ำเตือนกันให้ดีสำหรับประเทศไทย ที่การควบคุมผลิตภัณฑ์ อาหารการกิน และเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีส่วนผสมเป็นกัญชาเป็นเรื่องท้าทาย หากควบคุมไม่ได้ อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ อุบัติเหตุ ความรุนแรง การทำร้ายตนเอง การฆ่าตัวตาย รวมถึงอาชญากรรมต่างๆ ตามมาในสังคม

 

 

 

ขอขอบคุณที่มา springnews

 

 

 

logoline