svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

13 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดคำแนะนำดีๆ จาก สถาบันกัญชาทางการแพทย์ แจ้งประชาชนเตือน 10 ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เผยสถิติการเข้าใช้แอปฯปลูกกัญ มากถึงกว่า 32 ล้านครั้งในเวลา 3 วัน

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ นับตั้งแต่ รัฐบาลไทย ดีเดย์ ปลดล็อกกัญชา อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถปลูกภายในบ้านและสูบเพื่อสุขภาพ ได้อย่างถูกกฏหมาย แต่ก็พบว่ามีการแชร์เรื่องราวของผู้ที่ทดลองอาหารที่มีส่วนผสมกัญชาที่วางจำหน่ายและเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์หลายคน 

ข้อมูลล่าสุด ทาง สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ จึงได้ออกคำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ สรุปเป็น 10 ข้อ ดังต่อไป 

  1. รักษามาตรฐานการแพทย์ก่อน 
  2. ไม่ใช้หากอายุน้อย แนะนำอายุมากกว่า 25 ปี
  3. ใช้กัญชาอัตราส่วน CBD:THC สูง 
  4. ไม่ใช้กัญชาสังเคราะห์ 
  5. ไม่ใช้การสูบแบบเผาไหม้
  6. หากสูบ ไม่อัดควันเข้าปอด แล้วกลั้นไว้ 
  7. ใช้อย่างระวัง ใช่บ่อย เข้มข้นสูง มีความเสี่ยงสูง 
  8. งดขับรถ ใช้เครื่องจักร ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 
  9. งดใช้ หากมีประวัติครอบครัวจิตเวช หรือ อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
  10. หลีกเลี่ยงใช้ หากมีหลายปัจจัยเสี่ยง 

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะปลูกนั้น จะต้องมีการจดแจ้งการปลูกผ่านเว็บไซต์และแอป "ปลูกกัญ" ที่เริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน ที่่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 9-11 มิถุนายน เวลา 12.00 น. ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” เป็นจำนวนมากกว่า 32,416,944 ครั้งและลงทะเบียนจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง กว่า 614,891 คน ออกใบรับจดแจ้งกัญชาไปแล้ว 595,964 ใบ และ ออกใบรับจดแจ้งกัญชงไปแล้ว 18,932 ใบ

ข้อมูลล่าสุด ณ เวลา 07.00 น. ของวันที่ 13 มิ.ย. 2565

พบว่ามีจำนวนการลงทะเบียน 735,932 คน, ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 713,544 ใบ, ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 22,388 ใบ และมีจำนวนเข้าใช้งานระบบ 35,7511,572 ครั้ง

สำหรับช่องทางการจดแจ้งขอปลูก “กัญชา-กัญชง” นอกจากแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ยังมีเว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th โดยทำเพียง 3 ขั้นตอน เริ่มจากลงทะเบียน จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ และรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าใช้งานทางเว็บไซต์ Plookganja.fda.moph.go.th/ หรือดาวน์โหลดได้ทาง “แอปพลิเคชัน ปลูกกัญ” (Plookganja) ทั้ง IOS (App store) และ android (Play store) 

ขอขอบคุณที่มา : คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 (มกราคม 2564)

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

รายงานล่าสุด ลงทะเบียนปลูกกัญชา ปี 2656 อย.เผยตัวเลขยอดลงทะเบียนจดแจ้งบนแอปฯปลูกกัญ จำนวนเข้าใช้งานระบบมากกว่า 36 ล้านครั้ง

วันนี้ 13 มิ.ย.2565 อย.ได้รายงานสถิติการเข้าใช้งานแอปฯ ปลูกกัญ ดังนี้

  • จำนวนการลงทะเบียน 751,086  คน
  • ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 728,244 ใบ
  • ออกใบรับจดแจ้งกัญชง  22,842 ใบ
  • จำนวนผู้เข้าใช้งานระบบ 36,109,842   ครั้ง

 

อัปเดตรายงานสถิติการเข้าใช้งานแอปฯกัญ ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ เวลา 17.00 น
 

  • จำนวนการลงทะเบียน 768,647 คน
  • ออกใบรับจดแจ้งกัญชา 745,349  ใบ
  • ออกใบรับจดแจ้งกัญชง  23,298 ใบ
  • จำนวนผู้เข้าใช้งานระบบ 36,591,429   ครั้ง

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

สถาบันกัญชาทางการแพทย์ เผยกัญชาช่วยแก้ปัญหา “นอนไม่หลับ-เบื่ออาหาร-ปวด-อาการทางผิวหนัง” ได้เมื่อใช้อย่างถูกวิธี

รายงานข่าวล่าสุด ส่งตรงจากทาง สถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การนำกัญชามาใช้ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมีความระมัดระวัง โดยยึดหลักความปลอดภัย ประยุกต์องค์ความรู้ที่มีในปัจจุบันมาใช้ดังต่อไปนี้

1.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้

2.กรณีจำเป็นต้องใช้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์เพื่อช่วยประเมินประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

3.อาการเจ็บป่วยที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวด และอาการทางผิวหนัง

4.เริ่มใช้ในขนาดยาน้อย ๆ กรณีที่มีอาการปวดร่วมกับการอักเสบอาจพิจารณาใช้ราก (ในรากไม่พบสารเมา THC จึงมีความปลอดภัย)

5.ขณะใช้กัญชา ต้องประเมินผลการรักษาและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง กัญชาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติเยียวยาแบบองค์รวม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย จะเป็นตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ในการรักษาได้ดี เช่น กินได้ หลับดี ไม่ปวด เป็นต้น แต่ไม่ใช่อาการเคลิ้มสุข ทั้งนี้ อาจใช้เครื่องมือที่หาได้ง่ายมาร่วมประเมินผลการรักษาด้วย เช่น นาฬิกาช่วยประเมินคุณภาพการนอนหลับ

6.อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ความดันโลหิตลดลง ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายใน 3-4 วันแรกที่ได้รับยาหลังจากนั้นอาการจะหายไป

แต่หากอาการดังกล่าวยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ในระยะเวลานนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ ให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน อาการไม่พึงประสงค์บางอย่างสามารถบรรเทาได้ เช่น ถ้ามีอาการปากแห้ง คอแห้ง ควรจิบน้ำระหว่างวันให้มากขึ้น ถ้ามีอาการง่วงนอน อาจปรับมาใช้ก่อนนอน หากความดันโลหิตลดต่ำลง ควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อติดตามความรุนแรง หากความดันโลหิตลดต่ำกว่า 100/60 มิลลิเมตรปรอท ให้หยุดการใช้ยามื้อนั้น และปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในผู้ป่วยที่ใช้ยาขนาดสูงและระยะเวลาอาจพบเห็นภาพหลอน หูแว่ว ภาวะซึมเศร้า ความจำ การตัดสินใจแย่ลง ให้หยุดยาทันที และปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้าน

นอนไม่หลับ

 

อาการนอนไม่หลับ หรือหลับยาก ถือว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากความเครียด วิตกกังวล หรือโรคประจำตัวที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การนอนไม่หลับเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะสาเหตุจากความเครียด สามารถใช้กัญชาเป็นครั้งคราวเพื่อช่วยให้นอนหลับได้

 

วิธีการใช้ เอาใบกัญชามาคั่วไฟอ่อน ๆ จำนวน 1-2 ใบ แล้วชงกับน้ำอุ่น ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที ดื่มก่อนนอน ร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัว หาก 3 วันแล้วยังไม่หลับ สามารถปรับเพิ่มได้ครั้งละ 2 ใบ สูงสุด 6 ใบต่อวัน

 

เบื่ออาหาร

 

ในอดีตเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า กัญชาช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มากและอยากกินของหวาน กัญชาจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มี

 

อาการเบื่ออาหาร

 

วิธีการใช้ การใช้กัญชาตามข้อบ่งใช้นี้ผู้ป่วยสามารถเลือกกินอาหารที่มีส่วนผสมของใบกัญชาตามที่ได้แนะนำไปก่อนหน้านี้ โดยการปรุงผสมใบกัญชาในอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อปรับธาตุลมภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองได้ดีด้วยวิธีการนี้ หรือผู้ป่วยอาจจะเลือกใบกัญชาแห้ง 1-2 ใบชงกับน้ำอุ่น ดื่มก่อนอาหาร 30-45 นาที

 

ปวด

 

อาการปวดเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน อาการปวดที่ใช้กัญชาแล้วได้ผลดี คืออาการปวดจากความผิดปกติของระบบประสาท กับอาการชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย

 

วิธีการใช้ ใช้ใบกัญชามาคั่วไฟอ่อน ๆ 1-2 ใบ ชงกับน้ำอุ่น ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที ดื่มก่อนนอน อาจปรับเพิ่มความถี่ในการกินได้ทุก 3 วัน เป็นวันละ 2, 3 และ 4 ครั้งตามลำดับ (ช่วงที่ใช้ยาควรห่างกัน 6-8 ชั่วโมง) ผู้ป่วยควรสังเกตตนเองว่ามีอาการง่วงนอนระหว่างวันจนรบกวนกิจวัตรประจำวันหรือไม่ หากง่วงมากให้ปรับลดขนาดยาลงในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไม่รุนแรง อาจพิจารณาใช้รากกัญชาที่โตเต็มที่มาหุงกับน้ำมันใช้เป็นยาทาภายนอก หรือผสมสมุนไพรชนิดอื่นทำเป็นยาลูกประคบก็ได้

 

อาการทางผิวหนัง

 

มีการวิจัยพบว่า กัญชงที่มีสารต้านเมา CBD สูง มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดีจึงมีการนำกัญชาและกัญชงมาใช้เพื่อบรรเทาอาการทางผิวหนัง เช่น คัน บวม หัวสิว และรังแคอักเสบได้

อธิบดีกรมการแพทย์ ยันจุดยืนไม่หนุนใช้กัญชาในเด็ก แนะขอให้ใช้อายุ 25 ปีขึ้นไป จัดระบบเฝ้าระวังผลข้างเคียง ชี้พบคนสูบทำ THC ในร่างกายพุ่งจนเข้าห้องฉุกเฉิน เตรียมหารือป้องกันใช้กัญชาขับรถ เสี่ยงอุบัติเหตุท้องถนน เปิดข้อมูลผลข้างเคียงภาคอีสานสูง เหตุมีผลิตภัณฑ์มาก

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงถึง จุดยืน กรมการแพทย์ สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชากับเด็ก ระบุว่า กรมการแพทย์ สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์มาตลอด ไม่สนับสนุนการใช้สันทนาการ และไม่สนับสนุนการใช้กับเด็ก เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าหากจะใช้ในเด็ก ต้องใช้กรณีเด็กที่มีโรคลมชักที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาต่างๆ หรือดื้อยาแล้ว

อย่างไรก็ตาม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบให้กรมการแพทย์ทบทวนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งท่านก็สั่งการและยืนยันเช่นนี้มาตลอด 

ทั้งนี้ การใช้ทางการแพทย์ ทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันทางการแพทย์แผนปัจจุบันมี 2 + 1 ตัว ที่บรรจุในบัญชีหลักแห่งชาติ ดังนี้ 

  • 1. ยาที่มีสัดส่วน THC ต่อ CBD 1:1  สำหรับการรักษาผู้ป่วยระยะประคับประคอง 
  • 2. ยารักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากการให้เคมีบำบัด แต่ยืนยันว่ายาทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่ยารักษาที่เป็นทางเลือกแรก แต่ใช้ยารักษาที่มีแล้วไม่ได้ผล 
  • 3. ยา CBD เด่น ที่ใช้ในรักษาโรคกรณีลมชักในเด็ก และมีระบบติดตามเฝ้าระวัง ส่วนกรณีอื่นที่จะเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น เวชสำอางค์ สถาบันโรคผิวหนังก็มีการเอาไปใช้เป็นเวชสำอาง 

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

“ กรมการแพทย์ ยืนยันว่าเราไม่อยากให้ใช้ในเด็กต่ำกว่า 20 ปี ไม่ใช้สันทนาการ จริงๆ แล้ว ผู้เชี่ยวชาญของกรมการแพทย์ มีการศึกษาและแนะนำขอให้ใช้ในกลุ่มที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ เพื่อความปลอดภัย ที่เราไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เพราะกัญชามีผลต่อสมอง มีผลระบบประสาท โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนมีผลต่อพัฒนาการ ทางสมองและการเรียนรู้ ” 

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ต้องขอความร่วมมือทางโรงเรียนครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครองทุกภาคส่วน ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ขณะที่กรมการแพทย์มีระบบในการติดตามเฝ้าระวังการใช้กัญชา ในภาพรวมทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการศึกษาต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ขอให้งดใช้ในครอบครัวที่มี ผู้ป่วยจิตเวช และหญิงตั้งครรภ์

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การใช้กัญชามีทั้งผลดีผลเสีย แต่กรมการแพทย์เน้นใช้ทางการแพทย์ ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น  อย่างกรณีผลดีเราทราบดี แต่ผลเสียก็มีอย่างการเสพติด และไปขับขี่รถจนเกิดอุบัติเหตุการจราจร  ซึ่งมีรายงานเกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว

วันนี้ขอเตือนว่าในตลาดมืดน่ากลัว เพราะมีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ขณะนี้มีการเตรียมบุคลากร และสถานพยาบาลรองรับภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะมีการหารือในที่ประชุมประจำเดือนของกรมการแพทย์ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ เราจะมีการติดตามผลดี ผลเสีย บางคนผลข้างเคียงชัดเจน 

สำหรับอาการข้างเคียงเท่าที่พบคือ คอแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวลเพิ่มเติมก็มี ตอนนี้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ได้จัดทำ LINE Official "ห่วงใย" เพื่อให้ประเมินตัวเองได้ว่า ติดหรือไม่ติดกัญชา  นอกจากนี้ ยังมีสายด่วน 1665 ให้โทรปรึกษาเช่นกัน   ขณะที่กรมการแพทย์ออกคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้กัญชาด้วย ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

“ขอย้ำกัญชาเราไม่สนับสนุนให้ใช้ในเด็ก ถ้าใช้จะเป็นกรณีโรคลมชักในเด็กที่ดื้อต่อยา และไม่สนับสนุนให้ใช้ในทางสันทนาการ การสูบ เพราะมีข้อมูลผลกระทบต่อสมองได้ ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันไม่สนับสนุน อย่างหากปวดหัว กินพาราเซตตามอลได้ เราไม่สนับสนุนปวดหัวนอนไม่หลับให้ใช้กัญชา เรามีภาวะจำเพาะเท่านั้น  สิ่งสำคัญได้สั่งการให้ สบยช. เฝ้าระวังตัวเลขผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ภาพรวมทั้งหมดว่า หลังจากปลดล็อกการใช้กัญชาจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเมื่อปลดล็อกย่อมมีทั้งบวกและลบ เพราะคนใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมก็มี จึงต้องเฝ้าระวังและเตรียมการทุกภาคส่วน” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

พร้อมยืนยันว่า  ขอมุ่งเน้นความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นสำคัญ อย่าไปลองสูบ ไปใช้ในทางสันทนาการ กรมการแพทย์ไม่เห็นด้วย 100%

 

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ออกมาแนะนำไม่ให้ใช้ในเด็กอายุ 20 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อสมอง ทาง กรมการแพทย์ ได้ออกคำแนะนำปรับปรุงใหม่อีกหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จริง ๆ มีชัดเจน โดยในเด็กให้ใช้ได้กรณีโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง คือ กุมารแพทย์และประสาทวิทยา ซึ่งกรมการแพทย์ไม่เห็นด้วยใช้ในเด็ก เพราะยังมีข้อมูลวิจัยที่รองรับ ยกเว้นใช้ในเด็กที่เป็นโรคลมชักที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้ผล โดยทั้งหมดเราได้ออกข้อกำหนดการใช้เรื่องนี้มานาน 3 ปีแล้ว 

โดยทางด้าน นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์หากมีผลกระทบหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้น จะมีระบบติดตามอย่างไร ว่า กรมการแพทย์จะดูแล 2 ส่วนในการเฝ้าระวัง คือ ส่วนแรก เป็นกรณีระยะเฉียบพลัน เฝ้าระวังห้องฉุกเฉิน อย่างช่วงแรกจะพบผู้ใช้ไม่ถูกวิธีก็จะมาที่ห้องฉุกเฉิน เป็นอาการทางระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก  และส่วนที่สอง โดย สบยช. มีการเฝ้าระวังการใช้ในไปในทางเสพติด ซึ่งเราได้ทำไลน์ “ห่วงใย” ขึ้นมา เพื่อประเมินอาการว่าติดหรือไม่ติดได้ 

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์ “กลุ่มที่ใช้ทางการแพทย์จะมีความเข้าใจอยู่แล้ว  แต่จากการใช้ไม่ถูกวิธี อย่างการสูบ  ทำให้ปริมาณ THC สูงขึ้นได้เร็ว มีอาการวิงเวียงศีรษะได้เร็ว สิ่งสำคัญต้องใช้ตามหลักการทางการแพทย์  ดังนั้น กลุ่มสันทนาการน่าเป็นห่วง ขอให้อย่าใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม อย่างการสูบ จะมีอาการทางระบบประสาท และระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็ว  ความดัน วิงเวียนศีรษะ แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเสียชีวิตจากพิษโดยตรง ยกเว้นไปขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน”

 

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

 

ข้อแนะนำดีๆ 10 วิธีใช้กัญชา จากสถาบันกัญชาทางการแพทย์

logoline