svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

13 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมการแพทย์ ยันจุดยืนไม่หนุนใช้กัญชาในเด็ก แนะขอให้ใช้อายุ 25 ปีขึ้นไป จัดระบบเฝ้าระวังผลข้างเคียง ชี้พบคนสูบทำ THC ในร่างกายพุ่งจนเข้าห้องฉุกเฉิน เตรียมหารือป้องกันใช้กัญชาขับรถ เสี่ยงอุบัติเหตุท้องถนน เปิดข้อมูลผลข้างเคียงภาคอีสานสูง เหตุมีผลิตภัณฑ์มาก

13 มิถุนายน 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงจุดยืนกรมการแพทย์สนับสนุนใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชากับเด็ก ระบุว่า กรมการแพทย์สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์มาตลอด ไม่สนับสนุนการใช้สันทนาการ และไม่สนับสนุนการใช้กับเด็ก เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าหากจะใช้ในเด็ก ต้องใช้กรณีเด็กที่มีโรคลมชักที่ไม่สามารถรักษาด้วยยาต่างๆ หรือดื้อยาแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบให้กรมการแพทย์ทบทวนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งท่านก็สั่งการและยืนยันเช่นนี้มาตลอด

 

ทั้งนี้ การใช้ทางการแพทย์ ทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันทางการแพทย์แผนปัจจุบันมี 2 + 1 ตัว ที่บรรจุในบัญชีหลักแห่งชาติ ดังนี้ 

 

  • 1. ยาที่มีสัดส่วน THC ต่อ CBD 1:1  สำหรับการรักษาผู้ป่วยระยะประคับประคอง 
  • 2. ยารักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากการให้เคมีบำบัด แต่ยืนยันว่ายาทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่ยารักษาที่เป็นทางเลือกแรก แต่ใช้ยารักษาที่มีแล้วไม่ได้ผล 
  • 3. ยา CBD เด่น ที่ใช้ในรักษาโรคกรณีลมชักในเด็ก และมีระบบติดตามเฝ้าระวัง ส่วนกรณีอื่นที่จะเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น เวชสำอางค์ สถาบันโรคผิวหนังก็มีการเอาไปใช้เป็นเวชสำอาง

 

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

 

กรมการแพทย์ ยืนยันว่าเราไม่อยากให้ใช้ในเด็กต่ำกว่า 20 ปี ไม่ใช้สันทนาการ จริงๆ แล้ว ผู้เชี่ยวชาญของกรมการแพทย์ มีการศึกษาและแนะนำขอให้ใช้ในกลุ่มที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ เพื่อความปลอดภัย ที่เราไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เพราะกัญชามีผลต่อสมอง มีผลระบบประสาท โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนมีผลต่อพัฒนาการ ทางสมองและการเรียนรู้ ” 

 

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ต้องขอความร่วมมือทางโรงเรียนครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครองทุกภาคส่วน ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ขณะที่กรมการแพทย์มีระบบในการติดตามเฝ้าระวังการใช้กัญชา ในภาพรวมทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการศึกษาต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ขอให้งดใช้ในครอบครัวที่มี ผู้ป่วยจิตเวช และ หญิงตั้งครรภ์

 

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

 

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การใช้กัญชามีทั้งผลดีผลเสีย แต่กรมการแพทย์เน้นใช้ทางการแพทย์ ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น  อย่างกรณีผลดีเราทราบดี แต่ผลเสียก็มีอย่างการเสพติด และไปขับขี่รถจนเกิดอุบัติเหตุการจราจร  ซึ่งมีรายงานเกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม วันนี้ขอเตือนว่าในตลาดมืดน่ากลัว เพราะมีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ขณะนี้มีการเตรียมบุคลากร และสถานพยาบาลรองรับภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะมีการหารือในที่ประชุมประจำเดือนของกรมการแพทย์ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ เราจะมีการติดตามผลดี ผลเสีย บางคนผลข้างเคียงชัดเจน 

 

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

สำหรับอาการข้างเคียงเท่าที่พบคือ คอแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวลเพิ่มเติมก็มี ตอนนี้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ได้จัดทำ LINE Official "ห่วงใย" เพื่อให้ประเมินตัวเองได้ว่า ติดหรือไม่ติดกัญชา  นอกจากนี้ ยังมีสายด่วน 1665  ให้โทรปรึกษาเช่นกัน   ขณะที่กรมการแพทย์ออกคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้กัญชาด้วย

“ขอย้ำกัญชาเราไม่สนับสนุนให้ใช้ในเด็ก ถ้าใช้จะเป็นกรณีโรคลมชักในเด็กที่ดื้อต่อยา และไม่สนับสนุนให้ใช้ในทางสันทนาการ การสูบ เพราะมีข้อมูลผลกระทบต่อสมองได้ ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันไม่สนับสนุน อย่างหากปวดหัว กินพาราเซตตามอลได้ เราไม่สนับสนุนปวดหัวนอนไม่หลับให้ใช้กัญชา เรามีภาวะจำเพาะเท่านั้น  สิ่งสำคัญได้สั่งการให้ สบยช. เฝ้าระวังตัวเลขผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ภาพรวมทั้งหมดว่า หลังจากปลดล็อกการใช้กัญชาจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเมื่อปลดล็อกย่อมมีทั้งบวกและลบ เพราะคนใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมก็มี จึงต้องเฝ้าระวังและเตรียมการทุกภาคส่วน” นพ.สมศักดิ์ กล่าวพร้อมยืนยันว่า  ขอมุ่งเน้นความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นสำคัญ อย่าไปลองสูบ ไปใช้ในทางสันทนาการ กรมการแพทย์ไม่เห็นด้วย 100%  

 

ส่วนกรณี ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ออกมาแนะนำไม่ให้ใช้ในเด็กอายุ 20 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อสมอง ทาง กรมการแพทย์ ได้ออกคำแนะนำปรับปรุงใหม่อีกหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จริง ๆ มีชัดเจน โดยในเด็กให้ใช้ได้กรณีโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง คือ กุมารแพทย์และประสาทวิทยา ซึ่งกรมการแพทย์ไม่เห็นด้วยใช้ในเด็ก เพราะยังมีข้อมูลวิจัยที่รองรับ ยกเว้นใช้ในเด็กที่เป็นโรคลมชักที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้ผล โดยทั้งหมดเราได้ออกข้อกำหนดการใช้เรื่องนี้มานาน 3 ปีแล้ว

 

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

 

ขณะที่ นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์หากมีผลกระทบหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้น จะมีระบบติดตามอย่างไร ว่า กรมการแพทย์จะดูแล 2 ส่วนในการเฝ้าระวัง คือ ส่วนแรก เป็นกรณีระยะเฉียบพลัน เฝ้าระวังห้องฉุกเฉิน อย่างช่วงแรกจะพบผู้ใช้ไม่ถูกวิธีก็จะมาที่ห้องฉุกเฉิน เป็นอาการทางระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก  และส่วนที่สอง โดย สบยช. มีการเฝ้าระวังการใช้ในไปในทางเสพติด ซึ่งเราได้ทำไลน์ “ห่วงใย” ขึ้นมา เพื่อประเมินอาการว่าติดหรือไม่ติดได้

 

“กลุ่มที่ใช้ทางการแพทย์จะมีความเข้าใจอยู่แล้ว  แต่จากการใช้ไม่ถูกวิธี อย่างการสูบ  ทำให้ปริมาณ THC สูงขึ้นได้เร็ว มีอาการวิงเวียงศีรษะได้เร็ว สิ่งสำคัญต้องใช้ตามหลักการทางการแพทย์  ดังนั้น กลุ่มสันทนาการน่าเป็นห่วง ขอให้อย่าใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม อย่างการสูบ จะมีอาการทางระบบประสาท และระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็ว  ความดัน วิงเวียนศีรษะ แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเสียชีวิตจากพิษโดยตรง ยกเว้นไปขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน” 

 

นพ.มานัส กล่าวถึงข้อมูลดังกล่าวมาจากการรวบรวมของรพ.ในสังกัดกระทรวงหรือไม่ และสอดคล้องกับพื้นที่ใดที่ใช้กัญชาสูง ว่า  ข้อมูลนี้มาจากรพ.ในสังกัดสธ. ส่วนข้อมูลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการใช้กัญชาสูงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์จากกัญชาในพื้นที่ค่อนข้างเยอะ  ขณะที่ภาคใต้จะเป็นกระท่อม

 

นพ.สมศักดิ์ กล่าวเสริมเรื่องข้อห่วงใยการใช้กัญชา และขับรถเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ว่า กรมการแพทย์ได้ออกคำแนะนำว่า หากใช้อย่าขับรถ โดยระบว่า ขอให้งดขับรถ งดใช้เครื่องจักรภายใน 6 ชั่วโมง

 

ส่วนในอนาคตเป็นไปได้หรือไม่ที่จะระบุ เมื่อใช้กัญชาห้ามขับรถ เหมือนกรณีป่วยโรคลมชัก จะไม่สามารถได้ใบรับรองแพทย์ เพื่อต่อใบอนุญาตขับขี่ได้ นพ.มานัส กล่าวว่า เป็นไปได้ เพราะกรมการแพทย์ได้หารือกับกรมควบคุมโรค หารือเรื่องการวิจัย งานวิชาการเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะเรื่องการขับขี่

 

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน กรมการแพทย์ ห้ามใช้กัญชาในเด็ก เว้นลมชักดื้อยา พบเคสสูบจนเข้าห้องฉุกเฉิน

logoline