svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

11 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประเด็นร้อนในวันนี้ กับกระแสข่าว จัสติน บีเบอร์ หน้าเบี้ยว อัมพาตครึ่งซีก ภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด จนต้องเลื่อนทัวร์ทั่วโลกออกไปก่อน แฟนคลับแห่ให้กำลังเพียบ

กำลังเป็นเรื่องฮ็อตที่คอข่าวและชาวเน็ตทั่วโลกให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ หลังศิลปินชื่อดังระดับโลก จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ต้องยกเลิกกำหนดการแสดงคอนเสิร์ตหลายแห่ง เนื่องจากมีอาการป่วยกะทันหันจากการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตที่ใบหน้าครึ่งซีก 

ช็อกแฟนคลับ! จัสติน บีเบอร์ หน้าเป็นอัมพาตเพราะไวรัส (ชมคลิป)

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ศิลปินชื่อดังระดับโลกอย่าง จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ต้องทำการเลื่อนทัวร์คอนเสิร์ตทั่วโลกเนื่องจากอาการป่วยรุนแรงจากโรค Ramsey Hunt Syndrome ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นงูสวัด ล่าสุดเจ้าตัวออกมาโพสต์คลิปวีดีโอ อัปเดตถึงอาการล่าสุดแล้ว

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ระบุว่า ได้รับการวินัจฉัยว่าเป็น "โรครัมเซย์ฮันต์ ซินโดรม" (Ramsay Hunt Syndrome) หลังจากตนติดเชื้อไวรัสที่สร้างความเสียหายให้กับระบบประสาทหูและระบบประสาทใบหน้าโดยอาการค่อนข้างรุนแรง

ซึ่งโรค "รัมเซย์ฮันต์ ซินโดรม" (Ramsay Hunt Syndrome) ส่งผลให้ใบหน้าซีกขวาไปจนถึงบริเวณกกหูนั้นเป็นอัมพาตขยับไม่ได้ตามปกติ พร้อมกับขยับใบหน้าซีกซ้ายแต่ละส่วนทั้งดวงตา จมูกและริมฝีปาก เปรียบเทียบให้เห็นว่าฝั่งที่มีปัญหาขยับไม่ได้เลยอย่างที่เห็น และนี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เขาไม่สามารถขึ้นโชว์ในคอนเสิร์ตได้ในช่วงนี้ 

ช็อกแฟนคลับ! จัสติน บีเบอร์ หน้าเป็นอัมพาตเพราะไวรัส (ชมคลิป)

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

โรครัมเซย์ ฮันต์ (herpes zoster oticus) คือภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด และเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (chickenpox) ดังนั้น ใครที่เคยเป็นอีสุกอีใสก็อาจเป็นโรคแรมเซย์ ฮันท์ได้ด้วย เนื่องจากไวรัสจะยังอยู่ในร่างกายแม้จะหายดีแล้ว
ข้อมูลจาก Mayo Clinic 


อาการของโรคนี้ได้แก่ ใบหน้ามีอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต หรือเป็นผื่นแดงเจ็บแสบและเป็นแผลพุพองมีหนองบนหรือรอบๆ ใบหูหนึ่งข้าง ข้างเดียวกับที่หูมีอาการ 

และยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น  ปิดตาไม่ได้, เวียนหัว, การรับรสเปลี่ยนไป, ปากแห้งและตาแห้ง, เจ็บหู, สูญเสียการได้ยิน, มีเสียงดังในหู, 

โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่การที่การที่อยู่ใกล้คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสวาริเซลลา ที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดหรือโรคอีสุกอีใสได้

สิ่งที่น่ากลัวก็คือ มีหลายเคสหลายรายที่เกิดโรค Ramsey Hunt Syndrome มีบางคนหายดี แต่บางคนก็เป็นอัมพาตถาวรและสูญเสียการได้ยินไปเลยก็มี 

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ขอขอบคุณเครดิตภาพจาก Mayo Clinic

ขอขอบคุณเครดิตภาพจาก Mayo Clinic

ภาพจาก Instagram justinbieber

 

 

 

บีเบอร์ ต้องประกาศยกเลิกทัวร์คอนเสิร์ต “Justice World Tour” ทั้งในนครโทรอนโต ของแคนาดา กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมหานครนิวยอร์ก ในสหรัฐ เพื่อรักษาอาการดังกล่าว

“สำหรับคนที่ผิดหวังกับการยกเลิกคอนเสิร์ตของผม ร่างกายของผมมันไม่สามารถทำได้จริง ๆ มันค่อนข้างหนัก อย่างที่พวกคุณเห็น ร่างกายบอกให้ผมต้องช้าลง ผมหวังว่าพวกคุณจะเข้าใจ ผมจะใช้เวลานี้เพื่อพักผ่อน ผ่อนคลาย จะได้กลับมาเป็นเหมือนเดิม 100% เพื่อที่ผมจะได้ทำในสิ่งที่ผมรัก” ก่อนจะทิ้งท้ายว่า

“เราไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลารักษานานเท่าไหร่ แต่ผมจะไม่เป็นไร ผมมีความหวังและผมก็วางใจในพระเจ้า ผมเชื่อว่าทั้งหมดเป็นไปตามเหตุผล แต่ผมไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรในตอนนี้ แต่ในระหว่างนี้ผมจะพักผ่อน”

ซึ่งแน่นอนว่า จัสติน บีเบอร์ จะต้องได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดแน่นอน 

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

 

กรมการแพทย์เตือนอัมพาตหน้าครึ่งซีก โรคใกล้ตัว เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์

ความคืบหน้าล่าสุด นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือเบลล์พัลซี ( Bell’s palsy ) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ โดยมีสาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้าที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มักจะเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หลับตาไม่สนิท มุมปากขยับได้ลดลง ดูดน้ำจากหลอดไม่ได้ มีน้ำรั่วที่มุมปาก หรือมีอาการเลิกคิ้วไม่ได้ การรับรสที่ปลายลิ้นผิดปกติ น้ำลายแห้ง น้ำตาแห้ง การได้ยินของหูข้างที่มีอาการลดลง หรือได้ยินเสียงก้อง และ มีอาการปวดบริเวณหลังใบหูร่วมด้วย บางรายเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคอีสุกอีไส, เชื้อเริม, งูสวัด ที่แฝงอยู่ในปมประสาท หากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลงจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ ถือเป็นปัญหาสุขภาพ ที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง

ทางด้าน นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นโรคที่สามารถค่อยๆฟื้นตัวและดีขึ้นเองได้ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ การตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ร่วมกับการตรวจการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (NCS, EMG) การรักษาโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก คือ รักษาตามสาเหตุที่ทำให้โรค เช่น ให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสกรณีที่มีการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเริม หรืองูสวัดร่วมด้วย, การให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบในรายที่ไม่มีการติดเชื้อ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดใบหน้า เช่น การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า, การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือนวดใบหน้า ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็ง และการผ่าตัดในผู้ป่วยบางราย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ควรปิดตาข้างที่มีอาการ หรือ ใส่แว่นกันแดด ร่วมกับใช้น้ำตาเทียม และปิดตาเวลานอนเพื่อลดอาการเคืองตา ตาแดง หรือมีแผลที่แก้วตา อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ป่วยมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ เพราะผลของการรักษาจะได้ผลดีถ้าได้เริ่มรักษาได้เร็ว

 

ทำความรู้จักโรคงูสวัดกันสักหน่อย..

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ว่า สาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้คือ การพักผ่อนน้อย พักผ่อนน้อยทำให้ร่างกายอ่อนแอ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคงูสวัดได้ โดยโรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพร้อมแนะหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆที่เป็นสาเหตุ 

 

ล่าสุด นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคสุกใส และเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสเริม 

โดยที่ผู้ป่วยเมื่อเป็นโรคสุกใสแล้ว เมื่อหายจากโรค เชื้อไวรัสจะเข้าไปซ่อนในปมประสาท และจะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย มีความเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ กลุ่มผู้สูงอายุและ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด ซึ่งทำให้อาการของโรคกำเริบเกิดเป็นโรคงูสวัดได้

ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการแสดงเบื้องต้นคือ ปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง ต่อมาจะมีผื่นแดงตามด้วยตุ่มน้ำในลักษณะเป็นกลุ่มเรียงตัวตามแนวเส้นประสาท โดยที่ตุ่มน้ำสามารถกลายเป็นตุ่มหนองและแตกเป็นแผล หรือเป็นสะเก็ดตามมาได้ หลังจากอาการทางผิวหนังหายแล้ว อาจมีอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยบางราย รวมถึงอาจมีแผลเป็นตามหลังได้

พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ กล่าวว่า กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก อาทิ ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคมะเร็ง มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคได้ทั้ง 2 ข้างของแนวเส้นประสาท ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มักเรียกว่าเกิดอาการโรคงูสวัดพันรอบตัว คือ ออกผื่นทั้งเส้นประสาทด้านซ้ายและขวา โดยหากเกิดทั้ง 2 ข้าง ก็อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนของโรค เช่น มีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ส่วนตำแหน่งที่น่ากลัวของการป่วยโรคงูสวัด คือ บริเวณแนวเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ เป็นต้น 

นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำและผู้สูงอายุ ภายหลังจากที่หายจากอาการของโรคแล้ว บางครั้งอาจจะต้องเผชิญกับอาการปวดเหมือนไฟช็อตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเป็นงูสวัดถือเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรากำลังมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น จึงควรไปตรวจเช็กร่างกายเพิ่มเติม เพราะอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเอดส์ มะเร็ง และที่พบส่วนใหญ่คือ ร่างกายอาจเกิดความเครียดจัด สำหรับระยะเวลาในการป่วย จะอยู่ที่ประมาณ 7 - 10 วัน แต่หากคนภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้สูงอายุ อาจมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทต่ออีกระยะ

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

“โรคงูสวัดไม่ได้อันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิต แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม โรคงูสวัดขณะนี้มียารักษาทั้งแบบยาฉีดและยากิน ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะให้เป็นยาแบบกินเท่านั้น และยาดังกล่าวยังอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่ทุกสิทธิการรักษาสามารถเข้าถึงยาได้ ทั้งนี้ การรับประทานยานั้น ยิ่งได้รับยาเร็วยิ่งเป็นผลดีกับผู้ป่วย สำหรับวิธีป้องกัน คือ ทำร่างกายให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น ส่วนในกลุ่มเด็กเล็กหากมีทุนทรัพย์เพียงพออยากฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสก็สามารถฉีดได้ เพราะโรคงูสวัด 99% เกิดจากการเชื้อไวรัสตัวเดียวกับอีสุกอีใส ที่ซ้อนอยู่ในร่างกายของผู้ที่เคยป่วยเป็นอีสุกอีใสทุกคน และเมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อไวรัสดังกล่าวก็จะแสดงอาการออกมาทำให้เป็นโรคงูสวัด” พญ.มิ่งขวัญ กล่าว

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

“การรักษาตามอาการและการรักษาร่วมกับการใช้ยาต้านไวรัส เพื่อช่วยให้การหายของโรคเร็วขึ้น และให้ยาแก้ปวดปลายเส้นประสาท เพื่อป้องกันและลดความทุกข์ทรมานจากโรคงูสวัด ส่วนวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยการดูแลสุขภาพ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคงูสวัดได้” พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ กล่าว

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

อีกความคิดเห็นที่น่าสนใจ

ผศ.พญ.สุวิรากร ธรรมศักดิ์ ประธานฝ่ายกิจกรรมสังคม สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวถึงโรคงูสวัดว่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus : VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อร่างกายได้รับเชื้อชนิดนี้มาครั้งแรกจะก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากอีสุกอีใสแล้วเชื้อไวรัสบางส่วนจะไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาท เมื่อเราอายุมากขึ้น หรือร่างกายอ่อนแอลง เชื้อไวรัสจะออกมาจากปมประสาทมาทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง

อาการของงูสวัดมี 3 ระยะ คือระยะแรกจะมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อย ปวดแสบปวดร้อนตามร่างกายบริเวณที่กำลังจะมีผื่นขึ้น เพราะเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ในระยะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นงูสวัด บางคนจะรู้สึกเสียวแปลบๆ ตามผิวหนัง หรือปวดศีรษะอย่างมาก บางคนคิดว่าตัวเองเป็นไมเกรน ถ้าเป็นที่เส้นประสาทตา จะปวดตา ตาแดง ถ้าเป็นเส้นประสาทหูอาจจะปวดในรูหู จนกระทั่งมีผื่นออกมาเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีผื่นและเป็นตุ่มแดงขึ้นก่อนและกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส

และระยะ 3 จะมีการเรียงตัวของผื่นตามแนวเส้นประสาท เส้นประสาทที่พบบ่อยจะเป็นบริเวณ ลำตัวข้างใดข้างหนึ่ง บริเวณใบหน้า เป็นต้น และโดยปกติของคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติจะเกิดจากโรคตามแนวเส้นประสาทเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น

โรคงูสวัด สามารถติดต่อกันได้จากการหายใจ หรือสัมผัสกับตุ่มน้ำใสที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยตรงได้เช่นกัน โดยหากผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้วยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน อาการที่แสดงออกมาก็จะเป็นเพียงโรคอีสุกอีใส แต่หากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อนี้ก็อาจจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย และแสดงอาการเป็นงูสวัดต่อไป เมื่อผู้รับเชื้อมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติ

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ดังนั้น ถ้าเป็นงูสวัดควรหลีกเลี่ยงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์และเด็กที่ยังไม่เคยหรือได้รับวัคซีนอีสุกอีใส ในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก อาทิ ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคมะเร็ง มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคได้ทั้ง 2 ข้างของแนวเส้นประสาท

 

โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส และเมื่อหายเป็นปกติแล้ว เชื้อดังกล่าวจะหลบอยู่บริเวณปมประสาทของร่างกาย และจู่โจมร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอจนเกิดเป็นงูสวัด

ทำความรู้จักโรคงูสวัด อันตรายสักแค่ไหน ติดเชื้อได้ทางไหนกันบ้าง

ที่มาข้อมูลจาก  กรมการแพทย์

logoline