svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ฟุตบอลโลก 2022 ถูกบดบังด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน

08 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในขณะที่กาตาร์กำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ปลายปีนี้ ก็มีรายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยสื่อกีฬาอังกฤษเปิดโปงว่ามีแรงงานเนปาลกว่า 200 คน เอาชีวิตไปทิ้งที่กาตาร์ในช่วงปี 2563-2564

กาตาร์ได้เข้าสู่โครงการความร่วมมือด้านเทคนิค กับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 อันเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 โดยมีเป้าหมายปฏิรูปสภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้แทนที่ระบบคาฟาลา (Kafala System) หรือระบบอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ใช้กันในกลุ่มประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย โดยกำหนดกรอบการจ้างงานแรงงานต่างชาติ เป็นความผูกพันทางกฎหมายระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ตั้งแต่เงื่อนไขการจ้าง สัญญาจ้าง การขอใบอนุญาตทำงาน ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมของนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนงาน การเดินทางออกนอกประเทศ การเช่าบ้าน และการขอรับใบอนุญาตขับรถ โดยต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิที่จะยึดหนังสือเดินทางของลูกจ้างไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้าง และมีสิทธิที่จะส่งแรงงานต่างชาติกลับประเทศ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า รวมถึงห้ามแรงงานเหล่านี้กลับเข้าประเทศได้อีกด้วย

 

ฟุตบอลโลก 2022 ถูกบดบังด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน

 

การใช้ระบบคาฟาลาเอื้อให้นายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างชาติระยะยาวได้ แต่ปิดกั้นโอกาสการเปลี่ยนงานของลูกจ้างเพราะต้องขออนุญาต หรือมีหนังสือรับรองการเปลี่ยนงานจากนายจ้างก่อน อีกทั้งกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ้างและการเลิกจ้างไว้อย่างชัดเจน ส่วนในข้อตกลงกับ ILO กาตาร์ต้องปรับค่าแรงขั้นต่ำ แก้ปัญหาเรื่องการจ่ายเงินค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ตรงเวลา ยกเลิกข้อกำหนดการยึดเอกสาร การเปลี่ยนงานและการปิดกั้นไม่ให้แรงงานข้ามชาติกลับประเทศ เพิ่มความพยายามป้องกันการบังคับใช้แรงงาน ตรวจสอบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติด้านสุขภาพแรงงาน พัฒนาแผนการบรรเทาผลกระทบจากความร้อน และแก้ไขระบบทำสัญญาการจ้างงาน 

 

ฟุตบอลโลก 2022 ถูกบดบังด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน

แต่ขณะที่ฟุตบอลโลกที่กำหนดจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน ถึง 18 ธันวาคม ก็พบว่า ระบบคาฟาลายังคงมีผลบังคับใช้ และถูกใช้ "ล่วงละเมิดและแสวงประโยชน์" จากแรงงานข้ามชาติ กับชนเผ่า "กูฟราน" (Ghufran) ที่กลายเป็นคนไร้สัญชาติ ถูกริดรอนสิทธิมนุษยชนมายาวนานถึง 20 ปี หลังถูกรัฐบาลถอนสัญชาติ ส่วนกฎหมายของกาตาร์ ก็ยังคงเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และชาว LGBT ไม่ว่าจะเป็น เลสเบียน, เกย์, ไบเซ็กช่วล หรือบุคคลข้ามเพศ ส่วนในเรื่องของการสภาพการทำงาน แม้จะมีการห้ามทำงานตอนกลางวันในช่วงฤดูร้อน แต่เป็นเวลา 6 ปีแล้ว ที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติ ยากต่อการประเมินการเสียชีวิตที่มีปัจจัยมาจากความเครียดจากอากาศร้อนจัด ซึ่งงานวิจัยทางการแพทย์ที่เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2562 ระบุว่าโรคลมแดดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในหมู่แรงงานอพยพในกาตาร์

 

ฟุตบอลโลก 2022 ถูกบดบังด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน

 

เมื่อกาตาร์โหมงานก่อสร้างสนามกีฬาเพื่อเตรียมเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ก็ยิ่งเชื่อว่าแรงงานอาจต้องทำงานช่วงเวลากลางวันท่ามกลางอากาศร้อนจัด และ องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ตำหนิสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (FA) อย่างรุนแรงว่า "ขาดความกล้าหาญอย่างสิ้นเชิง" ในการพูดต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกาตาร์ โดย FA ระบุเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า นักเตะทีมชาติอังกฤษภายใต้การคุมทีมของเดวิด เซาธ์เกท จะได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับกาตาร์ โดยวิทยากรจากภายนอกรวมทั้งองค์การนิรโทษกรรมสากล แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น 

 

ฟุตบอลโลก 2022 ถูกบดบังด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน

การเปิดเผยเรื่องนี้มีขึ้นหลัง "Sportsmail" สื่อกีฬาของอังกฤษ รายงานพิเศษสืบสวนไปสู่การเสียชีวิตของแรงงานชาวเนปาลจำนวน 239 คน ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 25 ถึง 35 ปี ในการก่อสร้างสนามกีฬาช่วงระหว่างปี 2563-2564 อีกทั้งการออกใบมรณบัตรก็ทำแบบลวก ๆ ไม่มีการชันสูตรศพเพื่อหาสาเหตุ และมีไม่กี่ครอบครัวที่ได้รับเงินชดเชย แต่ถ้านับจำนวนโดยรวมนับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างสนามกีฬา มีแรงงานต่างชาติเสียชีวิตสูงถึง

 

แม้เรื่องนี้จะถูกส่งถึงองค์กรที่ใหญ่กว่าอย่าง FIFA ก็ได้รับคำตอบเพียงว่า

 

"กำลังดำเนินการตามกระบวนการตรวจสอบด้วยความระมัดระวังอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เกี่ยวกับการคุ้มครองคนงานที่เกี่ยวข้องในฟุตบอลโลก 2022"

 

 

ฟุตบอลโลก 2022 ถูกบดบังด้วยปัญหาสิทธิมนุษยชน

logoline