svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอยง" เปิด 5 สาเหตุความยากในการควบคุมโรค "ฝีดาษลิง"

"หมอยง" เปิด 5 เหตุผลที่ทำให้ "ฝีดาษลิง" ควบคุมยาก ขณะกระทรวงสาธารณสุขระบุ ฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง จะกักตัวเมื่อเข้าเกณฑ์ป่วย

31 พฤษภาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเผยนิยามผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยเข้าข่าย และผู้ป่วยยืนยัน “ฝีดาษวานร” หรือ “ฝีดาษลิง” พร้อมระบุยังเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง จะกักตัวเมื่อเข้าเกณฑ์ป่วย

ขณะที่ผู้ป่วยสงสัยฝีดาษวานร เป็นชาวต่างชาติ 5 ราย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นเชื้อเริม ติดจากการคลุกคลีในค่ายมวยและใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ส่วนผู้สัมผัส 12 ราย ของผู้ป่วยฝีดาษวานรที่ต่อเครื่องไปออสเตรเลีย ไม่ใช่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและยังไม่มีอาการ จะติดตามต่อเนื่องจนครบ 21 วัน

 

ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ “หมอยง” หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” เรื่อง “ฝีดาษวานร 2022 ความยุ่งยากในการควบคุมโรค” เปิดสาเหตุที่ ฝีดาษลิง มีความยุ่งยากในการควบคุมโรค มีรายละเอียดดังนี้..

 

"หมอยง" เปิด 5 สาเหตุความยากในการควบคุมโรค "ฝีดาษลิง"

ฝีดาษวานร ที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98%  และอยู่
ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี 

 

 ความยุ่งยากในการควบคุมโรคฝีดาษลิง มี 5 ข้อ  ดังนี้
 

1. อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย 

 

2. ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก  30% เกิดในที่ลับ  บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์

 

3. โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

 

4. ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน 

 

5. ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะ ที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยงที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป

 

อาการจากโรคฝีดาษ

ขณะที่ นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) ระบุว่า ข้อมูลทั่วโลกถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 มีผู้ป่วยยืนยัน 406 ราย และผู้ป่วยสงสัย 88 ราย รวม 494 รายใน 32 ประเทศ ประเทศที่พบการแพร่ระบาดมากนอกแอฟริกา คือ แคนาดา อังกฤษ เยอรมนี สเปน และโปรตุเกส ส่วนประเทศไทยยังไม่มีรายงาน 

 

โรคฝีดาษวานรจัดเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จึงไม่มีการกักตัวจนกว่าจะเข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วย ได้ทำการเฝ้าระวังทั้งที่สนามบินในผู้เดินทางเข้าประเทศ สถานพยาบาล และคลินิกเฉพาะทางโรคผิวหนังหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

 

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้รายงานสถานการณ์ โรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระบุว่า รายงานผู้ป่วยทั่วโลก 494 ราย การระบาดยังคงเป็นการติดต่อจากคนสู่คน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชายและกลุ่ม MSM

 

พร้อมระบุอาการที่พบ ประกอบด้วย

  • 1. ฝื่น ตุ่ม หนอง 99% แบ่งเป็น อวัยวะเพศ 38% ปาก 18% และทวารหนัก 1%
  • 2. ไข้ 28 %
  • 3. ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ปวดกล้ามเนื้อ 1%
  • 4.อื่นๆ


\"หมอยง\" เปิด 5 สาเหตุความยากในการควบคุมโรค \"ฝีดาษลิง\"