svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

สบส. ร่วม ดีเอสไอ ลงนามบันทึกข้อตกลง ยกระดับกวาดล้างรับจ้างอุ้มบุญ

31 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สบส. ร่วม ดีเอสไอ ลงนามบันทึกข้อตกลง ยกระดับการดำเนินงานในคดีอุ้มบุญ เพื่อกวาดล้างขบวนการรับจ้างอุ้มบุญผิดกฎหมาย ระบุ มีเด็กอุ้มบุญผิดกฎหมายเกิดมาแล้ว 19 ราย

31 พฤษภาคม 2565  ที่อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) และ นพ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดย นพ.ธเรศ  เปิดเผยว่า การประสานงานแก้ปัญหาอุ้มบุญผิดกฎหมาย ได้พูดคุยกับทาง DSI มานาน แต่ระยะหลังพบว่า การอุ้มบุญเป็นคดีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางการแพทย์ภายในประเทศ

 

โดยเฉพาะกับเด็กที่เกิดและไม่ได้รับการดูแล จึงต้องมีการร่วมมือลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ อย่างจริงจังเพื่อใช้เทคโนโลยีในการสืบสวนสอบสวนคุ้มครอบเด็กที่ เกิดโดยอาศัยเทคโนโลชีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามข้อกฎหมาย

สบส. ร่วม ดีเอสไอ ลงนามบันทึกข้อตกลง ยกระดับกวาดล้างรับจ้างอุ้มบุญ

หลังจากลงนามครั้งนี้ไปแล้ว นพ.ธเรศ เชื่อว่าจะปราบปรามขบวนการลักลอบอุ้มบุญผิดกฎหมาย ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เนื่องจากมีขบวนการสอบสวนเชิงลึก รวมถึงได้มีการพูดคุยกับ DSI ในการปรับแก้ข้อกฎหมายที่ยังเป็นอุปสรรคการทำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น อาจจะเปิดให้ชาวต่างชาติที่ประสงค์อยากมีลูก เข้ามาดำเนินการอุ้มบุญอย่างถูกกฎหมาย เพื่อสนับสนุนลดการลักลอบเข้ามาจ้างวานอุ้มบุญ

 

ส่วนคดีที่ DSI รับเป็นคดีอุ้มบุญผิดกฎหมายเข้ามาเป็นคดีพิเศษ นพ.ธเรศ ระบุว่า ทาง DSI จะสืบสวนเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้เร็วขึ้น

 

ด้าน นพ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการปราบปรามขบวนการอุ้มบุญผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเจอในกรณีที่เด็กคลอดออกมาและได้รับการเลี้ยงดู แต่จากนี้จะเน้นการปราบปรามตั้งแต่ต้นทาง คือการฝังตัวอ่อน ซึ่งปัจจุบัน DSI ได้รับคดีอุ้มบุญผิดกฎหมายเป็นคดีพิเศษ 2 คดี พบความผิดชัดเจน คือนำเชื้อมาจากต่างประเทศและฝังตัวอ่อนในไทย

 

สบส. ร่วม ดีเอสไอ ลงนามบันทึกข้อตกลง ยกระดับกวาดล้างรับจ้างอุ้มบุญ

เบื้องต้น เด็ก และแม่ อยู่ในความคุ้มครองของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากการสอบสวน พบว่า ผู้จ้างวานให้อุ้มบุญเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งทำเป็นขบวนการมานานแล้ว แต่จากสภาวะโควิด-19 ทำให้แม่อุ้มบุญที่จะเดินทางไปต่างประเทศมีข้อจำกัด ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้มากขึ้น ง่ายต่อการขยายผลการสอบสวนต่อไป

 

ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลคดีอุ้มบุญที่ผ่านมา DSI พบมีเด็กจากการอุ้มบุญผิดกฎหมาย เกิดมาแล้ว 19 ราย ส่วนใหญ่ผู้จ้างวานเป็นชาวเอเชีย ซึ่งขบวนการรับอุ้มบุญผิดกฎหมาย ส่งผลต่อความเชื่อด้านการแพทย์ของไทย จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด และเห็นด้วยกับ สบส.ที่แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ การให้บริการอุ้มบุญทางการแพทย์ของไทย พบว่า มีอัตราความสำเร็จตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 45 มีการให้บริการทำเด็กหลอดแก้ว กว่า 20,000 รอบต่อการรักษา ผสมเทียมกว่า 12,000 รอบ มีการพัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ รวม 104 แห่งและพิจารณาอนุญาติให้ดำเนินการตั้งครรภ์หรืออุ้มบุญอย่างถูกกฎหมาย 584 ราย สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4,500 ล้านบาท

logoline