svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ผ่า"คดีแตงโม"มุมมองทางกม."กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา"

28 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คดีการเสียชีวิตของอดีตดาราสาว "แตงโม นิดา" จากการล่องเรือชมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. จนมาถึงตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้แน่ชัด ว่าแท้จริงแล้วสาเหตุเกิดจากอะไร ระหว่าง "อุบัติเหตุ" หรือ "ฆาตกรรม" จนสังคมต่างโฟกัสพร้อมตั้งคำถาม

 

โดย นายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์ หรือ ธนพัชญ์ ศิริธาราสินธ์ุ ผู้เชี่ยวชาญประตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฏหมายพรรคการเมือง ประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายกลุ่ม 16 ส.ส. นำเสนอมุมมองทางข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณา "คดีแตงโม" จะออกไปในทิศทางใด  "เนชั่นออนไลน์" เห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจจึงขอนำมาเสนอ ดังนี้

 

ผมขออนุญาตวิเคราะห์ "คดีแตงโม" เพื่อเป็นแนวทางศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อนักเรียนและนักศึกษาและขออนุญาตนำ เรียนว่าไม่ใช่การชี้นำสังคมแต่อย่างใด

 

เพื่อประโยชน์สาธารณะและเพื่อให้เกิดวิพากษ์วิจารณ์กันเชิงติชมตามหลักการแห่งกฏหมายเพียงเท่านั้น

 

เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้ และในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้น จึงต้องถือหลักว่า

การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ "..กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา.." นั่นเอง
       

การใช้ “หลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” เพื่อวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หรือเจตนาทำร้ายนั้น ศาลไทยอาศัยข้อพิจารณา 

 

1."อาวุธ"ที่ใช้กระทำ

 

2."อวัยวะ" ที่ถูกกระทำ

 

3."ลักษณะของบาดแผล" ที่ถูกกระทำ

 

4."พฤติการณ์อื่นๆ" พฤติการณ์แห่งคดี

 

โดยส่วนตัวผมมองว่าคดีดังตามข่าวไม่น่าจะมีเจตนาฆ่าแต่แรกแต่มีการทำร้ายกันเอง

 

การกระทำคดีน่าจะเริ่มมาจากเจตนาทำร้าย มิได้มีเจตนาฆ่า แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ****

 

น่าจะเข้าข่ายในฐานความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
       

 

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 (มิได้มีเจตนา)

 

"ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

 

ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี"

 

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 มีด+รอยบาดแผลที่เกิดบริเวณจุดสำคัญของบาดแผลตามร่างกาย

 

การที่ตำรวจตั้งกล่าวหาว่า"คดีแตงโม"เป็นความผิดเกิดจากการประมาทนั้นเป็นเพราะว่าขาดพยานหลักฐานเกี่ยวกับอาวุธที่ใช้กระทำและประกอบลักษณะบาดแผลที่ปรากฏบนร่างแตงโม จุดอวัยวะไม่ใช่จุดสำคัญของร่างกายหากมีเจตนาจะฆ่าแต่แรกจะต้องกระทำในอวัยวะจุดสำคัญเนื่องจากสามารถกระทำกับ"แตงโม" ได้เป็นแน่แท้

 

** ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย**

 

มาตรา 291 "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท"(องค์ประกอบความผิด)

 

(1) ผู้ใด

 

(2) กระทำโดยประการใด

 

(3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

 

(4) โดยประมาท (องค์ประกอบภายใน (ไม่ต้องมีเจตนา))

 

***กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่***
     

 

ผลต้องมีความสัมพันธ์กับการกระทำโดยประมาท (ผลโดยตรง) แต่ "คดีแตงโม" หากฟ้องคดีว่าเป็นความผิดประมาทซึ่งมีจุดอ่อนไหวคดีประมาทอยากให้พิจารณาและศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า..!


ความผิดฐานประมาทเป็นเรื่องที่ไม่มีเจตนา จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน แต่อย่างไร!
     

ผมดูจากข่าวเห็นอัยการสั่งฟ้องคดีแตงโมกับผู้อยู่ในเหตุการณ์ว่าประมาทเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น

 

มันเป็นการกล่าวหาที่ฝ่ายโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างมีภาระหน้าที่นำสืบตามข้อกล่าวว่าผู้กระทำผิด "….กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่…"

 

ในทางการนำสืบไม่มีประจักษ์พยานชี้ชัดว่าปราศจากความระมัดระวังของบุคคลในภาวะเช่นจักต้องกระทำและใช้ความระวังเพื่อปกป้อง"แตงโม")
        

คนที่อยู่ในเหตุการณ์กับ"แตงโม" ย่อมต่อสู้ว่าตนมีหน้าที่ของตนและอยู่ในขณะนั่งกินดื่มไม่มีหน้าที่จะไปดูแลใครเพราะว่าก็อยู่ในอาการสติไม่เต็มร้อยจำเหตุการณ์ไม่ค่อยได้..!

 

"คดีแตงโม"มุมมองผมในฐานะนักกฎหมายมองว่าคดีประมาทล่อแหลมอย่างมากที่คนที่อยู่ในเหตุการณ์กับแตงโมจะหลุดคดี

 

สมมุติฐานคนในเหตุการณ์ต่อสู้ว่าไม่ขับเรือเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้และมีคนช่วยขับก็ขับปกติธรรมดาแต่อ้างว่าแตงโมเมาดื่มและไปจะฉี่ก็ตกเรือเองเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทแตงโมเองคนในเรือไม่เกี่ยวเพราะว่ากำลังกินดื่มการที่แตงโมตกเรือเป็นผลโดยตรงมาจากความประมาทของีคึตเองที่ไม่ปฏิบัติตนและไม่ระมัดระวังตัวเองและส่วนคนที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ระมัดระวังเต็มที่แล้วในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเป็นเพียงพอแก่เหตุผลและพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น จำเลยกับพวกจึงไม่เป็นความผิดและ/หรือย่อมไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

 

คดีนี้ในมุมมองส่วนตัว หากพิจารณาพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสื่อโชเชียลและพฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้นทีมงานแม่แตงโมต้องรอบคอบและรอบด้านในการกล่าวหาอย่าไปมองว่าฟ้องคดี "เจตนาฆ่า"และทางการนำสืบไม่ถึงเจตนาฆ่าแล้วจะเป็น "ประมาท" ต้องไปดูคำพิพากษาศาลฎีกา 

 

สมมติหากผมเป็นที่ปรึกษากฎหมาย"คดีแตงโม" ผมจะพิจารณาและให้ความเห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นกรณีเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ดังเหตุและอื่นๆที่ปรากฏชัด..!

 

ผมไม่ได้มีเจตนาไปลบหลู่ดูหมิ่นหรือก้าวก่ายหรือก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการทำหน้าที่แต่ออกมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเท็จจริงแห่งคดีตามองค์ความรู้ความสามารถอันน้อยนิดเพื่อเป็นวิทยาทานในเชิงวิชาการด้านกฎหมายเท่านั้นนะครับ

 

หมายเหตุ : "คดีแตงโม" ผลแห่งคดีจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาพิพากษาของศาลครับ
        
 

logoline