svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"อธิบดีกรมชลฯ" เดินหน้าองค์กรน้ำอัจฉริยะ ดึงเทคโนโลยีพัฒนาระบบบริหารน้ำ

กรมชลฯเดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยี ร่วมมือหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีและแม่นยำที่สุดสำหรับศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) 

 

กรมชลประทานกำลังเดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยีมาใช้ทั้งดำเนินการโดยกรมเองและจากความร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีและแม่นยำที่สุดสำหรับศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) ใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการน้ำ  ปัจจุบันความร่วมมือกับญี่ปุ่นในหลายโครงการมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ

 

\"อธิบดีกรมชลฯ\" เดินหน้าองค์กรน้ำอัจฉริยะ ดึงเทคโนโลยีพัฒนาระบบบริหารน้ำ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า หลายโครงการที่กรมได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นได้คืบหน้าไปมากและบางโครงการจบในปีนี้  ซึ่งการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเข้าช่วยนั้นเพื่อให้ได้ชุดข้อมูลที่ดีที่สุด  อีกทั้งจะเป็นข้อมูลที่เร็วเป็นปัจจุบันและลดอุปสรรคในการเข้าสำรวจในบางพื้นที่ สำหรับให้บุคลากรของกรมชลฯ ใช้ประกอบการพิจารณาในการบริหารจัดการน้ำให้มีความแม่นยำ และคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกที่แปรปรวนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลผันแปรต่อการพยากรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันจะมีผลต่อความมั่นคงด้านน้ำและการบรรเทาอุทกภัย เพราะน้ำคือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประชาชนทุกมิติ

 

โดยโครงการที่กรมกำลังดำเนินการ อาทิ 1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้วย
ระบบเรดาร์ Solid-State Polarimetric X-band ซึ่งได้ลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น (MIC) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ภายหลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

\"อธิบดีกรมชลฯ\" เดินหน้าองค์กรน้ำอัจฉริยะ ดึงเทคโนโลยีพัฒนาระบบบริหารน้ำ

 

อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้เสนอให้กรมชลฯ ดำเนินการเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ เป้าหมาย คือ การตรวจวัดข้อมูลปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่รับน้ำได้อย่างครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนล่าง ทำให้มีชุดการประเมินปริมาณน้ำฝน ปริมาณฝนสะสม ความเข้มฝนและทิศทางของพายุหรือฝน ระบบคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ

 

และระบบการคาดการณ์น้ำฝน-น้ำท่า นำมาสู่การบริหารสถานการณ์น้ำ การเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนอุทกภัยได้อย่างทันท่วงที แบบ Real-time    จากเดิมที่ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการประเมินน้ำไหลลงเขื่อน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะส่งต่อไปยังศูนย์ SWOC

 

2. โครงการศึกษาวิจัยแนวทางบริหารจัดการน้ำและคุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยกรมชลประทานได้ร่วมมือกับ Agricultural Development Consultants Association (ADCA) ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเลือกอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี นำร่อง เนื่องจากเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีความสำคัญของเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศ ที่ใช้สนับสนุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค

 

\"อธิบดีกรมชลฯ\" เดินหน้าองค์กรน้ำอัจฉริยะ ดึงเทคโนโลยีพัฒนาระบบบริหารน้ำ

 

สำหรับโครงการศึกษาวิจัยฯ “The Study of Efficient Water Management System based on the Advance Telemetry Technology” ได้มีการดำเนินการมาแล้ว 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นโครงการติดตั้งระบบโทรมาตรข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้า (Inflow) และระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเรื่องคุณภาพน้ำในพื้นที่อ่างเก็บน้ำบางพระ 1 จุดและในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 1 จุด และติดตั้งโทรมาตรระดับน้ำเพิ่มอีก 2 จุดคือที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำประแสร์

 

"ในระหว่างการศึกษากรมชลฯได้มีการนำผลศึกษามาใช้ในการบริหารอ่างน้ำทั้งการสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกง คลองพระองค์ไชยานุชิตและอ่างเก็บน้ำหนองค้อ ส่งผลให้ไม่กระทบต่อคุณภาพน้ำทั้งในลำน้ำและในอ่างเก็บน้ำ ทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้ในทุกกิจกรรมไม่มีปัญหาภายแล้งรุนแรงเหมือนที่ผ่านมา  ซึ่งแนวทางนี้จะมีการขยายผลไปศึกษาที่อ่างเก็บน้ำอื่นๆต่อไปเพื่อให้การบริหารน้ำมีความแม่นยำและสามารถบริหารน้ำได้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกมิติ" นายประพิศ  ระบุ

 

\"อธิบดีกรมชลฯ\" เดินหน้าองค์กรน้ำอัจฉริยะ ดึงเทคโนโลยีพัฒนาระบบบริหารน้ำ

ทั้งนี้มีโครงการที่กรมได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในปี 2565  คือ  โครงการการบูรณาการศึกษาการพยากรณ์ด้านน้ำและอุตุนิยมวิทยาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย  Advancing co-Design of integrated strategies with Adaptation to Climate change in Thailand (หรือ โครงการ ADAP-T) เพื่อให้ได้กลยุทธ์สำหรับวางแผนในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (จบโครงการเมื่อเดือนมีนาคม 2565)  

 

โดยโครงการ ADAP-T นี้ เป็นฐานข้อมูลให้ประเทศไทยได้มีแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ซึ่งมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ