- 11 พ.ค. 2565
- 777
ผลสำรวจ บ้านสมเด็จโพลล์ พบ คนกทม. อยากให้แก้ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 21.5% ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกคือนโยบายการพัฒนา กทม. 42.9% ขณะ "ชัชชาติ" ยังได้รับความนิยมนำอันดับ 1
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนิน
โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,113 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 - 9 พฤษภาคม 2565
กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คน ต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งสุดท้ายคือ วันที่ 3 มีนาคม 2556
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครั้งนี้ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 31 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 25 คน เพศหญิงจำนวน 6 คน สังกัดพรรคการเมืองจำนวน 5 คน เป็นผู้สมัครอิสระจำนวน 26 คน และมีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 50 เขต รวมจำนวน 382 คน
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 ได้ระบุบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มแต่ละตำแหน่งดังนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินเดือน 72,060 บาท เงินเพิ่มเดือนละ 41,500 บาท รวมแล้วผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีรายรับต่อเดือนรวมแล้วคือ เดือนละ 113,560 บาท
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง โดยผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ใช้จ่ายได้ไม่เกินจำนวน 49 ล้านบาท ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ มากที่สุด ร้อยละ 24.7 อันดับสองคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 15.5 อันดับสามคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 14.1 อันดับสี่คือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.6 และอันดับห้าคือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 9.9
อยากได้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 17 อันดับสองคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 15.9 อันดับสามคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 15.5 อันดับสี่คือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.7 และอันดับห้าคือมีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 13
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด
- อันดับหนึ่งคือ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 21.5
- อันดับสองคือ ปัญหาการจัดการน้ำท่วม ร้อยละ 14.4
- อันดับสามคือ ปัญหาการกีดขวางทางเท้า (ฟุตบาท) ร้อยละ 13.9
- อันดับสี่คือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 12.8 และอันดับห้าคือ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 10.3
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- จากนโยบายการพัฒนา กทม. ร้อยละ 42.9
- รองลงมาคือตัวผู้สมัคร ร้อยละ 33.6
- กลุ่มหรือพรรคการเมืองที่สังกัด ร้อยละ 23.5
คิดว่าการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ควรมาจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 54.1 รองลงมาคือ เป็นผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 45.9
ประเด็นความเห็นถึงการจะเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มากที่สุด
- อันดับที่หนึ่ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 29.8
- อันดับสอง ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 13.9
- อันดับสาม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 10.9
- อันดับสี่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.1
- อันดับห้า นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 7.5
- อันดับหก นายสกลธี ภัททิยกุล
- ไม่ประสงค์ลงคะแนน ร้อยละ 4.1
- อันดับเจ็ด นางสาวรสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 3.1
- อันดับที่แปด น.ต.ศิธา ทิวารี ร้อยละ 2.3
สำหรับผลการสำรวจแยกเป็นหัวข้อมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนที่ 1 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1. ท่านอยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติแบบใดมากที่สุด
- มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 24.7
- มีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 15.5
- มีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 14.1
- มีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.6
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 9.9
- มีความซื่อสัตย์โปร่งใส ร้อยละ 8.5
- มีประวัติการศึกษา การทำงานที่ดี ร้อยละ 6.9
- มีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 6.8
2. ท่านอยากได้ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติแบบใดมากที่สุด
- มีความซื่อสัตย์โปร่งใส ร้อยละ 17
- มีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 15.9
- มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 15.5
- มีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 13.7
- มีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 13
- มีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 10.8
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 8
- มีประวัติการศึกษา การทำงานที่ดี ร้อยละ 6.1
3. ปัญหาใดที่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด
- ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 21.5
- ปัญหาการจัดการน้ำท่วม ร้อยละ 14.4
- ปัญหาการกีดขวางทางเท้า (ฟุตบาท) ร้อยละ 13.9
- ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 12.8
- ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 10.3
- ปัญหาสถานการประกอบการฝ่าฝืนกฎหมาย ร้อยละ 9
- ปัญหาการจัดการน้ำเสีย ร้อยละ 6.5
- ปัญหาการควบคุมสุนัขและแมวจรจัด ร้อยละ 5.3
- ปัญหาการตัดต้นไม้ริมทาง/การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 3.9
- ปัญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณะ ร้อยละ 2.4
4. ท่านคิดว่าปัจจัยที่ทำให้ท่านตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในการเลือก
- ตั้งครั้งนี้มากที่สุด
- ตัวผู้สมัคร ร้อยละ 33.6
- กลุ่มหรือพรรคการเมืองที่สังกัด ร้อยละ 23.5
- นโยบายการพัฒนา กทม. ร้อยละ 42.9
5. ท่านคิดว่าการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ท่านจะเลือกผู้สมัครลักษณะใดมากที่สุด
- เป็นผู้สมัครที่มีกลุ่มหรือพรรคการเมือง ร้อยละ 54.1
- เป็นผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 45.9
6. ท่านจะเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ท่านใด
- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 29.8
- ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 13.9
- นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 10.9
- พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 8.1
- นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ร้อยละ 7.5
- ไม่ประสงค์ลงคะแนน ร้อยละ 4.1
- นายสกลธี ภัททิยกุล ร้อยละ 4.1
- นางสาวรสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 3.1
- น.ต.ศิธา ทิวารี ร้อยละ 2.3
- นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนา ร้อยละ 1.9
- พันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล ร้อยละ 1.5
- นางสาววัชรี วรรณศรี ร้อยละ 1.2
- นายศุภชัย ตินติคมน์ ร้อยละ 1.6
- นายประยูร ครองยศ ร้อยละ 1.3
- นายธเนตร วงษา ร้อยละ 1.1
- นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ ร้อยละ 0.8
- นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ ร้อยละ 0.8
- นายกฤตชัย พยอมแย้ม ร้อยละ 0.7
- นายอุเทน ชาติภิญโญ ร้อยละ 0.5
- พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที ร้อยละ 0.5
- นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ ร้อยละ 0.5
- นายภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ ร้อยละ 0.4
- นายสราวุธ เบญจกุล ร้อยละ 0.4
- นายไกรเดช บุนนาค ร้อยละ 0.4
- นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ ร้อยละ 0.4
- นายพงศา ชูแนม ร้อยละ 0.4
- นายโฆสิต สุวินิจจิต ร้อยละ 0.4
- นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ ร้อยละ 0.3
- นายวิทยา จังกอบพัฒนา ร้อยละ 0.3
- นางสาวสุมนา พันธุ์ไพโรจน์ ร้อยละ 0.2
- นายวรัญชัย โชคชนะ ร้อยละ 0.2
- นายเฉลิมพล อุตรัตน์ ร้อยละ 0.2
- พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ ร้อยละ 0.2
ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์
1.เพศ
- เพศชาย ร้อยละ 45.7, หญิง ร้อยละ 54.3
2.ช่วงอายุ
- 18-20 ปี ร้อยละ 5.3
- 20–25 ปี ร้อยละ 19.3
- 26–30 ปี ร้อยละ 17.7
- 31–35 ปี ร้อยละ 16.3
- 36–40 ปี ร้อยละ 12.8
- 41-45 ปี ร้อยละ 10.6
- 46- 50 ปี ร้อยละ 9.3
- มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 8.7
3. อาชีพ
- นักเรียน, นิสิต, นักศึกษา ร้อยละ 14.8
- ข้าราชการ, พนักงานของรัฐ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.7
- พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 22.4
- พ่อค้า แม่ค้าร้อยละ 17.4
- แม่บ้าน พ่อบ้าน ร้อยละ 10.6
- รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.1
หมายเหตุ : บ้านสมเด็จโพลล์ เผยแพร่วันที่ 11 พฤษภาคม 2565