svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมวิทย์ฯ จับตาโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย เผยไทยพบ BA.5 จากบราซิล 1 ราย

09 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมวิทฯ เผยไทยพบโอมิครอน BA.2 สายพันธุ์หลัก ส่วนสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกให้จับตา ทั้ง BA.4 และ BA.5 ก่อนหน้านี้ไทยพบ BA.5 จากบราซิล 1 ราย ส่วนสายพันธุ์ BA.2.12.1 ไม่เจอ พบแต่ BA.2.12 จำนวน 2 ราย ล่าสุดส่งน้ำยาตรวจเชื้อให้ศูนย์วิทย์ทั่วประเทศเน้นตรวจหา 3 สายพันธุ์ย่อย

9 พฤษภาคม 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในประเทศไทย ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิดในประเทศไทย ทั้งผู้เดินทางเข้าประเทศ และการติดเชื้อในประเทศ ซึ่งตรวจประมาณ 700-800 รายล้วนพบเป็น โอมิครอน โดยเป็นสายพันธุ์ BA.2 ถึง 97.6% และ BA.1 เพียง 2.4%  


สำหรับสายพันธุ์ย่อยๆที่ออกมาเป็นลูกหลาน อย่างกรณี สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในตำแหน่งของ สไปค์โปรตีนที่ L452 โดยในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 องค์การอนามัยโลก หรือ WHOระบุสายพันธุ์นี้ว่าต้องจับตามมอง ซึ่งมีการระบาดในบอตสวานา แอฟริกาใต้ เยอรมัน เดนมาร์ก รวมถึงประเทศอื่นๆ อย่างยุโรปบางแห่ง 

 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

นอกจากนี้ รายงานข้อมูลในจีเสส โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า สายพันธุ์ทำให้คนนอนรพ.มากขึ้นหรือไม่ ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงให้จับตามองส่วนสายพันธุ์ BA.2.12 พบกระจายทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็มีข้อสังเกตว่า ทำให้คนป่วยนอนรพ. หรือแอดมิทมากขึ้น

 

“ ส่วน ประเทศไทยมีการเฝ้าระวัง อย่าง BA.5 พบ 1 ราย  มาจากบราซิล มีการเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา รายนี้หายดีและกลับบ้านแล้ว  ส่วน BA.2.12.1 ยังไม่พบในไทย แต่เราพบสายพันธุ์แม่ คือ BA.2.12 มี 2 ราย เป็นชาวอินเดีย เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน ม.ค. 2565 และอีกรายเป็นชาวแคนาดา เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา จึงต้องตามดูว่า เมื่อมีแม่มาก็อาจมีลูก มีหลานตามมาได้ แต่ขอให้มั่นใจว่าการตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถตรวจสอบได้ และเราจะเพ่งเล็งมาที่ BA.4 และ  BA.5 และ BA.2.12.1 เรามีน้ำยากระจายให้ศูนย์วิทย์ฯ ทั่วประเทศตรวจได้แล้ว ” 

 

กรมวิทย์ฯ จับตาโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย เผยไทยพบ BA.5 จากบราซิล 1 ราย
 

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้จะมีการเพ่งเล็งคนเดินทางมาจากต่างประเทศ และมีอาการหนัก ซึ่งหากพบสัดส่วนของคนอาการหนักในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่เฝ้าระวังมากขึ้น แสดงว่ามีสัญญาณบางอย่าง แต่เมื่อเกิดพันธุ์ใหม่ กว่าจะรู้ว่ารุนแรงหรือไม่ หลบภูมิฯหรือไม่ ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม เราจะเพาะเชื้อเพื่อให้ได้จำนวนมากพอ เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไป

 

เมื่อถามว่าสายพันธุ์ที่กำลังเป็นประเด็นในสหรัฐอเมริกา ทำให้ไทยต้องระวังคนที่เดินทางเข้าออกสหรัฐหรือไม่ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ไม่ต้องขนาดนั้น เพราะจริงๆ ยังไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร ยกเว้นว่าอีก 2-3 สัปดาห์หากมีการประกาศว่ารุนแรงมากขึ้น แต่โดยธรรมชาติจากข้อมูลลูกหลานของสายพันธุ์ก็ไม่พบข้อมูลอะไร  

 

กรมวิทย์ฯ จับตาโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย เผยไทยพบ BA.5 จากบราซิล 1 ราย

ส่วนสายพันธุ์ไฮบริด หรือลูกผสมของไทยที่เคยพบในกลุ่ม X ก็ไม่ต้องกังวล ยกเว้นตัวไฮบริดที่เจอจะขยายพันธุ์ แต่ก็ยังไม่พบ หรือแม้แต่การกลายพันธุ์ของประเทศไทยเองก็ยังไม่มี ซึ่งข้อมูลพวกนี้เราส่งไปยังจีเสส (GISAID) ก็ยังไม่พบอะไร และจีเสสยังไม่นำสายพันธุ์ลูกผสมของไทยขึ้นลิสต์ข้อมูล

 

“ขอย้ำว่าในผู้ที่เคยติดเชื้อ BA.1 พบว่าภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกัน BA.4 และ BA.5  ได้มากพอ แต่ในผู้ติดเชื้อที่เคยฉีดวัคซีนสามารถป้องกันเชื้อ BA.4 และ BA.5  ได้มากกว่า” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้วัคซีนป้องกันโควิดในไทยที่ใช้กันอยู่ยังสามารถป้องกันโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆได้อยู่ ”

 

กรมวิทย์ฯ จับตาโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย เผยไทยพบ BA.5 จากบราซิล 1 ราย

logoline