svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ราชกิจจาฯ" ออกพรฎ. ลดอัตราจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตน "ม.40" จากผลกระทบโควิด

08 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ราชกิจจาฯ" ประกาศ พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตน "ม.40" มีผลบังคับใช้แล้ว

 

เมื่อวันที่ 8 พ.ค.65  ราชกิจจาฯ เผยแพร่  พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕

 

ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และอัตรา การจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิ ในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๔๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

"ราชกิจจาฯ" ออกพรฎ. ลดอัตราจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตน "ม.40" จากผลกระทบโควิด

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตรา การจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิ ในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕ "

 

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

 

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชกฤษฎีกา

 

"ราชกิจจาฯ" ออกพรฎ. ลดอัตราจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตน "ม.40" จากผลกระทบโควิด

 

กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภท ของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ และประโยชน์ทดแทน ในกรณีตาย เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา ดังต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติม>>>

 

  • เดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน เหลือเป็น 42 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย

 

  • เดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน เหลือเป็น 60 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ

 

  • เดิมจ่ายสมทบ 300 บาท/เดือน เหลือเป็น 180 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

 

"ราชกิจจาฯ" ออกพรฎ. ลดอัตราจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตน "ม.40" จากผลกระทบโควิด

(๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เดือนละสี่สิบสองบาท

 

(๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เดือนละเจ็ดสิบบาท

 

มาตรา ๗ ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย และประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา ดังต่อไปนี้

 

(๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เดือนละหกสิบบาท

 

(๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เดือนละหนึ่งร้อยบาท

 

มาตรา ๘ ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา ดังต่อไปนี้

 

(๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เดือนละหนึ่งร้อยแปดสิบบาท

 

(๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เดือนละสามร้อยบาท ”

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม>>>

 

พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๕

logoline