svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แจงปม "เสาหลักนำทาง" ริมถนน สอดไส้ "ไม้ไผ่" เป็นเสายางพาราช่วยเกษตรกร

05 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แขวงทางหลวง จ.น่าน ชี้แจงปม "เสาหลักนำทาง" หรือ "เสานิรภัย" ริมถนน มีการสอดไส้ "ไม้ไผ่" จนถูกตั้งข้อสังเกตว่าทุจริตหรือไม่ ยืนยันเป็น "เสายางพารา" ที่นำมาใช้แทนเสาปูน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายรัฐบาลอีกทาง

กลายเป็นดราม่าขึ้นมาทันที เมื่อโลกโซเชียลมีการแชร์ภาพ “เสาหลักนำทาง” หรือ “เสานิรภัย” สีขาวดำ ตั้งอยู่ริมถนนพื้นที่ จ.น่าน มีลักษณะแตกหัก โดยภายในเสา มีการสอดไส้คล้าย "ไม้ไผ่" ไม่ใช่เสาปูนอย่างที่หลายคนเข้าใจ จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการทุจริตหรือไม่

แจงปม "เสาหลักนำทาง" สอดไส้ "ไม้ไผ่" เป็นเสายางพาราช่วยเกษตรกร

ล่าสุดนายนิรันดร์ ครองงาม รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงที่ 1 น่าน ชี้แจงว่า เสาดังกล่าวทำมาจากยางพารา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันอุบัติเหตุอีกทาง เพราะมีความปลอดภัยมากกว่าเสาปูน แต่อาจจะมีปัญหาถูกไฟป่าไหม้ได้

 

“ขอยืนยันว่าไม่มีการทุจริตแน่นอน ที่ใส่สอดไส้ไม้ไผ่ไว้ด้านใน เพื่อให้เสามั่นคง ไม่โยกเยก และสะดวกต่อการติดตั้งครั้งแรกเท่านั้น”

แจงปม "เสาหลักนำทาง" สอดไส้ "ไม้ไผ่" เป็นเสายางพาราช่วยเกษตรกร

ทั้งนี้ จ.น่านดำเนินการติดตั้งตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 2,086 ต้น ราคาต้นละ 2,050 บาท แทนเสาแท่งปูนซิเมนต์ที่หมดอายุการใช้งาน โดยแต่ละต้นจะมีความสูง 140 เซนติเมตร อายุการใช้งาน 3-4 ปี

 

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก “ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน” ระบุว่า “ต้นละ 1,860-2,050 บาท เราไปหาราคามาให้ พบว่าทางหลวงน่าน ทำเสาหลักนำทางทั้งหมด 2 โครงการ รวม 3,201 ต้น โครงการแรก ทำเมื่อ เม.ย.64 จำนวน 2,086 ต้น ตกต้นละ 1,860 บาท และทำเพิ่มเดือน ก.ค.อีก 1,115 ต้น แพงขึ้นไปอีก เฉลี่ยต้นละ 2,050 บาท”

แจงปม "เสาหลักนำทาง" สอดไส้ "ไม้ไผ่" เป็นเสายางพาราช่วยเกษตรกร

logoline