svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

03 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"วันฉัตรมงคล" อีกหนึ่งวันสำคัญ ชวนคนไทยเปิดที่มาและความสำคัญของ "วันฉัตรมงคล" ที่มีต่อราชวงศ์จักรี อีกหนึ่งวันสำคัญที่สะท้อนประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาหลายยุคหลายสมัย ชวนคนไทยร่วมย้อนอดีต รับรู้ถึงความสำคัญของวันฉัตรมงคลจากนี้และสืบไป

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

สำหรับเดือนพฤษภาคม 2566 ถือว่ามีความสำคัญกับราชวงศ์จักรี เนื่องจากมีวันสำคัญด้วยกัน 2 วันคือ “วันฉัตรมงคล"  และ “วันพืชมงคล”

"วันฉัตรมงคล" ซึ่งตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคม หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่า..วันนี้มีความสำคัญในการสะท้อนประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาหลายยุคหลายสมัย ในวันนี้ ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ขอสรุปความสำคัญ ๗ เรื่องสำคัญ ๗ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “วันฉัตรมงคล” มาฝากกัน

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร  

1. "วันฉัตรมงคล" 4 พฤษภาคม 2565

วันฉัตรมงคล คือ วันที่รำลึกถึง "พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร" หรือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดย "วันฉัตรมงคล" จะถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษกของกษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้นในวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ต่อมามีกำหนดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งในปีต่อๆ ไป ให้ถือว่าวันดังกล่าวนี้ เป็น "วันฉัตรมงคล" และถือเป็นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

2. "วันฉัตรมงคล" คือ พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร 
วันฉัตรมงคล (Coronation Day) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งจะกระทำในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นขั้นตอนตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ ด้วยการถวายน้ำอภิเษก

โดยแบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีสำคัญคือ

  • พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ
  • พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร


7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

3. "วันฉัตรมงคล" กำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) พระราชพิธีฉัตรมงคลจัดขึ้นทุกวันที่ 5 พฤษภาคม เพราะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้นในวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (วันฉัตรมงคลถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก) และในปีถัดไปจึงถือว่าวันนี้เป็น วันฉัตรมงคล

4. ย้อนดูประวัติศาสตร์ "พิธีบรมราชาภิเษก"

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมเนียมของ "ศาสนาฮินดู" และ "ศาสนาพุทธ" เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อป่าวประกาศให้เหล่าเทวดาฟ้าดินรับรู้ว่า บัดนี้จะมีพระมหากษัตริย์หรือพระผู้เป็นเจ้าเกิดขึ้นอีกพระองค์หนึ่งแล้ว

โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประกอบไปด้วย พระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษก, พระราชพิธีถวายน้ำอภิเษก, พระราชพิธีถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และการสถาปนาพระราชินีและพระราชวงศ์ ส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นโดยเหล่าสมาชิกของราชวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง

ภายหลังจากประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จสิ้นแล้ว พระมหากษัตริย์จะประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง ไปประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะและเสด็จไปสักการะพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชบูรพการี

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

5. พิธีบรมราชาภิเษก เริ่มมีตั้งแต่สุโขทัย
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าการประกอบพระราชพิธีในสมัยนั้น มีขั้นตอนอย่างใด

6. พิธีบรมราชาภิเษก ปรับขั้นตอนตามกาลสมัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อ พ.ศ. 2325 ครั้งหนึ่งก่อน แล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน แล้วตั้งแบบแผนพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นตำรา จากนั้นจึงทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตำราอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2328 และได้ใช้เป็นแบบแผนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละรัชกาลก็ได้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยให้เหมาะแก่กาลสมัย

7. ในพิธีฯ ใช้ภาษาบาลี, ทมิฬ ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาไทย
ส่วนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ในทางอักษรศาสตร์และโบราณราชประเพณี ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกราบบังคมทูลของพราหมณ์และราชบัณฑิตขณะถวายเครื่องราชกกุธกัณฑ์ กับพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาบาลี และคำแปลเป็นภาษาไทย
 

ทั้งนี้ อาจวิเคราะห์ได้ว่าพระราชพิธีนี้ มีคติที่มาจากลัทธิพราหมณ์ผสมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนบทมนต์ต่างๆ ของพราหมณ์นั้น นักวิชาการภาษาตะวันออกโบราณ วินิจฉัยว่าเป็นภาษาทมิฬโบราณ

7 เรื่องสำคัญใน “วันฉัตรมงคล” มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีอย่างไร

ขอขอบคุณที่มา อ้างอิง : th.wikipedia.org/ฉัตรมงคล/ phralan.in.th / กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

logoline