svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สภาองค์การลูกจ้างฯ จ่อ ยื่นข้อเรียกร้อง "นายกฯ" ใน "วันแรงงานแห่งชาติ"

29 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย จ่อยื่นข้อเรียกร้อง “นายกฯ” ในวันเป็นประธานเปิดงาน "วันแรงงานแห่งชาติ" 1 พ.ค. 2565

29 เมษายน 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะกล่าวรายงานสรุปความคืบหน้าของภารกิจ ตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ จากนั้น นายสุชาติ ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 จะนำเสนอข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 และยื่นต่อนายกรัฐมนตรี โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้รับข้อเรียกร้อง กล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน และเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ณ บริเวณกระทรวงแรงงาน 

สภาองค์การลูกจ้างฯ จ่อ ยื่นข้อเรียกร้อง "นายกฯ" ใน "วันแรงงานแห่งชาติ"

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การจัดงานในปีนี้ คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประกอบด้วย

  • ประธานสภาองค์การลูกจ้าง 14 แห่ง
  • ประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย
  • และประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย พิธีเปิดวันแรงงานแห่งชาติ รวมทั้งจะมีการเคลื่อนริ้วขบวนรถเทิดพระเกียรติ และริ้วขบวนรถของผู้ใช้แรงงาน ออกจากสนามหลวงมายังกระทรวงแรงงาน และมีการเสวนาเรื่อง “เศรษฐกิจยุคโควิดกระทบแรงงานและค่าจ้างอย่างไร” โดยผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ นักวิชาการอิสระ พร้อมทั้งมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน

อย่างไรก็ตาม วันนี้ ดร.ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ นำตัวแทนคณะสภาองค์การนายจ้างฯ ประกอบด้วย  สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ สภาองค์การนายจ้าง สภาอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจการค้าและบริการไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจและอุตสาหกรรมแห่งชาติ และสมาคมนายจ้าง 40 - 50 สมาคมนายจ้าง เข้าพบนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้ทบทวนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 429 บาท ซึ่งสภาองค์การนายจ้างฯ ไม่เห็นด้วยและขอให้ภาครัฐเป็นผู้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ (คลิกอ่านรายละเอียด)

 

เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด -19 ผู้ประกอบการนายจ้างบางประเภทต้องหยุดกิจการชั่วคราว แรงงานขาดแคลน และสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น กลุ่มนักท่องเที่ยวยังไม่เข้ามาเต็มรูปแบบ ตลอดจนสถานการณ์สู้รบของประเทศเพื่อนบ้านและสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน-รัสเซียยังไม่นิ่ง

 

กรณีจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงขอให้ฐบาลเป็นผู้กำหนด เนื่องจาก รัฐบาล สภาองค์การนายจ้าง และ สมาคมนายจ้าง ยังไม่เห็นสมควรขึ้นในช่วงนี้ และเห็นสมควรให้คณะกรรมการไตรภาคี โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้นำเสนอ

สภาองค์การลูกจ้างฯ จ่อ ยื่นข้อเรียกร้อง "นายกฯ" ใน "วันแรงงานแห่งชาติ"

logoline