svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

27 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"แอสตร้าเซนเนก้า" เผยผลศึกษาวัคซีนป้องกันโควิด ทั้งชนิด ไวรัลเวคเตอร์ และ mRNA มีประสิทธิภาพดีเท่ากัน ป้องกันการเข้าโรงพยาบาล 91.3-92.5% ลดการเสียชีวิต 91.4–93.3%

27 เมษายน 2565 รศ.ดร.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์ เลขาธิการเครือข่ายซีมีโอทรอปเมด และอดีตคณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานแถลงข่าว “ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19” จัดโดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย โดยระบุว่า สิ่งสำคัญ คือ การสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้บริการทางการแพทย์พื้นฐาน เพื่อช่วยชีวิต และเป็นการลงทุนด้านสุขภาพ "วัคซีน" จึงเป็นเสาหลักสำคัญ ของความมั่นคงของสาธารณสุขในโลก และการต่อสู้กับการระบาดโควิด-19 และโรคระบาดใหม่ๆ ในอนาคต

 

"สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ การให้วัคซีน ถือเป็นการป้องกันโดยเฉพาะในเรื่องของผลข้างเคียงรุนแรง เช่น อาการรุนแรง และเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ประสิทธิผลของวัคซีน แต่เดิมเราใช้วิธีการวัดการสร้างแอนติบอดีข้างต้นได้ดี แต่ประสิทธิผลวัคซีนในโลกความเป็นจริง สะท้อนให้เห็นจากประสบการณ์ใช้งานจริง ปัจจุบัน สามารถวัดตัวแปรสำคัญ โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ. และ เสียชีวิต" รศ.ดร.นพ.ประตาป กล่าว 

 

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

 

รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญจากงานวิจัยที่มาจากกรณีศึกษากว่า 79 เรื่อง เผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก ต่างให้ประสิทธิผลที่เท่ากันในการการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หลังการให้วัคซีนสองเข็ม

 

รายงานฉบับดังกล่าวแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัล เวคเตอร์ (Viral Vector) และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล อยู่ที่ระหว่าง 91.3-92.5% และการเสียชีวิต อยู่ที่ระหว่าง 91.4 – 93.3% ในระดับเดียวกัน โดยไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ

 

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

แม้ว่าข้อมูลในขณะที่ทำรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลจากการระบาดระลอกใหม่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

 

ศาสตราจารย์กาย ทเวทส์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในเวียดนาม เปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 มีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ในปีที่ผ่านมา

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญของเราแสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า และ วัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ในระดับสูง และเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับภาครัฐและผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคนี้ เพื่อพิจารณานำวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปใช้กับประชาชนอย่างเหมาะสมที่สุดในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

 

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

 

ด้าน พญ.สุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การศึกษาประสิทธิผลวัคซีนในประเทศไทย พบว่า แอนติบอดีจะสูงขึ้นในช่วงแรกหลังจากได้รับวัคซีน และ ปกป้องเราจากอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เดิมทีเราใช้ตัวเลขแอนติบอดีเป็นเกณฑ์หลัก และพบว่า mRNA จะสูงมาก เมื่อเทียบกับ ไวรัลเวคเตอร์ และ เชื้อตาย รวมถึงการ บูสเตอร์โดส ด้วย mRNA และไวรัลเวคเตอร์ จะสูงกว่าเชื้อตายอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ใช่เพียงแค่ระดับการตอบสนองของแอนติบอดีเบื้องต้น แต่ยังต้องดูประสิทธิผลของวัคซีนจากกรณีศึกษาจริง เพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนที่ใช้นั้นได้ผล โดยสามารถการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้อย่างดี

 

“จากการศึกษางานวิจัยกว่า 79 เรื่อง ที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัคซีนจริง และพบว่า วัคซีนชนิดไวรัลเวคเตอร์ และวัคซีน mRNA ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ล้วนมีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ในระดับสูงไม่แตกต่างกัน ”

 

ข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากทั่วเอเชียนั้นมาจาก VIEW-hub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบอินเตอร์แอคทีฟที่แสดงข้อมูลระดับโลกพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับการใช้วัคซีนและผลกระทบ โดยถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของวิทยาลัยสาธารณสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) และศูนย์การเข้าถึงวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Access Center)

 

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

จากข้อมูลของประเทศไทย ที่เป็นข้อมูลจากการปฏิบัติจริง สะท้อนให้เห็นว่า ไวรัลเวคเตอร์ ให้ความสามารปกป้องการเข้า รพ. และ เสียชีวิต โดยเฉาะความรุนแรงจากการติดเชื้อเทียบเท่า mRNA สามารถมั่นใจได้ว่า ประชาชนได้รับความคุ้มครองที่ดี โดยเฉพาะความรุนแรงจากเชื้อโควิด และได้รับการคุ้มครองจากวัคซีนที่ใช้ทั่วไป

 

“ ดังนั้น การประเมินวัคซีนไม่ควรใช้ตัวแปรในประสิทธิผลระยะสั้น แต่ต้องดูระยะยาว โดยเฉาะการเข้า รักษาตัวใน รพ. และเสียชีวิตจากโควิด ” พญ.สุเนตร กล่าว 

 

ดร.บรูซ มุนกอลล์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ประจำภูมิภาคเอเชีย วัคซีนและโรคติดเชื้อ แอสตร้าเซนเนก้า กล่าวใน หัวข้อ “วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า : โอมิครอน และข้อมูลบูสเตอร์เข็มที่สาม” โดยระบุว่า โอมิครอนที่เกิดขึ้นเป็นสายพันธุ์ใหม่ ทำให้คนติดเชื้อทั่วโลก แม้จะได้รับวัคซีน หลายคนมองว่าวัคซีนไม่เวิร์คหรือเปล่า ? ดังนั้น ต้องเข้าใจว่าวัคซีนมีประสิทธิผลอย่างไร

 

ข้อมูลจาก สหราชอาณาจักร ซึ่งขณะนี้ มีวัคซีนที่ใช้หลัก คือ ไวรัลเวคเตอร์ และ mRNA เรื่องของการคุ้มครองการติดเชื้อกับการเจ็บป่วยเล็กน้อย พบว่า สามารถลดการเข้ารพ.และเจ็บป่วยรุนแรง จากโอมิครอนได้ดี รวมถึง เดลตาด้วยเช่นกัน

 

ขณะที่ ผลในเชิงประสิทธิภาพลดการเข้า รพ. เสียชีวิต ถือว่าน่าสนใจ ข้อมูลใน สหรราชอาณาจักร ระหว่างเดลตา และ โอมิครอน คนที่ได้รับ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 โดส หรือ ไฟเซอร์ 2 โดส เห็นได้ชัดว่าตัวเลขใกล้เคียงกัน ขณะเดียวกัน ทั้ง 2 ชนิด ต่อให้ได้รับ 2 โดส ก็ไม่สามารถป้องกันโอมิครอนได้ดีในระยะยาว

 

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

อย่างไรก็ตาม การป้องกันการเจ็บป่วย เข้ารพ. ประสิทธิภาพระยะยาวถือว่ารักษาระดับได้ดี ทั้งเดลต้า และ โอมิครอน แต่ประสิทธิภาพลดลงราว 30% หลังจาก 6 เดือน ดังนั้น บูสเตอร์โดส จึงมีความสำคัญ

 

เมื่อเทียบวัคซีน 2 โดส และหลังจากให้ "บูสเตอร์โดส" จากข้อมูลในราชอาณาจักร พบว่า อัตราการป้องกันการเข้า รพ. กระโดดขึ้นมากกว่า 90% หลังจากได้รับเข็มที่ 3 ในทั้งเดลตา และโอมิครอน

“ การป้องกันการเข้า รพ. ประสิทธิผลของวัคซีนเหล่านี้ 3 โดส น่าจะไปในทิศทางเดียวกันทั้งวัคซีนสองประเภท ก่อนหน้านี้ต้องยอมรับว่า ความสามารถในการรองรับสายพันธุ์โอมิครอนอาจจะน้อยกว่าเมื่อเทียบสายพันธุ์อื่น แต่วัคซีนทั้ง 2 ชนิด ประชาชน มั่นใจได้ว่า จะสามารถป้องกันอาการหนัก และ เสียชีวิต จากโควิด-19 ได้ ” ดร.บรูซ มุนกอลล์  กล่าว 

 

แอสตร้าฯ เผยผลวิจัย "วัคซีนโควิด" ทั้งไวรัลเวคเตอร์-mRNA ลดการสูญเสีย 90%

ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

 

logoline