“ยอมรับว่า ประโยชน์จากโครงการคนละครึ่งนั้น ก็มีขีดความสามารถในการใช้จ่ายมากขึ้นตามกำลังที่มีอยู่ แต่เราก็ต้องประเมินกันต่อไปว่า การเพิ่มขึ้นของรายได้ สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือผู้ที่มีรายได้รายวันว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร ก็ขอดูตรงนี้ก่อน"
อย่างไรก็ตาม ยังต้องพิจารณาว่า หลังจากที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาเปิดปกตินั้น ในส่วนของผู้มีรายได้ประจำ และกลุ่มที่มีรายได้รายวัน รายได้มีการปรับเพิ่มขึ้น หรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจริง การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนนี้ก็จะลดลง แต่ยืนยันไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดูแล
“คนละครึ่งเฟส5 ไม่ได้พูดว่า คนละเสี้ยว แต่จะมีหรือไม่ ยังต้องมาพิจารณาก่อน เพราะเรายังมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณมากขึ้น และตัวชี้วัดเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น คนเริ่มกลับเข้ามาทำงาน โรงงานเริ่มเพิ่มกำลังการผลิต บางบริษัทมีการจ่ายโบนัด ก็ถือว่า รายได้เริ่มเข้ามา กลุ่มคนที่กำลังทรัพย์ก็จะใช้จ่ายมากขึ้น ยังต้องมาดูว่ารายได้ของพนักงานประจำและรายได้แบบรายวัน เพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร”นายอาคมกล่าว
สำหรับ โครงการ คนละครึ่งเฟส 4 ยืนยันว่า จะจบในวันที่ 30 เม.ย.2565 นี้อย่างแน่นอน โดยยังไม่มีโครงการใดจะออกมาต่อทันทีในวันที่ 1 พ.ค.65 ซึ่งขอประเมินสถานการณ์และความจำเป็นก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐดูแลระดับการบริโภค โดยการบริโภคและการใช้จ่ายของประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ นทท.เริ่มที่จะเดินทางเข้ามามากขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยเดินทางมากขึ้น นทท.ต่างชาติก็เพิ่มขึ้น และมาตรการที่ ศบค. ได้ผ่อนคลายจะทำให้มีรายได้มากขึ้น ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับผู้ที่จ้างงานในระบบการท่องเที่ยว แต่อาจจะไม่กลับมาเท่ากับก่อนเกิดโควิด ที่ไทยมีนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน
ดังนั้น แม้โรงแรมจะเปิดดำเนินการ แต่ยอดเข้าพักก็จะยังไม่เท่าเดิม การจ้างงานก็อาจยังไม่ 100% กำลังซื้ออาจจะยังไม่ได้เต็ม 100% เหมือนก่อนโควิด ซึ่งคลังก็อยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะเริ่มกลับมาดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนจะมีการเพิ่มวงเงินในโครงการเราเที่ยวด้วยกันหรือไม่นั้น เชื่อว่า กระทรวงการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างพิจารณา
“เมื่อก่อนเรามีนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน แต่ขณะนี้ยังมีไม่ถึง ฉะนั้น โรงแรมยังไม่ได้กลับมาเต็ม การจ้างงานแม้จะมีเพิ่มขึ้น แต่อาจจะยังไม่เต็ม 100% แต่บางโรงงานก็อาจจะเต็ม 100% อย่างไรก็ดี กำลังซื้ออาจจะยังไม่ได้เต็ม 100% เหมือนก่อนโควิด เรายังต้องมอนิเตอร์”
ขอขอบคุณที่มา : ฐานเศรษฐกิจ