svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เอมมานูเอล มาครง กับความท้าทายอีก 5 ปีข้างหน้า

25 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เอมมานูเอล มาครง สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีคนแรกในรอบ 20 ปี ที่ชนะการเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 และประกาศตัวเป็น "ประธานาธิบดีของทุกคน" แต่ชัยชนะนี้ถูกมองว่าไม่ได้หอมหวาน เพราะมีความท้าทายที่สาหัสกว่า 5 ปีที่ผ่านมา รออยู่เบื้องหน้า

หลังจากเอมมานูเอล มาครง นักการเมืองสายกลางวัย 44 ปี ของพรรคอองมาร์ช (La Republique en Marche) วัย 44 ปี เอาชนะมารีน เลอ เพน คู่แข่งหัวขวาจัดวัย 53 ปี ของพรรคราสซอมเบลอมอนต์ นาซิอองนาล (Rassemblement national) เขาได้ไปพบผู้สนับสนุนที่สวนสาธารณะช็อง เดอมาร์ส (Champ de Mars) ใกล้หอไอเฟล โดยบอกว่าเขารู้ว่าคนจำนวนมากที่ลงคะแนนเสียงให้เขาไม่ใช่เพราะแนวคิดของเขา แต่เพื่อหยุดแนวคิดของพวกขวาจัดและเรียกร้องให้ผู้สนับสนุน "มีน้ำใจและให้เกียรติ" ผู้อื่น เพราะประเทศชาติถูกปลุกเร้าด้วย "ความเคลือบแคลงสงสัยและความแตกแยกอย่างมาก" 

 

มาครงบอกว่า "นับจากนี้ไปผมจะเป็นแคนดิเดตของพรรคไม่ได้อีกแล้ว ผมเป็นประธานาธิบดีของทุกคน!" และยอมรับว่าฝรั่งเศสเต็มไปด้วยความโกรธแค้นและความแตกแยก แต่ก็ให้คำมั่นว่า "จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างทาง" 

 

ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง

เอมมานูเอล มาครง กับความท้าทายอีก 5 ปีข้างหน้า

 

ชัยชนะครั้งนี้นอกจากจะทำให้มาครงสร้างประวัติศาสตร์เป็นประธานาธิบดีคนแรกในรอบ 20 ปี ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ที่วาระของเขาจะยาวไปถึงปี 2570 ที่จะรวมช่วงเวลาสำคัญที่ปรุงปารีสได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2024 (2567) ด้วย แต่อีกด้านหนึ่งชัยชนะครั้งนี้ถูกมองว่าไม่ได้หอมหวานสำหรับมาครง แต่มีความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้าที่ทำให้เขาอาจต้องเหนื่อยกว่าเมื่อ 5 ปีทีผ่านมา และสิ่งที่ปรากฎให้เห็นในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ 

 

เอมมานูเอล มาครง กับความท้าทายอีก 5 ปีข้างหน้า

 

คนออกไปใช้สิทธิ์น้อยทั้งรอบแรกและรอบชี้ขาด

- ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในปีนี้ มี 48.7 ล้านคน แต่มีคนออกไปใช้สิทธิ์เพียง 72% และการที่มีคนนอนหลับทับสิทธิ์ถึง 28% ถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส รอบชี้ขาด นับตั้งแต่ปี 2512 สะท้อนถึงความไม่ใส่ใจของชาวฝรั่งเศส ซึ่งการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน มีคนออกไปใช้สิทธิ์เพียง 65%
- ตัวเลือกระหว่าง มาครง กับ เลอ เพน ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นการตัดสินใจเลือกระหว่างกาฬโรคกับอหิวาตกโรค 
- คะแนนที่ห่างกัน 58% ต่อ 42% บ่งชี้ว่า ฝ่ายขวาจัดเข้าใกล้การก้าวขึ้นสู่อำนาจในฝรั่งเศสมากสุดเท่าที่เคยมีมา และแสดงถึงความแตกแยกรุนแรงในประเทศ 

เอมมานูเอล มาครง กับความท้าทายอีก 5 ปีข้างหน้า

 

อนาคตที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลชุดใหม่

- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่กำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 12-19 มิถุนายน พรรคอองมาร์ชของมาครงกับพรรคพันธมิตร จำเป็นต้องได้เสียงส่วนใหญ่ 289 ที่นั่ง จากทั้งหมด 577 ที่นั่ง 
- ผลสำรวจในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก พบว่าพรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรคเล เรพุบลิแก็ง (Les Republicains) กับพรรคสังคมนิยม (Parti socialiste) อยู่ในสภาพง่อนแง่น ได้คะแนนนิยมไม่ถึง 5% และเกิดความเท่าเทียมกันของ 3 พรรค คือ พรรคที่มีแนวคิดซ้ายจัดสุดโต่ง, พรรคสายกลางที่หลากหลายของมาครงและพรรคที่มีแนวคิดขวาจัด 

นโยบายที่รับปากไว้ในช่วงหาเสียง

- รับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- ใช้จ่ายเงินหลายพันล้านในควบคุมค่าพลังงาน ซึ่ง "ได้ผลดีกว่าการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 เท่า" 
- พนักงานควรจะได้รับเงินโบนัสที่ไม่มีการเก็บภาษี ในวงเงินที่มากถึง 6,000 ยูโร (ประมาณ 220,000 บาท)
- ปรับอายุผู้ที่ได้รับเงินบำนาญจาก 62 ปี เป็น 65 ปี แบบค่อยเป็นค่อยไป

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

- องค์การระหว่างประเทศที่สำคัญอย่าง สหภาพยุโรป (EU) กับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) น่าจะโล่งออกมากที่สุด เพราะอย่างน้อยฝรั่งเศสภายใต้การนำของมาครงก็จะมีบทบาทและเป็นกำลังที่เข้มแข็งกับทั้งสององค์กรต่อไป

 

เอมมานูเอล มาครง กับความท้าทายอีก 5 ปีข้างหน้า

logoline