svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดเงื่อนไข โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ลงทะเบียนฉีดไฟเซอร์ สำหรับเยาวชน 5-11 ปี

23 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดลงทะเบียนรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด Pfizer สำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี เตรียมพร้อมรับการเปิดเรียน ตรวจสอบเงื่อนไขและช่องทางการลงทะเบียนได้ที่นี่

23 เมษายน 2565 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์แจ้งข่าวดีในเพจเฟซบุ๊ก “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย” เปิดลงทะเบียนรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด Pfizer สำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี มีเนื้อหาดังนี้..

 

 วัคซีนพร้อมแล้ว น้องๆ 5-11 ขวบ พร้อมหรือยัง 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ขอเชิญลงทะเบียนรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด Pfizer มีเงื่อนไขดังนี้..

  • สำหรับเด็ก ตั้งแต่อายุ 5 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 11 ปี (เกิดระหว่าง มีนาคม 2553 ถึง เมษายน 2560)
  • ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน หรือเคยได้รับวัคซีนฯ ชนิด Sinovac หรือ Sinopharm เข็มที่ 1-2 ภายในเดือนมีนาคม 2565

 

เปิดเงื่อนไข โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ลงทะเบียนฉีดไฟเซอร์ สำหรับเยาวชน 5-11 ปี

 ขั้นตอนการลงทะเบียน 

สามารถลงทะเบียนเลือกวัน เวลา รับบริการวัคซีน โดยอ่านรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่  สแกน QR Code หรือ ลงทะเบียนในเว็บไซต์ คลิกที่นี่  (โดยจะปิดรับลงทะเบียนเมื่อมีผู้เข้ามาจองสิทธิ์ครบจำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรรมา)

 

ทั้งนี้ หลังจากท่านได้ลงทะเบียน เลือกวัน เวลา เรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับการยืนยันการจองฉีดวัคซีน ขอให้ท่านบันทึกหน้าจอไว้เป็นหลักฐาน และเข้ารับบริการฉีดวัคซีนตามวัน เวลา ที่ได้ลงทะเบียนไว้เท่านั้น

 

เปิดเงื่อนไข โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ลงทะเบียนฉีดไฟเซอร์ สำหรับเยาวชน 5-11 ปี

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ในเดือน พ.ค. นี้  โดยกำหนดนโยบายให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-site หรือ จัดการเรียนการสอนที่สถานศึกษาให้มากที่สุด และไม่นำเรื่องการฉีดวัคซีนมาเป็นเงื่อนไขในการมาเรียนของนักเรียน ขณะเดียวกันจะรณรงค์ให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล – ชั้น ปวส. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้มากที่สุด

 

ส่วนการดูแลนักเรียน เบื้องต้นอาจแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่มาโรงเรียนได้ ต้องเว้นระยะห่างในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • กลุ่มที่ไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ ให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การเรียนการสอนแบบ ON-LINE ผ่านอินเทอร์เน็ต และ ON-HAND สำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ ให้นำหนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้าน เป็นต้น
     

สำหรับ การเดินหน้าเปิดเทอมนั้น กระทรวงศึกษาธิการ เน้นเรียน On-Site ยึดมาตรการความปลอดภัย 6-6-7 เพื่อลดความเสี่ยงโควิดในสถานศึกษา ที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  ประกอบด้วย 

  • 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด และทำความสะอาด 
  • 6 มาตรการเสริม ดูแลตนเอง ใช้ช้อนกลางส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้าออกโรงเรียน สำรวจตรวจสอบ และกักกันตัวเอง
  • 7 แนวทางเข้มสำหรับสถานศึกษา มีดังนี้..
  1. ประเมิน TSC+ และรายงานผลผ่าน MOE COVID อย่างต่อเนื่อง
  2. Small Bubble ทำกิจกรรมแบบกลุ่มย่อย
  3. อาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ
  4. อนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ความสะอาด น้ำ ขยะ
  5. School Isolation มีแผนเผชิญเหตุและซักซ้อม
  6. Seal Route  ดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน
  7. School Pass สำหรับทุกคนในสถานศึกษาเพื่อไว้ตรวจสอบข้อมูลทางสาธารณสุข
     
logoline