เป็นอีกโครงการที่เชื่อว่า มีคนไทยจำนวนมากใจจดใจจ่อ หลังจากโครงการ คนละครึ่ง เฟส 5 มีแนวโน้มอาจเกิดขึ้น หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในโครงการที่ประชาชนตอบรับเป็นอย่างดี และตอนนี้ได้ให้แนวทางไปดูแล้ว แต่ปัญหาตอนนี้คือเรื่องของเงินที่จะเอามาใช้จากไหน เพราะโครงการนี้ก็ใช้เงินเยอะพอสมควร หรือนี่อาจจะเป็นเฟสสุดท้ายจบกันที่เฟส 4 ก็เป็นได้ หลังทางด้านนายอาคม ก็ไม่ได้ฟันธงว่า เฟส 5 จะเดินต่อหรือไม่
ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ออกมาระบุถึงเรื่องคนละครึ่ง เฟส 5 ต้องดูว่ามีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเป็นมาตรการที่ใช้งบประมาณสูง และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
โดยอาจเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะจากที่มีการหารือ นายกรัฐมนตรี ขอให้กระทรวงการคลังไปพิจารณาแหล่งเงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการที่มีความจำเป็นก่อน
แม้ว่า การดำเนินโครงการ คนละครึ่งเฟส 5 จะยังไม่คลอดออกมาอย่างเป็นทางการ แต่จากที่ผ่านมา หากดูเฉพาะการดำเนินโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 พบว่า มีการใช้เงินดำเนินโครงการที่ค่อนข้างสูง โดยใช้เงินจากพ.ร.ก.กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม วงเงิน 5 แสนล้านบาท เป็นจำนวนเงินมากถึง 34,800 ล้านบาท เพื่อเติมเงินให้คนละ 1,200 บาท
ขณะที่ กรอบวงเงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท พบว่า มีวงเงินดังนี้ (อัปเดตเมื่อ 11 เม.ย. 2565)
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การใช้จ่ายเงินกู้เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 1,356,520 ล้านบาท แยกเป็นการใช้จ่ายในกลุ่มต่าง ๆ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ 3 กลุ่ม ดังนี้
ตอนนี้ เรากู้เงินเยอะแล้ว เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งบางประเทศก็มีการกู้เงินมากกว่าไทย แต่ขณะนี้หลายประเทศเริ่มเข้าสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบปกติ คือ เน้นไปที่การลงทุน ในส่วนของไทยคือ การเร่งเบิกจ่ายงบลงทุน ถ้าจะกู้เพิ่มจะต้องดูเรื่องวินัยการเงินการคลัง แม้รายได้ของรัฐจะเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2564
ส่วนโครงการ “คนละครึ่งระยะที่ 5” นั้น ยังต้องพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ เนื่องจากเป็นมาตรการที่ใช้งบประมาณสูง และกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ขณะที่การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนก็มีการช่วยเหลือแล้ว
“ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ รายรับของประชาชนเริ่มกลับมา จึงควรจะลดมาตรการดังกล่าว และเข้าสู่การสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อทำให้ประชาชนกลับมามีรายได้เพิ่ม ซึ่งขณะนี้ก็ได้ผลักดันมาตรการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจแล้ว
ส่วนความคืบหน้าการใช้จ่ายภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท ขณะนี้ก็ยังกู้ไม่หมดเหลืออีกประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งการจะกู้ต้องดูในเรื่องของความจำเป็นในการใช้เงิน และจะเป็นการทยอยกู้ไม่ใช่กู้มารอไว้” นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว