svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ส่องคดี"ปริญญ์"... เริ่มส่งกลิ่นทะแม่ง?

คดี "ปริญญ์ พานิชภักดิ์" ล่วงละเมิดทางเพศ เริ่มมีกลิ่นทะแม่งๆ จากทางฝั่งที่ออกมาเปิดประเด็นกล่าวหาเอง โดยฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาและทีมทนายความยังปิดปากเงียบ ไร้ความเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น 

โดย "ข่าวข้นคนข่าว" จับสัญญาณเรื่องนี้จากความเคลื่อนไหวของทนายษิทรา เบี้ยบังเกิด ดังนี้

 

-ออกมาให้ข่าวว่าแม่ของเหยื่อสาวรายแรกวัย 18 ปี เริ่มติดต่อไม่ได้ ทั้งๆ ที่ตอนแรกมาขอให้ช่วยเอง

 

ส่องคดี\"ปริญญ์\"... เริ่มส่งกลิ่นทะแม่ง?

 

-ออกมาให้ข่าวต่อเนื่องว่ามีนายตำรวจยศ พันตำรวจเอก ไปเจรจากับเหยื่อบางราย 

 

-ต่อมามีการระบุว่า นายตำรวจคนนี้ยศ พลตำรวจตรี 

 

-อ้างว่ามีผู้ใหญ่ และหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง เตือนให้ระวังโดนพรรคโต้กลับ 

 

-กังวลว่าจะมีคนแฝงตัวมาเป็นผู้เสียหาย ทำให้ดูเป็นเกมการเมือง จนทำให้เหยื่อทั้งหมดดูเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมา

นี่คือตัวอย่างเชิงประจักษ์​ที่ทำให้เห็นปัญหา "ความอ่อนไหว" ของคดีล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งแม้จะมีการแก้ไขกฎหมายให้ยอมความไม่ได้ คือ เป็น "อาญาแผ่นดิน" และไม่จำกัดอายุความร้องทุกข์แค่ 3 เดือนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความยากในการพิสูจน์ความผิด 

 

โอกาสที่คดีจะพลิกผันมีไม่น้อย และทนายหลายคนที่ไม่ได้มีบทบาทในคดี ก็เคยออกมาเตือน โดยมีปัจจัย ดังนี้ 

 

ส่องคดี\"ปริญญ์\"... เริ่มส่งกลิ่นทะแม่ง?

 

1.บางคดีเกิดขึ้นนานแล้ว แม้จะไม่ขาดอายุความ แต่ก็ยากที่จะพิสูจน์ความผิด เพราะหลักฐานอื่นไม่มี โดยเฉพาะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ มีเฉพาะคำให้การของผู้เสียหาย กับผู้ต้องหา 

 

2.ที่มีการเปิดตัวผู้เสียหายจำนวนมาก และต่อเนื่อง รวมถึงเปิดคลิปเสียงที่อัดบทสนทนา คล้ายๆ จะล่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพ อาจไม่ส่งผลดีกับรูปคดีนัก เพราะจะถูกโต้กลับเรื่องการจงใจทำลายชื่อเสียง 

3.คำให้การของผู้ที่อ้างเป็นผู้เสียหายแต่ละราย หากนำมามัดรวมกันหมด อาจทำให้เกิดข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น การอ้างว่าใช้ห้องๆเดียวกัน ในการล่วงละเมิดทางเพศ แต่บางคนหลบหนีออกมาได้ บางคนอ้างว่าหลบหนีไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นรายละเอียดในคดีที่จะเสี่ยงถูก "ถามค้าน" จากทนายของฝั่งผู้ถูกกล่าวหา จนอาจกลายเป็นจุดอ่อนในการพิสูจน์ความผิด 

 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตในคดี เพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันเกาะติด และติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันคดีพลิกผัน ซึ่งข้อสังเกตเหล่านี้ไม่ใช่การ "ชี้ช่อง" ในคดี แต่เป็นข้อสังเกตที่นักกฎหมายและทนายหลายคน แสดงความเป็นห่วง