svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

03 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พรรคสร้างอนาคตไทย ที่มีนายอุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรค ประกาศอย่างเป็นทางการสนับสนุน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค

ชวนคอข่าวการเมืองไทย ร่วมเปิดโปรไฟล์ ร่วมทำความรู้จัก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี พรรคสร้างอนาคตไทย อดีตกุนซือด้านเศรษฐกิจหลายสมัย

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

จับตาการเมือง หลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ลาออกจากการเป็นประธานกลุ่มสหพัฒน์เรียบร้อยแล้ว คาดพรรคสร้างอนาคตไทย เตรียมเสนอให้ "สมคิด" ขึ้นเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค เตรียมจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้!!

โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้มาจากทางด้าน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊ก Suranand Vejjajiva วันนี้ ระบุว่า

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

 

 

“อาจารย์สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ลาออกจากการเป็นประธานกลุ่มสหพัฒน์แล้ว โปรดติดตามตอนต่อไป”

เปิดโปรไฟล์ 

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2496 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นได้ศึกษาต่อในด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ (Master of Business Administration : MBA) สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แล้วจึงตัดสินใจไปศึกษาต่อด้วยทุนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในระดับปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการตลาด ที่ J.L. Kellogg Graduate School Northwestern University สหรัฐอเมริกา

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

ด้านชีวิตครอบครัว: สมรสกับ ผศ.อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (ภิงคารวัฒน์-นามสกุลเดิม) มีบุตร 3 คน

ประวัติการทำงาน

  • กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
  • กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  • ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการในอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
  • นายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • รองประธานคณะกรรมการกลาง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

เส้นทางแวดวงการเมือง

  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร.ทนง พิทยะ) กระทรวงการคลัง
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) กระทรวงการต่างประเทศ
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) ทำเนียบรัฐบาล
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์) กระทรวงพาณิชย์
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2544 – 2545 รองนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2545 – 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2546 – 2547 รองนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

ดร.สมคิด ได้รับการยอมรับว่า เป็นนักคิดและนักกลยุทธ์อันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ก่อนก้าวสู่เส้นทางการเมืองในตำแหน่งขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ดร.สมคิด ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยจำนวนหนึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง

กระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น ภายหลังดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ดร.สมคิด ได้ขอลาออกเนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย 

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 พรรคไทยรักไทย ถูกตัดสินให้ยุบพรรคในคดีพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เป็นเหตุให้ ดร.สมคิด ต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เช่นเดียวกับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยในอดีต ที่มาด้วยกันในชื่อกลุ่ม 8ส + ส พิเศษ คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, สมศักดิ์ เทพสุทิน, สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, สิวิทย์ คุณกิตติ, สุวัจน์ ลิปตพัลลภ, สุรนันท์ เวชาชีวะ, สนทยา คุณปลื้ม, สรอรรถ กลิ่นประทุม และ ส พิเศษ คือ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

แม้จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง ดร.สมคิด ได้มีส่วนร่วมกับการก่อตั้ง พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา รับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของพรรค

ในปี พ.ศ. 2557 ดร.สมคิด ออกจากถนนการเมือง รับตำแหน่งบริหารในองค์กรธุรกิจเอกชนหลายแห่ง ภายหลังการทำรัฐประหารรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้แต่งตั้งให้ ดร.สมคิด เข้ารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจแก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางด้านแนวคิดและวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจกับ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

กระทั่ง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 พล.อ.ประยุทธ์ ได้ปรับครม.โดยให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

“ถ้าไม่มีอีอีซี จะเอาอะไรไปสู้กับเวียดนาม” เป็นหนึ่งประโยคเด็ดจากหลายประโยคไฮไลท์การชี้แจงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาของ ‘ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์’ รองนายกรัฐมนตรี ย้อนไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คัดลอกใจความที่น่าสนใจบางตอนที่ ดร.สมคิด ท่านเคยกล่าวไว้ โดยได้กล่าวถึงภาพรวมการลงทุนตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านบอกว่าภาพรวมการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาไม่ดีว่า 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“ผมเรียนท่านอย่างหนึ่งว่าการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่ของง่าย ท่านบอกว่าสิ่งสำคัญคือ 1. เรื่องนโยบาย 2. คนที่จะขับเคลื่อน แต่จริงๆ แล้วปัญหาเมืองไทยมากกว่าแค่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงโอกาสที่จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นก็ไม่ง่าย ตอนผมอยู่พรรรคไทยรักไทย 6 ปี ก็ไม่ใช่ของง่าย เพราะเข้ามาบริหารภายหลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เราใช้เวลา 4 ปีจาก 6 ปีที่ผมอยู่ตอนนั้น กว่าจะฟื้นฟูช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งมาได้ และรัฐบาลสมัยนั้นก็ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น แต่โอกาสในการขับเคลื่อนยากมาก เพราะว่าการขับเคลื่อนต้องมีนโยบายระยะยาว มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จึงจะยั่งยืนได้ แต่การเมืองระบบรัฐสภาของเราแป๊บเดียวก็เลือกตั้ง แป๊บเดียวรัฐบาลก็ล่ม ฉะนั้นนโยบายส่วนใหญ่จึงค่อนข้างจะเป็นระยะสั้น เพื่อเรียกร้องคะแนนนิยม โอกาสจะทำหลายสิ่งหลายอย่างยากมาก ฉะนั้นใน 6 ปีที่เสียไป ทำได้อย่างเก่งคือฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผมหายไป 10 ปี กลับมาอีกครั้งเพราะ นายกฯประยุทธ์ ให้มาช่วยเป็นที่ปรึกษาท่าน ผมก็เรียนกับท่านว่าเศรษฐกิจ (ขณะนั้น) ไม่ดี ถ้าเป็นชีพจรก็เต้นแผ่ว ไม่แผ่วได้ยังไง ในเมื่อยุคก่อนหน้าที่ คสช.จะเข้ามาบ้านเมืองจราจลวุ่นวาย ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ ความเสียหายมหาศาล เราไม่โทษใคร ถือว่าเป็นโชคร้ายของประเทศไทย หลังจากน้ำท่วมใหญ่ 1 ปี จีดีพีหล่นจาก 7.2% ลงมาเหลือแค่ 2.7 ลงมาเหลือแค่ 1 และติดลบ 0.4 ในไตรมาส 1 ปี 57 ก่อนที่ คสช.จะเข้ามา เงินเฟ้อต่ำกว่า 0 ความมั่นใจทั้งหลายไม่มีเหลือ นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยงเมืองไทยเพราะเกิดความไม่ปลอดภัย การส่งออกหดตัวเหลือ 3% บ้าง 2% บ้าง เป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่จะแก้กันได้ง่ายๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในเรื่องของการลงทุนมีน้อยมากเพราะว่าใครจะมาลงทุนในขณะนั้น ความปลอดภัยไม่มี เศรษฐกิจถดถอยสับสนวุ่นวายมาก ท่านลองนึกสภาพในวันนั้นว่าเมืองไทยมีอนาคตหรือไม่ ตัวเลขการลงทุนปีแรกที่ คสช.เข้ามามีเงินลงทุนเข้ามาขอแอพพลายแค่ 2 แสนล้าน วันนี้ล่าสุด 8.8 แสนล้านบาท ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเกือบ 3 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้ยืนยันกับบีโอไอได้เลย เป็นเงินที่เข้ามาลงทุนในอีอีซีเยอะมาก ฉะนั้นอีอีซีเป็นผลพวงให้เราดึงดูดนักลงทุนได้”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“ผมเจอนักลงทุนทุกวัน เขาถามคำเดียวว่านโยบายเปลี่ยนหรือไม่ รัฐบาลผสมทำงานร่วมกันได้หรือไม่ ผมก็ตอบไปว่าพวกคุณไม่เคยเห็นเมืองไทยมีรัฐบาลผสมหรือ เรามีรัฐบาลผสมมาตลอด แต่ก็มีกลไกการทำงานร่วมกัน ผมแนะนำท่านนายกฯ ไปแล้วว่าควรมี ครม.เศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนมานั่งหารือและไปทางเดียวกัน คู่แข่งเรามาแล้ว เวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ เรากินบุญเก่ามา 30 ปี แหลมฉบัง มาบตาพุด ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ถ้าไม่สร้างสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศมาเมืองไทยได้ จะดึงให้เขามาลงทุนในเมืองไทยได้ยังไง เรามีอะไรดีกว่าเวียดนาม เมียนมา ค่าแรงก็แพงกว่าเขา เทคโนโลยีก็ครึ่งๆกลางๆ ถ้าไม่ปฏิรูปประเทศไทยจะมีอะไรพัฒนาได้ ที่ซ้ำร้ายที่สุดคืออนาคตข้างหน้า สังคมเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน พฤติกรรมคนเปลี่ยน การผลิตเปลี่ยน การค้าเปลี่ยน ถ้าเราไม่เปลี่ยนตามสิ่งเหล่านี้ให้ทัน ท่านคิดว่าเราอยู่ได้ไหม อันนี้เป็นเรื่องหนักใจมากในบรรดาคนที่ทำงานอยู่ เราพยายามวางรากฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งเหล่านี้”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

 

 

 

 

 

 

 

อีกความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา  27 มิถุนายน 2565 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "88 ปี ธรรมศาสตร์กับสังคมไทย" เนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 88 ปี ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยนายสมคิด เป็นหนึ่งในผู้ได้รับเข็มเกียรติยศ ในฐานะศิษย์เก่า ที่สร้างชื่อเสียงนำพาประเทศขับเคลื่อนท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาสำคัญ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายสมคิด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สร้างตนมา ตนรู้สึกทราบซึ้งมาก อีกไม่กี่ปีจะอายุครบ 69 ปี 15 ปีที่เป็นอาจารย์ กว่า 20 ปีอยู่บนเส้นทางการเมือง และ 10 ปีในตำแหน่งในภาครัฐบาล ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความยาวนานพอสมควร เคยมีคนถามว่าทำไมถึงเลือกเดินทางสายการเมือง ตนตอบว่าไม่ได้เลือกเดิน แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่ชี้นำและผลักดันให้ชีวิตมาที่สายการเมือง โดยสิ่งที่ชี้นำ เป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากประสบการณ์เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยช่วงที่ตนเรียน เป็นช่วงที่มีความตื่นตัวสูงสุดทางการเมืองในมหาวิทยาลัย ทุกวันที่เดินเข้ามหาวิทยาลัย จะได้รับข่าวสารทางการเมือง ทั้งติดบนกำแพง ใบปลิว หรือกิจกรรมทางการเมืองและสังคมที่ออกมาในรูปแบบสัมมนา อภิปราย โดยมีภาคสังคมและประชาชนเข้ามาร่วมอยู่ตลอด ช่วงเวลานั้นจะเห็นนักศึกษาที่ตื่นตัวกับการเมือง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายสมคิด ย้ำว่า คนรุ่นใหม่ต้องการประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการเมือง ออกความเห็น สามารถถกปัญหาโดยที่ไม่มีความขัดแย้ง เป็นประชาธิปไตยของปวงชนจริงๆ ไม่ใช่เป็นประชาธิปไตยของคนบางกลุ่ม หรือบางครอบครัว ตนเคยถามลูกชายว่าพวกเขาต้องการแบบนี้ใช่หรือไม่ ลูกชายตอบว่า พวกเขาไม่ต้องการประชาธิปไตยที่เรียกว่า 4 วินาที หากไม่มีโอกาสแสดงออก ไม่มีโอกาสมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้นในปัญหาบ้านเมืองจะหายไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ให้โอกาสและแนะนำ เพราะอนาคตเป็นของพวกเขา ไม่ใช่พวกเรา พวกเรานี่เหลืออีกไม่นาน แต่พวกเขายังอีกยาวไกล ถ้าเราไม่ฟังความเห็นเขา เราจะฟังความเห็นใคร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายสมคิด มองว่า ปัญหาที่กำลังเผชิญนั้น รุนแรงทุกมิติ ทั้งความไม่เท่าเทียม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเน้นเฉพาะเรื่องการเมืองอย่างเดียวนั้นไม่ได้สร้างอนาคตที่ดีไปกว่านี้ ยกตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจ ไม่นานมานี้ เพียงปีเดียว เฉพาะปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจ ความสามารถในการประเทศไทยตกลงมา 13 จุด ประสิทธิภาพรัฐบาล เรื่องการแข่งขัน ตกลงมา 11 จุด เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก และภายใน 4-5 ปีข้างหน้า หากไม่ได้รับแก้ไขเมืองไทยจะลำบากอย่างแน่นอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ ในมุมของเศรษฐกิจโลก ทุกคนทราบดีว่าพายุลูกใหญ่กำลังจะมาเมืองไทย ลำบากอย่างแน่นอน หากไม่เร่งขับเคลื่อนความเข้มแข็งภายในประเทศ แรงส่งทางเศรษฐกิจจะหายไป วันนี้รากหญ้า ลำบากเลือดตาแทบกระเด็น วันข้างหน้าจะลำบากมากกว่านี้ ดังนั้น การเอาใจใส่เรื่องนี้ต้องมี นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหญ่ที่มากกว่านี้ เช่น ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจในประเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายสมคิด กล่าวด้วยว่า หากต้องรอให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยแก้ไข เป็นไปได้ยากมาก เพราะมีข้อจำกัดเยอะ จะมานั่งรอไม่ได้ เพราะบริบทการเมืองไทยเป็น มองว่าสถาบันการศึกษา จะไม่สามารถแยกเรื่องการเมืองได้ เพราะสถาบันการศึกษาเป็นที่รวมศูนย์ของปัญญา เพื่อรองรับปัญหา นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยยังเป็นแหล่งผลิตบุคลากร เพื่อทำงานเอาตัวรอดเท่านั้น แต่เป็นจุดเกิดที่ผลิตบุคลากรในการช่วยขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ การเมือง นอกจากหาเลี้ยงครอบครัว หากถามว่าอนาคตข้างหน้าบทบาทของธรรมศาสตร์เป็นอย่างไรนั้น มองว่า เป็นแหล่งปัญญา ผลิตบุคลากร ผลิตนักศึกษา เพื่อการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า อนาคตใหม่ของการเมืองไทย จะก้าวเดินไปเช่นไร คอข่าวต้องห้ามกระพริบตา

 

 

 

 

 

 

 

เพราะต่อจากนี้ การเมืองไทย คงจะร้อนแรงและทวีความเข้มข้นมากขึ้นทุกๆวินาที...อย่างแน่นอน แว่วๆ เริ่มมีการพูดถึงวันเลือกตั้งในช่วงมีนาคม ปีหน้า คงต้องจับตาการเมืองไทยกันทุกขณะ นับจากวินาทีเป็นต้นไป!! 

 

 

 

 

 

 

 

เปิดโปรไฟล์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แคนดิเดตเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

 

 

 

 

 

 

 

ขอขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย / กองบรรณาธิการข่าวการเมือง เนชั่นทีวี 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

logoline