ประกาศเตือนภาคใต้ 8 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก
กอนช. แจ้งเตือนภัย 8 จังหวัดภาคใต้ ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก 5-8 เม.ย.นี้ หลังฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง แจ้งเตือนการเตรียมพร้อมในการอพยพ
4 เมษายน 2565 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงนามในประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก มีเนื้อหาดังนี้
ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศแจ้งเตือนฉบับที่ 7/2565 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 2 – 4 เมษายน 2565 บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
จากการติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 4 - 7 เมษายน 2565 พบว่าอิทธิพลของลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
“รถถัง vs ทาเครุ” พร้อมประจันหน้าศึก ONE 165 ที่ญี่ปุ่น 28 ม.ค.67
"สว.อนุพร" แนะทุกภาคส่วนให้ข้อเท็จจริงถูกต้อง เป็นประโยชน์ คกก.สรรหา-วุฒิสภา
สรุปให้แล้ว ไวรัลดัง "คิดถึงแฟนจัง..." ปมไอโอ ตามเมนต์เชียร์พลังนุ่มนิ่ม
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ประกอบกับปัจจุบันในพื้นที่ภาคใต้ มีฝนตกหนักสะสม 3 วัน มากกว่า 150 มิลลิเมตร ในหลายพื้นที่ จึงขอเน้นย้ำให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากบริเวณ 8 จังหวัด ในช่วงวันที่ 5 – 8 เมษายน 2565 ดังนี้
- จังหวัดชุมพร
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- จังหวัดนครศรีธรรมราช
- จังหวัดพัทลุง
- จังหวัดสงขลา
- จังหวัดปัตตานี
- จังหวัดยะลา
- จังหวัดนราธิวาส
MEA แจ้งปิดทำการเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ร.9
เตือน ภาคใต้ฝั่งตะวันออกอ่วม ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
- ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ
- ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาความเหมาะสมในการระบายน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำให้สอดคล้องกับการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล
- เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
- ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์