svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เช็กเลย ผู้ป่วยโควิดสีเขียว “เจอ แจก จบ” ในกทม. มีขั้นตอนอย่างไรกันบ้าง

26 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เตรียมคำตอบไว้ให้คุณตรงนี้ สำหรับผู้ป่วยโควิดสีเขียว ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถประสานเข้ารับบริการ "เจอ แจก จบ" ใน 69 ศูนย์บริการสาธารณสุข เช็กขั้นตอนต่างๆ กันตรงนี้ให้รอบคอบ ก่อนไปเข้ารับบริการจริง สอบถามจุดบริการได้ตามหมายเลขที่แจ้งไว้ตรงนี้

ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ระบุว่า เจอ แจก จบ มีคนป่วย เข้ารับบริการเกือบ 7 แสน บุคลการการแพทย์พอใจอย่างมาก หลังพบลด ภาระงานที่ไม่จำเป็น พร้อมเตรียมขยายบริการเพิ่มในทั่วประเทศ

 

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สำหรับการรักษาผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน หรือ ‘เจอ แจก จบ’ ตั้งแต่วันที่ 1-24 มี.ค. มีผู้ป่วยเข้ารับบริการสะสม 6.5 แสนราย เฉลี่ยวันละ 2.7 หมื่นราย โดยในกรุงเทพ มีบริการผู้ป่วยวันละ 1 หมื่นราย ยอดบริการสะสม 6.5 หมื่นราย หรือวันละ 2.8 พันราย มีสถานพยาบาลเข้าร่วม 901 แห่ง ให้บริการวันละ 1 แสนรายทั่วประเทศ

 

มีความคืบหน้า สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรงมากนัก จัดอยู่ใน “กลุ่มผู้ป่วยโควิดสีเขียว” สามารถเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ หรือสามารถวอล์ค อิน  Walk in มาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ โดยศูนย์ฯทั้งหมดได้ให้บริการ “เจอ แจก จบ” สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.  

 

สำหรับขั้นตอนของผู้ติดเชื้อโควิด -19 ติดต่อที่ศูนย์ฯ 69 แห่ง มีรายละเอียดดังนี้


1.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมแสดงผลตรวจ ATK ที่เป็นบวก 


2.สามารถรับการรักษาได้ที่จุดบริการ โดยพยาบาลจะสอบถามข้อมูลเพื่อคัดกรองอาการและความเสี่ยงเบื้องต้น 


3.หลังจากนั้นแพทย์ให้การรักษา จัดยา พร้อมให้คำแนะนำ


4.เมื่อครบ 48 ชั่วโมงจะมีเจ้าหน้าที่สอบถามอาการ หากมีอาการเปลี่ยนแปลงจะส่งต่อเข้ารับการรักษาตามขั้นตอนต่อไป

แนะนำวิธีการใช้สิทธิ 


1. สิทธิบัตรทอง  ไปหน่วยบริการตามสิทธิก่อนหรือหน่วยบริการในระบบสปสช.ใกล้บ้านได้ทุกแห่ง ตามนโยบายยกระดับบัตรทอง สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ 

 

ตัวอย่าง หน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านไปรับบริการได้ทุกแห่ง เช่น สถานีอนามัย,รพ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น

 

2. สิทธิประกันสังคม  ไปโรงพยาบาลที่ท่านได้ลงทะเบียนเลือกไว้ หรือสถานพยาบาลรัฐและเอกชนในระบบประกันสังคมทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน 1506/ประกันสังคมเขตพื้นที่ 

 

3. สิทธิข้าราชการ   ไปสถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนกรมบัญชีกลาง ที่ หมายเลข 02-2706400

 

4.ชาวต่างชาติ/สิทธิอื่น แนะนำเจอ แจกจบ หรือติดต่อสถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน

 

เช็กเลย ผู้ป่วยโควิดสีเขียว “เจอ แจก จบ” ในกทม. มีขั้นตอนอย่างไรกันบ้าง

ตรวจสอบรายชื่อศูนย์บริการสาธารณสุข ที่ตั้ง และเบอร์ติดต่อ (คลิกที่นี่)  

 

ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 สะพานมอญ  

  • 02-222-7874

ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน    

  • 02-251-7735-37

ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ      

  • 02-587-0618

ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง     

  • 02-246-1553

ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์    

  • 02-214-1057

ศูนย์บริการสาธารณสุข 6 สโมสรวัฒนธรรมหญิง

  • 02-282 8493,02-282-0048

ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมีปุรุราชรังสรรค์

  •  02-284 3427

ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 บุญรอด รุ่งเรือง

  • 02-361-6760-2 ต่อ 304

ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย  

  • 02-282-8494

ศูนย์บริการสาธารณสุข 10 สุขุมวิท    

  • 02-259-2523

ศูนย์บริการสาธารณสุข 11 ประดิพัทธ์    

  • 02-271-1122

ศูนย์บริการสาธารณสุข 12 จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ

  • 02-291 7637-8

ศูนย์บริการสาธารณสุข 13 ไมตรีวานิช    

  • 02-222-7875

ศูนย์บริการสาธารณสุข 14 แก้ว ศรีบุญเรือง 

  • 02-211-2353

ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ลาดพร้าว

  • 02-541-8380

ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี        

  • 02-258-4892

ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 ประชานิเวศน์

  • 02-589-5768

ศูนย์บริการสาธารณสุข 18 มงคล-วอน วังตาล  

  • 02-211-0860

ศูนย์บริการสาธารณสุข 19 วงศ์สว่าง    

  • 02-910- 7314-15

ศูนย์บริการสาธารณสุข 20 บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย    

  • 02-223-0004

ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง  

  • 02-391-6082-88

ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ  

  • 02-321-2683, 02-321-8813

ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา

  • 02-236-4055

ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน  

  •  02-599-9607

ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 ห้วยขวาง 

  •  02-276-3904

ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์     

  •   02-465-0014

ศูนย์บริการสาธารณสุข 27 จันทร์ ฉิมไพบูลย์  

  •  02-465-1000

ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี  

  • 02-437-2009

ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร    

  • 02-476-6629

ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 วัดเจ้าอาม  

  •  02-423-0234

ศูนย์บริการสาธารณสุข 31 เอิบ-จิตร ทังสุบุตร    

  • 02-434-7303-5

ศูนย์บริการสาธารณสุข 32 มาริษ ตินตมุสิก  

  • 02-331-9114

ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม

  • 02-472-5895

ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี    

  • 02-331-9438

ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก  

  •  02-375-3550

ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 บุคคโล  

  •  02-468-2597

ศูนย์บริการสาธารณสุข 37 ประสงค์-สุดสาคร ตู้จินดา

  • 02-362-5238-40

ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 จี๊ด-ทองคำ บำเพ็ญ  

  •  02-241-8378 

ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ  

  •  02-427-7949

ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค    

  • 02-421-2147-9

ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย

  •  02-240-2056

ศูนย์บริการสาธารณสุข 42 ถนอม ทองสิมา 

  •  02-416-8318

ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี  

  •  02-540-5615-6

ศูนย์บริการสาธารณสุข 44 ลำผักชี หนองจอก  

  •  02-988-1633

ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า        

  • 02-543-0746

ศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ

  • 02-329-0320

ศูนย์บริการสาธารณสุข 47 คลองขวาง     

  •  02-410-1810

ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ

  • 02-421-2147-9

ศูนย์บริการสาธารณสุข 49 วัดชัยพฤกษมาลา 

  • 02-424-9410

ศูนย์บริการสาธารณสุข 50 บึงกุ่ม  

  • 02-375-2897

ศูนย์บริการสาธารณสุข 51 วัดไผ่ตัน

  • 02-270-1985

ศูนย์บริการสาธารณสุข 52 สามเสนนอก

  • 02-276-5996

ศูนย์บริการสาธารณสุข 53 ทุ่งสองห้อง 

  •  02-575-2650-2

ศูนย์บริการสาธารณสุข 54 ทัศน์เอี่ยม  

  •  02-426-3514

ศูนย์บริการสาธารณสุข 55 เตชะสัมพันธ์        

  • 02-294-3247

ศูนย์บริการสาธารณสุข 56 ทับเจริญ    

  • 02-184-2693

ศูนย์บริการสาธารณสุข 57 บุญเรือง ล้ำเลิศ 

  •  02-361-4053

ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม

  •  02-427-7512

ศูนย์บริการสาธารณสุข 59 ทุ่งครุ    

  •   02-464-3057

ศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร

  • 02-565-5257

ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 สังวาลย์ ทัสนารมย์

  •  02-536-0163

ศูนย์บริการสาธารณสุข 62 ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี ฐานปัญญา  

  •  02-455-5804    

ศูนย์บริการสาธารณสุข 63 สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย

  • 02-675-9945-6

ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา   

  •  02-548-0495-8 ต่อ 22

ศูนย์บริการสาธารณสุข 65 รักษาศุข บางบอน  

  •  02-453-0526    

ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4  

  •  02-539-4828,02-570-5593    

ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา    

  • 02-441-4680-4

ศูนย์บริการสาธารณสุข 68 สะพานสูง  

  •  02-372-2225-7

ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 คันนายาว  

  • 02-379-8911-13

 

เช็กเลย ผู้ป่วยโควิดสีเขียว “เจอ แจก จบ” ในกทม. มีขั้นตอนอย่างไรกันบ้าง

 

Home Isolation เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มไม่มีอาการ หรืออยู่ในผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถทำ Home Isolation ได้

Home Isolation หรือ การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้    ผู้ป่วยที่กำลังรอ Admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้  ผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันแล้ว และแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้  

 

โดยผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation ได้นั้น  1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases) 2. มีอายุน้อยกว่า 60 ปี 3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 4. ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตัวเอง 5. อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน 6. ต้องไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย>30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว>90 กก.) 7. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD), โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะที่ 3,4),โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์   สถานที่ ถ้าบ้านมีพื้นที่เพียงพอ ก็ให้ผู้ป่วยแยกไปอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัวแยกภาชนะของใช้ส่วนตัวส่วนเวลาทานข้าวให้เอามาวางไว้ให้ตรงหน้าห้องแล้วไลน์บอก เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเองเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือถ้าเป็นข้าวกล่องได้ก็จะดีมาก เพราะถ้าหยิบจานมาล้างอาจเสี่ยงสัมผัสเชื้อได้ หรือถ้าที่อยู่อาศัยเป็นคอนโด ห้องเช่า แฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และคนอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว

เช็กเลย ผู้ป่วยโควิดสีเขียว “เจอ แจก จบ” ในกทม. มีขั้นตอนอย่างไรกันบ้าง

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation  

 

แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ห้ามออกจากที่พัก และห้ามใครมาเยี่ยมที่บ้าน ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่สัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ ห้ามทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น และแยกทิ้งขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น     ของที่ต้องใช้ อุปกรณ์สำคัญที่ควรมีติดตัวไว้เพื่อช่วยในการประเมินอาการเบื้องต้น คือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อบันทึกในแต่ละวัน อีกอันคือเครื่องบอกระดับออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว ตัวนี้จะเป็นตัวประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดเราว่ายังไหวมั้ย ปกติเลขควรอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าเลขแตะ 94% หรือต่ำกว่าให้เฝ้าระวังทันที เพราะมีแนวโน้มที่โควิดจะลงปอดแล้วซึ่งขณะพักอยู่ที่บ้านจะมีเจ้าหน้าที่และคุณหมอคอยมอนิเตอร์ผ่านเทเลเมดตลอดเวลา ถ้าอาการแย่ลงจะมีรถโรงพยาบาลไปรับและนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ Home Isolation   

อาหารสามมื้อและการติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา อุปกรณ์ประเมินอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น คืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด  ประเมินอาการผ่านระบบเทเลเมด หรือ การนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-timeโดยแพทย์และพยาบาลทุกวัน การให้ยากับผู้ป่วยในแต่ละวัน ประเมินตามอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงให้แจ้งทีมแพทย์ และรีบนำส่งโรงพยาบาล สิ่งสำคัญ คือต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย มีไข้สูง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ ทางโรงพยาบาลจะมีรถไปรับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือหากจำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพิ่มการระบายอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย

 



เช็กเลย ผู้ป่วยโควิดสีเขียว “เจอ แจก จบ” ในกทม. มีขั้นตอนอย่างไรกันบ้าง

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


 

logoline