svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯชี้"ชาติตะวันตก"คือผู้รับผิดชอบวิกฤตยูเครน

24 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จอห์น เจ. เมียร์ไชเมอร์ ศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโกของสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่ากลุ่มประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ คือผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่สำหรับวิกฤตยูเครน เหตุเมินเฉยข้อวิตกกังวลด้านความมั่นคงของรัสเซีย

โดยสำนักข่าวซินหัวเผยแพร่บทความคิดเห็นของ เมียร์ไชเมอร์ ในนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ (The Economist) ระบุว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ และยุโรปกระตุ้นวิกฤตยูเครนด้วยความพยายามผนวกยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับตะวันตก และอ้างว่าวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ต้องรับผิดชอบวิกฤตดังกล่าวอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด


เมียร์ไชเมอร์มองว่าวิกฤตยูเครนเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่อันตรายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตขีปนาวุธคิวบา ปี 1962 โดยปัจจุบันกลุ่มประเทศตะวันตกกำลังเพิ่มความช่วยเหลือให้ยูเครน ขณะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปูตินมองว่า “คล้ายกับการประกาศสงคราม”


การเข้าใจต้นเหตุเป็นสิ่งสำคัญในการหาวิธียุติวิกฤต โดยปัญหาเกี่ยวกับยูเครนนั้นเริ่มจากคณะบริหารของจอร์จ ดับเบิลยู บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผลักดันประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ให้ประกาศว่ายูเครนและจอร์เจีย “จะกลายเป็นสมาชิกใหม่” ในที่ประชุมสุดยอดบูคาเรสต์ ปี 2008

(แฟ้มภาพซินหัว : นักดับเพลิงปฏิบัติงานในอาคารที่พังเสียหายในเมืองคาร์คิฟของยูเครน วันที่ 13 มี.ค. 2022)

เมียร์ไชเมอร์ระบุว่าเมื่อช่วงปลายปี 2021 กลุ่มประเทศตะวันตกเมินเฉยข้อวิตกกังวลด้านความมั่นคงของรัสเซีย โดยมีเจตนาจะรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกองค์การฯ ซึ่งนำไปสู่สงครามที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน


นอกจากนั้นเมียร์ไชเมอร์ชี้ว่าเหล่าผู้กำหนดนโยบายของรัสเซียระบุว่า “แทบไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการยึดครองดินแดนใหม่เพื่อฟื้นสหภาพโซเวียต หรือสร้างรัสเซียให้ยิ่งใหญ่ขึ้น” โดยคณะผู้นำรัสเซียกล่าวซ้ำหลายครั้งว่าพวกเขามองว่าการเข้าร่วมองค์การฯ ของยูเครนถือเป็น “ภัยคุกคามที่ต้องถูกป้องกัน”


เมียร์ไชเมอร์ทิ้งท้ายว่าเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กล่าวเมื่อเดือนมกราคมว่าหัวใจหลักของทุกสิ่งคือการรับประกันว่าองค์การฯ จะไม่ขยายอิทธิพลมาทางตะวันออกของยุโรป

logoline