svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หลวงพ่อเย็น" มรณภาพ เงิน 10 ล้านบาท ต้องตกเป็นของใคร วัดหรือทายาทลูกหลาน ??

22 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กางข้อกฎหมายชัดๆ ทรัพย์สินพระสงฆ์ เมื่อมรณภาพแล้วต้องตกเป็นของใคร กรณี “หลวงพ่อเย็น” เจ้าอาวาสวัดป่าทรงธรรม ทิ้งเงินไว้กว่า 10 ล้านบาท

จากกรณี "หลวงพ่อเย็น" หรือพระครูสีตะจิตธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าทรงธรรม หมู่ 1 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ได้มรณะภาพ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.65 สิริอายุ 81 ปี ซึ่งภายหลังมรณะภาพ ได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพไป เมื่อวันที่ 6 ก.พ.65 กระทั่งช่วงสายของวันที่ 20 มี.ค.65 บรรดาญาติของหลวงพ่อเย็น เปิด "กรุสมบัติ" นำโดยนายเอกชัย นฤทัย อายุ 54 ปี หลานชายพร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านท่าตูม ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ พระลูกวัดที่จำวัดอยู่ที่วัดป่าทรงธรรม ได้รวมตัวกันเปิดกุฏิเจ้าอาวาส เพื่อหาเอกสาร กระทั่งพบเงินสดทั้งเก่าและใหม่จำนวน 10,661,150 บาท (สิบล้านหกแสนหกหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาท ) พร้อมด้วยทรัพย์สินอีกจำนวนหนึ่ง ก่อนที่รักษาการเจ้าอาวาสจะตั้งกรรมการตรวจนับขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งญาติเชื่อว่าอาจจะมีมากถึง 40 ล้านบาท 

 

"หลวงพ่อเย็น" มรณภาพ เงิน 10 ล้านบาท ต้องตกเป็นของใคร วัดหรือทายาทลูกหลาน ??

 

ภายหลังเรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกสู่สังคม มีคำถามตามมามากมาย หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น เงินจำนวนดังกล่าวต้องตกเป็นของใคร ระหว่างวัดป่าทรงธรรม หรือทายาทของพระสงฆ์ที่มรณภาพ 

 

"หลวงพ่อเย็น" มรณภาพ เงิน 10 ล้านบาท ต้องตกเป็นของใคร วัดหรือทายาทลูกหลาน ??

เพจทนายคู่ใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระสงฆ์ ไว้อย่างน่าสนใจ โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุว่า

 

มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิต หรือโดยพินัยกรรม

 

มาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สิน นั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือ บุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

 

"หลวงพ่อเย็น" มรณภาพ เงิน 10 ล้านบาท ต้องตกเป็นของใคร วัดหรือทายาทลูกหลาน ??

คำพิพากษาศาลฎีกา 1265/2495

 

พระภิกษุถึงมรณภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่ โดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกได้แก่วัดที่พระภิกษุนั้นอยู่ แม้ทายาทจะครอบครองที่ดินมรดกของพระภิกษุนั้นเกิน 10 ปีนับแต่วันมรณภาพทายาทนั้นก็จะเอาที่ดินมรดกนั้นไม่ได้ เพราะที่ดินมรดกนั้นเป็นของวัด จะใช้อายุความ 10 ปียันวัดให้เสียสิทธิหาได้ไม่

 

คำพิพากษาศาลฎีกา 1064/2532

 

บิดามารดายกที่นาให้แก่พระภิกษุ ข. ภายหลังที่พระภิกษุ ข.บวชเป็นพระภิกษุเมื่อพระภิกษุ ข. ขายที่นาแปลงดังกล่าวและนำเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคาร เงินที่นำไปฝากธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศเมื่อพระภิกษุ ข. ถึงแก่มรณภาพเงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ข.

 

ดังนั้น หากจะสรุปชัดๆ ให้กระชับเข้าใจง่าย ทรัพย์สินของพระภิกษุเมื่อมรณภาพ แบ่งเป็น 2 กรณี

 

1.ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนอุปสมบท เมื่อท่านมรณภาพทรัพย์สินนี้จะตกสู่ทายาทโดยธรรม

2.ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างอุปสมบท เมื่อท่านมรณภาพทรัพย์สินนี้จะตกอยู่แก่วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุรูปนั้นๆ เว้นแต่จะทำพินัยกรรมหรือได้จำหน่ายในขณะที่มีชีวิต

 

"หลวงพ่อเย็น" มรณภาพ เงิน 10 ล้านบาท ต้องตกเป็นของใคร วัดหรือทายาทลูกหลาน ??

 

 

 

"หลวงพ่อเย็น" มรณภาพ เงิน 10 ล้านบาท ต้องตกเป็นของใคร วัดหรือทายาทลูกหลาน ??

logoline