svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ลวงเหยื่อดิจิทัล แพลตฟอร์มลอยตัว? ไร้ภูมิคุ้มกัน!

19 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร สะท้อนเหตุ ฆ่าตัวตาย นักเรียนมัธยม "สารภี" ชี้ สังคมออนไลน์ เป็นทั้งคุณและโทษ เปลี่ยนแพลตฟอร์มสู่ยุคดิจิทัล ที่มีพัฒนาการ แต่การเสพสื่อของผู้คนกลับขาดภูมิคุ้มกัน //

กรณีนักเรียนชายชั้น ม.5 อายุเพียง 17 ปี ต้องมาจบชีวิตด้วยการยิงตัวเอง โดยเชื่อว่ามีแรงจูงใจมาจากการถูกข่มขู่ให้ผู้เสียชีวิตโอนเงินให้กับคนร้าย แลกกับการไม่นำคลิปวิดีโอลับของผู้เสียชีวิตไปเผยแพร่ จนกระทั่งเป็นสาเหตุให้ผู้เสียชีวิตคิดสั้นนั้น

 

อาจารย์ พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร บอกกับ “เนชั่นทีวี” ว่า เหตุสลดที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการแบล็คเมล์ซึ่งเคยอยู่ในรูปของจดหมาย โทรศัพท์ เปลี่ยนเป็นมาใช้แอปพลิเคชั่นในโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ แสดงให้เห็นว่าการแบล็กเมล์ยังเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย แต่ใช้เครื่องมือในรูปแบบที่เปลี่ยนไป

 

การเสียชีวิต เด็กมัธยม สารภี จ.เชียงใหม่ หลังตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวงในสื่อดิจิทัล

สำหรับกรณีของนักเรียนชาย ม.5 ผู้ก่อเหตุใช้ขั้นตอนของการแบล็กเมล์ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 

 

1. ปลอมตัวตนในโซเชียลมีเดีย (Social Media Masquerade) เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อว่าผู้ที่ติดต่อด้วยคือผู้หญิง เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการหลอกล่อลำดับถัดไป

 

2. ใช้กลอุบายหลอกล่อให้เกิดกิจกรรมทางเพศกับตัวตนปลอม จนถึงขั้นให้ผู้ตายสำเร็จความใคร่และบันทึกภาพเอาไว้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการโน้มน้าวให้เหยื่อหลงเชื่อชักชวนให้เหยื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งจนเหยื่อตายใจและตกหลุมพรางในที่สุด

 

3. เป็นขั้นตอนของการแบล็คเมล์ซึ่งผู้ก่อเหตุจะใช้วิธีโทรศัพท์ข่มขู่เพื่อที่จะเปิดเผยข้อมูลลับของเหยื่อที่บันทึกไว้เพื่อให้เกิดความอับอาย วิธีการนี้มักเรียกกันว่า Doxing ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นการเปิดเผยชื่อบุคคล ที่อยู่ สถานะทางการเงิน รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ของเหยื่อสู่สาธารณะ ซึ่งในกรณีนี้คือข้อมูลภาพของเหยื่อที่ได้มีการบันทึกไว้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายหรือความอับอายให้กับเหยื่อ

 

การเสียชีวิต เด็กมัธยม สารภี จ.เชียงใหม่ หลังตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวงในสื่อดิจิทัล

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า โซเชียลมีเดีย หรือ สื่อสังคมออนไลน์นั้น นอกจากจะแทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของผู้คนในเชิงเป็นคุณประโยชน์แล้ว ยังสร้างความทุกข์อย่างแสนหาหัสแก่คนบางคนจนไม่สามารถหาทางออกได้ และต้องจบชีวิตในที่สุด

การเสียชีวิต เด็กมัธยม สารภี จ.เชียงใหม่ หลังตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวงในสื่อดิจิทัล

 

อาจารย์พันธ์ศักดิ์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมักลอยตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้แพลตฟอร์มของตน 

 

เมื่อโซเชียลมีเดีย เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน  ผู้คนทั่วโลกต่างใช้โซเชียลมีเดียในลักษณะตามบุญตามกรรม  ปราศจากการชี้แนะ จนสร้างปัญหามากมาย ไม่มีใครหยุดยั้งได้ เปรียบเหมือนผู้คนทั้งโลกขับรถโดยไม่มีใบขับขี่หรือขาดกติกามารยาทที่ชัดเจน  แต่ยอมรับเงื่อนไขของเจ้าของแพลตฟอร์ม ด้วยการลงทะเบียนใช้งานได้อย่างอิสระ และเจ้าของแพลตฟอร์มแทบไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของนักเรียนชาย ม.5 ที่เสียชีวิต 

 

ทั้งๆ ที่แพลตฟอร์มต่างๆ ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง (Fact checking facility)  ของ Content แต่ก็มักไม่ได้ผลอย่างสมบูรณ์ และไม่ครอบคลุมในแง่มุมอื่น โดยเฉพาะการตรวจสอบการปลอมแปลงตัวบุคคล ในกรณีการปลอมตัวจากเพศชายเป็นหญิงซึ่งยังไม่สามารถตรวจสอบได้ และไม่มีใครรับประกันว่าจะสามารถกระทำได้มากน้อยเพียงใด

 

ฉะนั้น พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต หรือ Social web นอกจากจะทำให้ทุกคนมีพลังในการส่งเสียงให้คนทั้งโลกได้ยินแล้ว ยังสามารถทำร้ายได้ใครต่อใครได้อย่างง่ายดาย หากผู้นั้นไร้ภูมิคุ้มกันหรือรู้ไม่เท่าทันต่อบุคคลอื่นที่ใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการหาประโยชน์ในทางมิชอบแก่ตัวเอง ถือเป็นบทเรียนของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องหาทางระวังป้องกันกันเอง

ลวงเหยื่อดิจิทัล แพลตฟอร์มลอยตัว? ไร้ภูมิคุ้มกัน!

logoline