svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เกาะติดโอมิครอน BA.2.2 มีความรุนแรงขนาดไหน หลังล่าสุดพบติดเชื้อในไทย 4 ราย

16 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดข้อมูลเบื้องลึก วายร้ายโควิดโอมิครอน BA.2.2 จับตาความรุนแรง ระยะฟักตัวกี่วัน แพร่เชื้อได้รวดเร็วขนาดไหน เจอในไทยแล้ว 4 ราย หลังยอดดับในฮ่องกงขยับพุ่งสูง

จากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนพุ่งสูง ที่น่าสนใจในขณะนี้ส่วนใหญ่พบว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอน หรือ โอไมครอนเกือบ 100%

 

โดยวงการแพทย์เผย โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ ที่พบคือ โอมิครอน BA.2.2 (B.1.1.529.2.2) มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จาก "ฮ่องกง"

ล่าสุดทางด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า ขณะนี้ ประเทศไทย ได้ตรวจพบกลุ่มตัวอย่างเข้าข่ายติดเชื้อโควิด "โอมิครอน" สายพันธุ์ย่อย "BA.2.2" จำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ 1 ราย และคนไทย 3 ราย ทั้งหมด อาการไม่รุนแรง และตอนนี้หายป่วยแล้ว

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ทำให้ขณะนี้ เกิดกระแสความวิตกกังวลใจว่า โควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ "BA.2.2" ซึ่งระบาดในหลายประเทศ รวมถึงที่กำลังแพร่ระบาดในฮ่องกง อาจเป็นภัยร้าย หรือวายร้ายตัวใหม่ในอนาคตหรือไม่

เกาะติดโอมิครอน BA.2.2 มีความรุนแรงขนาดไหน หลังล่าสุดพบติดเชื้อในไทย 4 ราย

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.2 มีการกลายพันธ์ที่ตำแหน่งสไปก์โปรตีน I1221T โดยพบหลัก ๆ ในฮ่องกง การระบาดระลอกใหม่นี้ ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน

ทั้งนี้ อ้างอิงจากข้อมูลของทาง GISAID ที่เป็นฐานข้อมูลเชื้อก่อโรคโควิด-19 ของโลก พบว่า ณ วันที่ 13 มีนาคม 2565 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ยังเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดหลักทั่วโลก ส่วน BA.2 ขณะนี้มีรายงานสายพันธุ์ย่อยแล้ว 3 สายพันธุ์

 

 

BA.2.1 จำนวน 532 ราย

• BA.2.2 จำนวน 68 ราย

• BA.2.3 จำนวน 1,938 ราย 

 

เกาะติดโอมิครอน BA.2.2 มีความรุนแรงขนาดไหน หลังล่าสุดพบติดเชื้อในไทย 4 ราย

ปัจจุบัน เจ้าวายร้ายโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 ในฮ่องกง พบแล้ว 386 ราย ในอังกฤษ 289 ราย และล่าสุดทำให้ตกใจมากกับยอดที่พบล่าสุด ในประเทศไทยจำนวน  4 ราย

 

ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่มาจากคนละสาย จำเป็นจะต้องมีการติดตามต่อไป ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้น ณ วันที่ 13 มี.ค. 2565 ใน 4 เรื่อง ดังนี้

• ระยะฟักตัวและระยะเวลากักตัว เนื่องจากไม่มีข้อมูลแต่การกลายพันธุ์นี้ไม่ควรส่งผลต่อการฟักตัวหรือระยะแพร่เชื้อของสายพันธุ์นี้

• ผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่มีข้อมูลว่ามีผลให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลง หรือหลีกหนีวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอไมครอนอื่นๆ

• ความรุนแรงของโรค ไม่มีข้อมูลว่าอัตราป่วยและอัตราเสียชีวิตสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ไม่มีข้อมูลทางระบาดวิทยามาสนับสนุนว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโอมิครอนที่มีการกลายพันธ์ สไปก์โปรตีน I1221T มีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์โอไมครอนอื่นๆ

• ความสามารถในการแพร่ (transmission) จากข้อมูลทางระบาดวิทยาไม่มีข้อมูลว่าแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น

 

นักวิทยาศาสตร์ฮ่องกงและทั่วโลก กำลังประมวลผลรหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมของ BA.2.2 กับข้อมูลทางคลินิกเพื่อตอบปัญหาสำคัญ 6 ประการ

 

• BA.2.2 กลายพันธุ์ไปมากกว่า BA.2 หรือไม่ และตำแหน่งใดบ้างโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมโครงสร้างของหนามที่เปลือกของอนุภาคไวรัส

• BA.2.2 แพร่ระบาด (transmissibility) รวดเร็วกว่า BA.2 หรือไม่

• BA.2.2 ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิดได้รุนแรง (severity) กว่า BA.2 หรือสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (variants of concern) อื่น ๆ เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา หรือไม่

• BA.2.2 สามารถด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนลงมากกว่า BA.2 หรือไม่

ขณะที่วงการแพทย์เผย ยารักษาโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวใหม่ "โซโทรวิแมบ" (Sotrovimab) ที่ใช้ต่อต้านโอไมครอน ยังสามารถจับกับ BA.2.2 ได้อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจ  

ขณะนี้ จึงมีคำถามที่ชวนให้สงสัยว่า ใช่หรือไม่ ที่ BA.2.2 เป็นปัจจัยอันตรายตัวหนึ่ง ที่ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงทำสถิติสูงสุดในโลก!!

 

เกาะติดโอมิครอน BA.2.2 มีความรุนแรงขนาดไหน หลังล่าสุดพบติดเชื้อในไทย 4 ราย

ล่าสุด ดร.อนันต์ นักไวรัสวิทยา เปิดข้อมูลโควิดโอมิครอนกลายพันธุ์ BA.2.2 จากฮ่องกง จะระบาดหนักในไทยหรือไม่

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงสถานการณ์โควิด-19 การค้นพบเชื้อไวรัสโอมิครอน สายพันธุ์ใหม่ BA.2.2 ระบุว่า

หลายคนเห็นพาดหัวข่าวเรื่องไทยพบโอมิครอน BA2.2 คล้ายกับที่ระบาดหนักในฮ่องกงจึงเริ่มเกิดความกังวลว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้จะเข้ามาระบาดและเป็นปัญหาในไทยเหมือนในฮ่องกงหรือไม่

ไวรัส BA.2.2 หน้าตาเหมือน BA.2 มาก โดยตำแหน่งบนโปรตีนหนามสไปค์ของ BA.2.2 ที่ตำแหน่ง 1221 เกือบจะถึงปลายของโปรตีนแล้ว เปลี่ยนจาก I (Isoleucine) ไปเป็น T (Threonine) เรียกว่า I1221T การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนี้อยู่นอกตำแหน่งที่มีผลต่อการหนีการจับของแอนติบอดี ดังนั้น เชื่อว่าความสามารถในการหนีภูมิของวัคซีนของ BA2.2 ไม่แตกต่างไปจาก BA.2 ปกติ

ส่วนหน้าที่อื่น ๆ ของโปรตีนสไปค์ที่อาจมีผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ครับ เริ่มมีคำอธิบายออกมาบ้างว่า I1221T นี้ อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือไม่มีนัยสำคัญอะไรทางชีววิทยา แต่บทบาทของกรดอะมิโนดังกล่าวยังไม่ชัดครับว่าจะทำให้ไวรัสเปลี่ยนไปอย่างไร

 

ประเด็นเรื่องคุณสมบัติการแพร่กระจายของไวรัส BA.2.2 ถ้าดูเฉพาะในฮ่องกงจะเห็นว่าเกือบ 100% ของไวรัสที่ระบาดเป็น BA2.2 ทั้งสิ้น ทำให้มีการมองว่าเป็นไวรัสที่แพร่กระจายได้ไวมาก แต่ถ้าดูการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์นี้ในประเทศอื่น ๆ ที่มี BA.2 ปกติระบาดอยู่แล้วด้วย จะเห็นภาพที่แตกต่างกันชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น UK หรือ USA ที่พบ BA.2.2 เช่นกัน ก็ไม่พบการเพิ่มของเคสแบบกรณีของฮ่องกง

 

ลักษณะนี้ทำให้คิดได้ว่าปรากฏการณ์ในฮ่องกงไม่ใช่เป็นเพราะ BA.2.2 ที่แพร่ไว แต่เป็นเพราะไวรัสตัวแรกที่เข้าไปสร้างปัญหา และ แพร่กระจายก่อนไวรัสตัวอื่น ๆ คือ BA.2.2 หรือที่รู้จักกันคือปรากฏการณ์ Founder Effect พูดง่าย ๆ คือ BA.2.2 เข้าไปจองพื้นที่ในฮ่องกงก่อนใคร ทำให้สายพันธุ์อื่นที่ตามมาทีหลังวิ่งตามไม่ทันนั่นเอง

เกาะติดโอมิครอน BA.2.2 มีความรุนแรงขนาดไหน หลังล่าสุดพบติดเชื้อในไทย 4 ราย

ประเทศไทยบริบทต่างจากฮ่องกงครับ ผมคิดว่า BA.2.2 เข้ามาตอนนี้คงไม่มีที่ให้ขยายตัวมาก เพราะ BA.1 และ BA.2 ครองพื้นที่ในประเทศไทยไปมากพอสมควรแล้ว

 

ขอขอบคุณที่มา : Anan Jongkaewwattana

 

logoline