svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

15 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ย้ำอีกครั้ง อย่าลืมยื่นภาษีปี 64 กรมสรรพากรเตือน โค้งสุดท้ายให้รีบเช็ก 4 ขั้นตอนก่อนพลาดยื่นผิด ยื่นไม่ทัน โดนปรับย้อนหลัง พร้อมขยายเวลายื่นแบบออนไลน์ถึง 8 เม.ย.2565

กรมสรรพากร แจ้งเตือนประชาชนที่ยังไม่ได้ ยื่นภาษีปี 64 โดยเดือนมีนาคม 65 เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับการยื่นภาษีประจำปี 2564 โดยวันสุดท้ายของการยื่นภาษีแบบกระดาษ คือ 31 มีนาคม 2565 ในส่วนการยื่นแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ e-Filing ขยายเวลาให้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2565  

 

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

การยื่นภาษีเงินได้ คืออะไร

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ คือ การนำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของกรมสรรพากรมากรอกรายละเอียด พร้อมกับแนบหลักฐานรายได้ประจำปี ตลอดจนหลักฐานลดหย่อนต่าง ๆ เพื่อนำไปยื่นชำระภาษี ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

 

ผู้ที่มีรายได้ต้องทำการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยมี 2 แบบ ได้แก่

 

ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น ดอกเบี้ยจากการลงทุน ค่าเช่าบ้าน เงินปันผล

ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น เช่น เงินเดือน โบนัส เบี้ยประชุม ฯลฯ

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

ใครกันบ้างต้องเสียภาษี

ผู้ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

บุคคลธรรมดา

ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

วิสาหกิจชุมชน

แหล่งเงินได้จากไหนต้องเสียภาษี

แหล่งเงินได้ที่ต้องเสียภาษี มี 2 ประเภท แบ่งเป็น แหล่งเงินได้ในประเทศ และต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

แหล่งเงินได้ในประเทศ

ทำงานในไทย

กิจการที่ทำในไทย

กิจการของนายจ้างในไทย

ทรัพย์สินที่อยู่ในไทย (ดอกเบี้ย, เงินปันผล, ค่าเช่า)

แหล่งเงินได้ต่างประเทศ

 

ทำงานในต่างประเทศ

กิจการที่ทำในต่างประเทศ

ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

ผู้ที่มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยทั้งช่วงระยะเวลา หรือหลายระยะเวลารวมกันถึง 180 วัน ในปีภาษีนั้น และต้องนำเงินได้นั้นเข้าประเทศไทยในปีภาษีเดียวกัน

 

เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี

คนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท/ปี

คนที่มีคู่สมรส มีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท/ปี

เงินเดือน มากกว่า 120,000 ต่อปี

ฟรีแลนซ์/ค่านายหน้า

ค่าลิขสิทธิ ค่าสิทธิบัตร

ดอกเบี้ย เงินปันผลจากหุ้น กำไร จากคริปโทเคอร์เรนซี

ค่าเช่าทรัพย์สิน

ค่าวิชาชีพอิสระ

ค่ารับเหมา/จ้างทำของ ทั้งค่าแรงและค่าของ

เงินอื่น ๆ เช่น รายได้จากการขายสินค้า-บริการออนไลน์ ร้านค้าตลาดนัด, ยูทูบเบอร์, นักแสดง และ อินฟลูเอนเซอร์

 

ทั้งนี้ กรมสรรพากร ได้ออกแบบเช็กลิสต์ความพร้อม 4 ขั้นตอน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อน "ยื่นภาษีปี 64" เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินการตามประเภทที่ถูกต้อง ไม่เสี่ยงโดนปรับและโดนย้อนหลัง โดนมีรายละเอียดดังนี้

เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนพลาดยื่นผิด ยื่นไม่ทัน โดนปรับย้อนหลัง พร้อมขยายเวลายื่นแบบออนไลน์ถึง 8 เม.ย. 65

 

กรมสรรพากร แจ้งเตือนประชาชนที่ยังไม่ได้ "ยื่นภาษีปี 64" โดยเดือนมีนาคม 65 เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับการ "ยื่นภาษีปี 64"  โดยวันสุดท้ายของการยื่นภาษีแบบกระดาษ คือ 31 มี.ค.65  ส่วนยื่นแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ e-Filing ขยายเวลาให้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 65

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

ทั้งนี้ กรมสรรพากร ได้ออกแบบเช็กลิสต์ความพร้อม 4 ขั้นตอน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อน "ยื่นภาษีปี 64" เพื่อให้ประชาชนสามารถดำนเนิการตามประเภทที่ถูกต้อง ไม่เสี่ยงโดนปรับและโดนย้อนหลัง โดนมีรายละเอียดดังนี้

 

ขั้นตอนการ "ยื่นภาษีปี 64" ที่สามารถทำได้ดังนี้

 

ขั้นตอนที่  1 ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยมีอยู่ 5 กลุ่ม คือ

 

1.บุคคลธรรมดา

2.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

3.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

4.ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคลลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

5.วิสาหกิจชุมชน

 

ขั้นตอนที่ 2 แหล่งเงินได้

 

ในประเทศ

ทำงานในไทย

กิจการที่ทำในไทย

กิจการของนายจ้างในไทย

ทรัพย์สินที่อยู่ในไทย เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า

ต่างประเทศทำงานในต่างประเทศ

กิจการที่ทำในต่างประเทศ

ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม เป็นผู้ที่อยู่ในไทยเป็นชั่วระยะเวลาหรือหลายระยะเวลารวมกันถึง 180 วัน ในปีภาษีนั้น และนำเงินได้นั้นเข้าประเทศในปีภาษีเดียวกัน

 

ขั้นตอนที่  3 เงินได้พึงประเมินมาตรา 40

 

1.เงินเดือนมากกว่า 120,000 ต่อปี

2.ฟรีแลนซ์/ค่านายหน้า

3.ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิบัตร

4.ดอกเบี้ย เงินปันผลจากหุ้น กำไรจากคริปโทเคอร์เรนซี

5.ค่าเช่าทรัพย์สิน

6.ค่าวิชาชีพอิสระ

7.ค่ารับเหมา / จ้างทำของ ทั้งค่าแรงและค่าของ

8.เงินอื่นๆ เช่น รายได้จากการขายสินค้า บริการออนไลน์ / ร้านค้าตลาดนัด / ยูทูปเบอร์ / นักแสดง / อินฟลูเอนเซอร์

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

ขั้นตอนที่  4  ยื่นแบบ

 

ประเภทเงินได้ 40 (เงินได้พึงประเมินในข้อ 1 ของ  Step 3 )  ให้ยื่น ภ.ง.ด. 91 ช่วงเวลายื่น 1 ม.ค.-31 มี.ค. 65

ประเภทเงินได้ 40 (เงินได้พึงประเมินในข้อ 2-8 ของ  Step 3 ) ให้ยื่น ภ.ง.ด. 90 ช่วงเวลายื่น 1 ม.ค.-31 มี.ค. 65

ประเภทเงินได้ 40 (เงินได้พึงประเมินในข้อ 1 ของ  Step 3 ) + ประเภทเงินได้ 40 (เงินได้พึงประเมินในข้อ 2-8 ของ  Step 3 ) ให้ยื่น ภ.ง.ด. 90 ช่วงเวลายื่น 1 ม.ค.-31 มี.ค. 65 ให้ยื่น ภ.ง.ด. 90 ช่วงเวลายื่น 1 ม.ค.-31 มี.ค 65

 

วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564

สำหรับวิธีการยื่นภาษี ปีภาษี 2564 สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ : https://bit.ly/3iaUXLQ

 

สำหรับ ช่องทางการยื่นแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ ขยายเวลาให้อีก 8 วัน ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2565 นี้ เท่านั้น !!

 

แล้ว..คำนวณภาษีอย่างไร ?

การคำนวณภาษี ตามคำแนะนำของ กรมสรรพากร สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

 

วิธีแรก (วิธีปกติ) รายได้สุทธิ (รายได้ทั้งปีหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี

 

วิธีที่สอง กรณีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีรายได้มากกว่า 120,000  บาท/ปี (ไม่รวมเงินเดือน) สามารถใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามการคำนวณปกติ)

โค้งสุดท้าย "ยื่นภาษีปี 64" เช็ก 4 ขั้นตอนก่อนยื่นผิด เตือนโดนปรับย้อนหลัง

ข้อมูลอ้างอิง :  กรมสรรพากร 

 

logoline