svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

มติคณะกรรมการโรคติดต่อ เห็นชอบปรับ โควิด-19 สู่ "โรคประจำถิ่น" ก.ค.นี้

09 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มติเห็นชอบ มาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาด โควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น  ตั้งเป้าภายใน 4 เดือน  4ระยะ  คาด 1  กรกฎาคมนี้ โควิด-19 จะสู่การเป็นโรคประจำถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ.

9 มีนาคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวง โดยมีวาระประชุม อาทิ ความก้าวหน้าให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 และการออกหนังสือรับรองสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคกรณีโควิด-19 การรายงานสถานการณ์ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ

 

มาตรการเข้าประเทศสำหรับผู้เดินทางในกลุ่ม Test & Go แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัยดูแล รักษาป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ส่วนประเด็นที่น่าจับตา คือ มาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดโควิด-19 สู่การเป็น “โรคประจำถิ่น”

 

นายอนุทิน ระบุ ภายหลังการประชุมว่า ประเด็นสำคัญที่ประชุมเห็นชอบหลักการ แผน และมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น ซึ่งเวลานี้หลายประเทศที่เตรียมการเปลี่ยนผ่านโควิด-19 ไปสู่โรคประจำถิ่น เช่น ประเทศในทวีปยุโรป 

 

นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

ในส่วนของไทยเน้นอยู่บนพื้นฐานสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่น มาตรการ การเฝ้าระวังและมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ การเฝ้าระวังในประเทศ การสอบสวนโรค  การบริหารจัดการวัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรค มาตรการด้านการแพทย์ รวมถึงมาตรการทางกฎหมายที่จะต้องมีการปรับให้สอดลคล้องเช่นการยกเลิก ประกาศ พรก.ฉุกเฉินเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 และมาตรการทางสังคมในส่วนของประชาชน ก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการส่วนบุคคลอยู่  และเคร่งเรื่องการรับวัคซีนตามกำหนด 

ทั้งนี้ จะมีขั้นตอนกำหนดตามสถานการณ์เป็นระยะๆ เป้า 4 เดือนต่อจากนี้ ภายใต้ความปลอดภัยของประชาชน ปัจจัยการพิจารณา คือ อัตราการ การควบคุมโรค อัตรการการเสียชีวิตภายในประเทศ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด ขององค์การอนามัยโลก เบื้องต้นที่หลักสากล กำหนดอยู่ที่หนึ่งในพัน หมายความว่า ในหนึ่งพันคนมีผู้เสียชีวิต1 คน หรือ อัตราผู้เสียชีวิต เฉลี่ยต้อง ไม่เกิน ร้อยละ 0.1 ความพร้อมยาในการรองรับผู้ป่วย การเข้าถึงยาอย่างรวดเร็ว 

 

“ ขอให้กรมควบคุมโรค ทำข้อมูลอย่างละเอียดในการจำแนกปัจจัยการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อจะได้รู้ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุการเสียชีวิต รวมไปถึงมาตรการทางสังคมอื่นๆที่จะต้องมีการปรับให้สอดลคล้องเช่นการยกเลิก ประกาศ พรก.ฉุกเฉินเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด -19 ”

 

เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด

 

ขณะเดียวกัน เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด ที่มีกว่า 2 ล้านคน รวมถึงกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ให้เข้ารับก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในช่วงสงกรานต์เบื้องต้นไม่ได้มีการห้ามเดินทาง ประชาชนสามารถที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ แต่ ขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด 

ส่วนความคืบหน้าการรักษาและเกณฑ์ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโควิด-19 กลุ่มสีเหลืองและแดงยังสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกแห่งจนหาย โดยไม่ต้องย้ายโรงพยาบาล และไม่กำหนดระยะเวลาจ่ายค่าชดเชยเฉพาะ 72 ชั่วโมงแรก 

 

ส่วน กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว สามารถเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ เน้นการดูแลแบบ OPD หรือผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” หากจะไปรักษาในโรงพยาบาลเอกชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง โดย กรมการแพทย์ อยู่ระหว่างปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์

 

มติคณะกรรมการโรคติดต่อ เห็นชอบปรับ โควิด-19 สู่ "โรคประจำถิ่น" ก.ค.นี้

 

ด้าน นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงรายละเอียด แนวทางมาตรการโรคประจำถิ่น เป็นการวางเป้าภายใน 4 เดือน คาดการณ์ว่า ปลายเดือนมิถุนายน จำนวนผู้ติดเชื้อละลดลงอยู่ที่ประมาณ1,000- 2,000 คนต่อวัน ซึ่งจะทำให้การรักษาสามารถรองรับได้ โดยแนวทางมี 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก 12 มีนาคม - ต้นเมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงขาขึ้นของการแพร่ระบาด ยังคงมาตรการควบคุมโรคเหมือนเดิม ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศยังคงต้องตรวจเชื้อ RT-PCR ในวันแรก รวมถึงการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK  ในวันที่ 5 และหากยังไม่ได้รับวัคซีนให้กักตัว 10 วัน 
  • ระยะสอง ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ยังเป็นช่วงที่การระบาดสูง ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ ให้ตรวจด้วยชุดตรวจ  ATK ในวันแรก และวันที่ 5 ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนให้กักตัว 5 วัน 
  • ระยะสาม ปลายเดือนพฤษภาคม- มิถุนายน  เป็นช่วงผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ โดยไม่ได้รับวัคซีน ให้ตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ที่สนามบิน 
  • ระยะสี่ หรือ ระยะหลังช่วงวันที่ 30 มิ.ย.65 จะเริ่มเป็นโรคติดต่อทั่วไป ซึ่งผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไม่ต้องตรวจหาเชื้อทั้ง ATK และ RT-PCR 

 

การตรวจ RT-PCR 

ส่วนการสอบสวนโรคในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ยังคงต้องควบคุม คลัสเตอร์กลุ่มเสี่ยงรุนแรง คลัสเตอร์ ระบาดเป็นวงกว้าง เพื่อลดการเสียชีวิต ส่วนระยะที่ 3 และระยะที่ 4 การสอบสวนโรค จะเน้นการค้นหา ปัจจัยต่อการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต 

 

ขณะที่มาตรการควบคุมโรค ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ยังคงควบคุมในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดอยู่ ส่วนระยะที่ 3 และระยะที่ 4 สถานที่ส่วนใหญ่เปิดได้ตามปกติ เช่น สถานบันเทิงผับบาร์ที่สามารถเปิดได้ แต่ยังคงมาตรการสาธารณสุข
 

logoline