svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

"ดร.ปริญญา" ชี้คดีแตงโมแกะรอยจาก Digital footprint ไม่ยาก

07 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  เผย คดี "แตงโม นิดา" สามารถตรวจสอบการทำmobile forensic ตรวจสอบGPS location เปรียบเทียบกับ Digital footprintในโซเชียลมีเดีย เพื่อช่วยให้ได้หลักฐานประกอบคดี

ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  เปิดเผยถึงกรณีเคส "แตงโม นิดา"กับการทำmobile forensic ตรวจสอบGPS location เปรียบเทียบกับ Digital footprintในโซเชียลมีเดีย ในการช่วยให้ได้หลักฐานประกอบคดีนี้ว่า คดีคุณ"แตงโม"ไม่ได้ยาก เพราะมีโทรศัพท์มือถือและมี Social Media ซึ่งมีหลักฐานมากมายในนั้น นั่นยังไม่รวมถึงกล้องวงจรปิดตามริมแม่น้ำต่างๆบริเวณจุดเกิดเหตุ

"ดร.ปริญญา" ชี้คดีแตงโมแกะรอยจาก Digital footprint ไม่ยาก

การค้นหาของคดีนี้ จะต้องใช้คำว่าปะติดปะต่อทุกอย่างให้เป็นภาพใหญ่ จะยึดหลักฐานจากจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ ต้องเอาหลักฐานทั้งหมดมากองรวมกัน ทั้งกล้องวงจรปิดรอบแม่น้ำ มือถือของทุกคนที่อยู่บนเรือที่เกี่ยวข้องในเวลานั้น และ Social Media ของทุกคน

ซึ่งโซเชียลถูกเข้าถึงทุกจุดทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงแค่โทรศัพท์มือถือของคนๆนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ไปกินข้าวที่ร้านอาหาร จนกระทั่งเกิดเหตุตกน้ำ ทุกคนไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่พยายามติดต่อหาญาติ คนรู้จัก หรือเพื่อนของแตงโม ซึ่งจะมีคอล็อคเกิดขึ้น ทั้งมือถือของ 5 คนนั้น หรือสามารถเช็คจาก isp ก็ได้ จากเครือข่ายมือถือที่เขาใช้ เขาอาจจะลบข้อมูลที่เครื่องได้ แต่ที่ isp เขาไม่สามารถลบได้อย่างแน่นอน แต่อาจจะต้องขอหมายศาลถ้าหากจะดูข้อมูล หรือได้รับความยินยอมจากคนๆนั้น เพื่อให้ตำรวจเข้าถึงข้อมูล ทางบริษัท mobile operator ปล่อยล็อคทางโทรศัพท์ออกมา ว่าใครโทรหาใคร ก็สามารถเอามาโยงใย ทำเป็นผังออกมา ตัวละครก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย ซึ่งทุกอย่างดูได้จากคอล็อค ของโทรศัพท์ได้ทั้งหมดเพียงแต่ว่าคอล็อคที่เครื่อง ที่ยึดไว้กับ คอล็อคที่อยู่ที่ mobile operatorต้องเอามาแมทกัน

"ดร.ปริญญา" ชี้คดีแตงโมแกะรอยจาก Digital footprint ไม่ยาก

ขณะเดียวกันผู้อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้เกี่ยวข้อง มีการใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะโพสต์หรือแชทข้อความ พวกGoogle Facebook Apple มีกฎหมายของยุโรป บังคับอยู่ว่า ถ้าผู้ใช้ทำอะไรจะต้องเก็บไว้ คือสามารถเก็บไว้ให้เจ้าของสามารถเข้าถึงได้ ก็คือประวัติการใช้งานทั้งหมด ย้อนหลังเป็น 10 ปี และถ้าหากเกิดการลบขึ้นเป็นช่วงๆ คือมีการลบฟุตปริ้นออกจากมือถือ ลบออกจากคราวที่เก็บฟุตปริ้น ซึ่งฟุตปริ้นมี 2 ชุด คือ ชุดที่อยู่ที่มือถือกับชุดที่อยู่บนคราว ในระบบของแพลตฟอร์ม ซึ่งถ้าหากลบในมือถือ แต่ในระบบคราวยังอยู่

นอกจากนี้ ดร.ปริญญา ยังเชื่อว่า ตำรวจน่าจะดำเนินการไปบ้างแล้ว ทั้งข้อมูลนอกโซเชียลน่าจะมากกว่าข้อมูลในโซเชียล เพียงแต่ว่าตำรวจยังไม่ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าว ส่วนตัวเชื่อว่าไม่เกิน 1 สัปดาห์ต่อจากนี้ ตำรวจน่าจะออกมาแถลงข่าวในคดีนี้ เพื่อให้เกิดความกระจ่าง

logoline