คุณอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกคำสั่งในวันที่ 1 มีนาคมให้เดินตามแผนเดิม ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขประกาศยกระดับอันตรายโควิดเป็นระดับ 4 ถ้าติดโควิดแบบอาการทั่วไปจะรักษาตามสิทธิ เฉพาะอาการวิกฤตเท่านั้นที่สามารถรักษาทันที
คำถามคือ ทำไมต้องประกาศ หรือว่าจำใจที่จะสุ่มเสี่ยง กับการติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยในประเทศ
ผู้ติดเชื้อวันนี้ (21 ก.พ. 65)
อะไรที่ดลใจให้คนที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของคนไทยทั้งประเทศตัดสินใจเช่นนั้น
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย
ระดับเตือนภัยป้องกันโควิด-19 ของไทย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า จำนวนผู้ติดเชื้อในบ้านเราอยู่ในขาขึ้น ยอดสูงสุดจะเป็นเท่าไหร่ อาจจะถึง 3-5 หมื่น หรือมากกว่าก็ได้ ขณะนี้ ที่เห็นชัดคือถ้าเรารวมผู้ป่วยตรวจยืนยัน RT-PCR กับ ATK ก็น่าจะเกิน 25,000 แล้ว และดูอัตราการเสียชีวิต จะอยู่ที่น้อยกว่า 2 ใน 1000 ถ้าเอาผู้ที่มีอาการน้อยและตรวจพบ ATK มารวมด้วยอัตราการเสียชีวิตก็จะอยู่ที่น้อยกว่า 1 ใน 1000
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 เป็นต้นไป การรักษาผู้ติดโควิด19 จะเป็นไปตามสิทธิรักษาพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาฟรีได้ในรพ. ที่แต่ละคนมีสิทธิ์อยู่แต่หากมีอาการป่วยฉุกเฉินวิกฤติตามเกณฑ์ของการรักษาฟรีทุกที่ (UCEP) ก็ยังสามารถรักษาฟรีได้ทุกที่เช่นเดิม
เงื่อนไขตรวจคัดกรองโควิด ข้อควรระวังจากระดับ 3 เป็นระดับ 4
1 งดเข้าสถานที่เสี่ยง
2. งดทานอาหารร่วมกัน-ดื่มสุราในร้าน-เลี่ยงไปซื้อของที่มีคนจำนวนมาก เช่น ตลาด ห้าง
3. เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน
4. งดร่วมกิจกรรม-กลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ-มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50-ร้อยละ 80
5. ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว
6. เลี่ยงไปต่างประเทศ
7. หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ชี้แจงว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะยังคงได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่ตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ "สิทธิบัตรทอง" สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ แต่หากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
ยังเป็นการรักษาฟรีตามสิทธิต่าง ๆ แต่ก็แน่นอนครับ ถ้าท่านประสงค์จะไปรักษาที่ไม่เป็น รพ.ตามสิทธิ... ก็เป็นเรื่องที่ท่านจะต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัด สธ. บอกว่า หากคุณเดินเข้าไปตรวจโควิดที่โรงพยาบาลเอกชนแล้วผลเป็นบวก คุณจะไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้อีกแล้ว ยกเว้นว่าจะมีอาการฉุกเฉินวิกฤตตามเกณฑ์ของ สปสช.
หลักเกณฑ์ สปสช. การรักษาสิทธิฟรี
*หากพบอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.1669 เจ็บปวยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
กทม.เปิดจุดตรวจ โควิด-19 ฟรี
สถานการณ์เตียงของกทม. ปริมณฑล
สถานการณ์การใช้เตียงของประเทศ
แสดงว่าสถานการณ์โควิดยังรุนแรงแต่รัฐกดพันธกิจ และสิ่งที่นายกสั่งการปัดฝุ่นโรงพยาบาลสนาม 7000 เตียงของทหารทุกเหล่าทัพ เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด
ถ้าเปิดให้รักษาตามสิทธิ์คิดว่าจะมีโรงพยาบาลสนามหรือไม่ และคนเหล่านั้นจะมีทางออกในการแก้ปัญหาโรคโควิด แล้วให้คนไปรักษาตามสิทธิ์ได้อย่างไร กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายในการดูแลประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะเป็นตัวชี้ชะตาศรัทธาของรัฐบาล ในวันที่ 1 มีนาคมที่มีการประกาศปลด จะมีช่องว่างสำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิดแล้วไม่ได้รับการรักษาดูแล
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร