มีการตั้งคำถามว่า ประเทศเรามีคนจน 20 ล้านคนแล้วหรือ ? จากมติครม. โควิดที่ผ่านมา 2 ปี ได้ทำให้คนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ถ้าคนจนมี 20 ล้านคน แล้วการออกนโยบายทางการเมืองหลังจากนี้ไปใครคว้าหัวใจของคนจน คนนั้นสามารถเป็นรัฐบาลได้ ปัจจัยสำคัญคือบัตรคนจนซึ่งมีฐานข้อมูลสำคัญ ถ้าใครที่มีส่วนเข้าถึงจะเป็นประโยชน์มหาศาล
นโยบายประชานิยมทุกประเทศเหมือนกัน บัตรสวัสดิการหรือบัตรคนจน เป็นเรื่องของสวัสดิการแห่งรัฐใช่หรือไม่ และแนวทางในการนำนโยบายเหล่านี้ในการจ่ายเงินถึงมือ ใช่ประชานิยมทิ้งทวนหรือไม่ ? ในช่วงหลังทุกการประชุมครม. จะมีมาตรการประชานิยมออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นคำถามว่าจะเป็นการทิ้งทวนนำไปสู่การเลือกตั้งหรือไม่
ประชานิยม
นโยบายด้านเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายทางการเมือง
เหมือนยาเสพติด ลด-เลิกยาก ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
วงเงินเยียวยาโควิด 917,893 ล้านบาท
มาตรการคนละครึ่ง 94,500 ล้านบาท
มาตรการเพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการรัฐ 58,122 ล้านบาท
มาตรการเรารักกัน ม.33 55,600 ล้านบาท
มาตรการเราชนะ 280,242 ล้านบาท
โครงการคนละครึ่ง นโยบายประชานิยมที่สุดยอดที่สุดเป็นการควักเงินจากกระเป๋าประชาชนไปร่วมจ่ายด้วย
เฟส 1
(23 ต.ค. - 31 ธ.ค. 63) เป้าหมาย 10 ล้านราย ผลดำเนินงานเฟส 1 (ณ 27 ธ.ค. 63)
5 จังหวัดจ่ายสะสมมากที่สุด กทม., สงขลา, ชลบุรี, เชียงใหม่, สุธาษฎร์ธานี ร้านค้าร่วมโครงการ 1.1 ล้านร้านค้า
เฟส 2
(1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64) เป้าหมาย 15 ล้านราย ผลดำเนินงานเฟส 2 (ณ 31 มี.ค. 64)
5 จังหวัดจ่ายสะสมมากที่สุด กทม., ชลบุรี, สมุทรปราการ, สงขลา, เชียงใหม่ ร้านค้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านร้านค้า
เฟส 3
(1 ก.ค.-31 ธ.ค.64) เป้าหมาย 28 ล้านราย ผลดำเนินงานเฟส 3 (ณ 16 ธ.ค. 64)
ร้านค้าร่วมโครงการ มากกว่า 1.5 ล้านร้านค้า
คนละครึ่ง เฟส 4 เริ่ม ก.พ.2565
นอกจากประชานิยมในกลุ่มนี้ ที่ผ่านมายังมีการเยียวยาไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ปัญหาคือ ใครชนะในเรื่องของ Data คนนั้นคือเทพ
นโยบายประชานิยมในรูปแบบที่เข้าไปดูแลประชาชนและถ้าหากนำ data มาใช้ประโยชน์จากการประมวลผลจะยอดเยี่ยมสูงสุด นี่คือตัวอย่างการประมวลผล
วันแรกของการใช้จ่าย ภายใต้มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ ปี 65 พบว่า การใช้จ่ายรวม 1,132.44 ล้านบาท จากผู้ใช้สิทธิ 5.44 ล้านราย
1. เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 4 ผู้ใช้สิทธิ 2.89 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 573.54 ล้านบาท
2. เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เฟส 2 ผู้ใช้สิทธิ 147,000 ราย มียอดการใช้จ่ายรวม 57.66 ล้านบาท
3. คนละครึ่ง เฟส 4 ผู้ใช้จ่าย 2.4 ล้านราย จากผู้ยืนยันการใช้สิทธิ 16.93 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายรวม 501.24 ล้านบาท เงินที่ประชาชนจ่าย 253.43 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 247.81 ล้านบาท
บัตรคนจน เพิ่งผ่านมติครม.อังคารที่ผ่านมา จาก 2559-2561 จำนวน 11.61 ล้านคน ม.ค. 2565 จำนวน 13.45 ล้านคน
*ครม, จะเพิ่มให้เป็น 20 ลัานคน
1 ต.ค. 2565 จะเปลี่ยนจากบัตรคนจนเป็นบัตรประชาชนแทน
เป้าหมายบัตรคนจน
สาเหตุที่ไม่ใช้บัตรคนจน
ปัญหาคือการจัดการหลังจากนี้ไป จะจัดการในเรื่องของประชาชนที่เป็นคนจนอย่างไร
ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
ไม่รวม ม. 33 ประมาณ 9 ล้านคน
***หมายเหตุ: ประชากรไทย 66,171,439 คน
และถ้าใครที่ดูแล Big Data จะเท่ากับ อำนาจ ในสมัยของดอนัลด์ ทรัมป์ ชนะเพราะออกนโยบายโดนใจคนอเมริกัน ซึ่งนโยบายสังเคราะห์มาจาก Data
Big Data ถ้าทำแล้วจะต้องดำเนินการในเรื่องของการประมวลผล และวางระบบว่าจะจัดการอย่างไร ใครที่ครอบครอง Big Data ฐานของคนจนซึ่งมีอยู่ 20 ล้านคน ระบุตัวตนชัดเจนผ่านบัตรประชาชน จะมีประโยชน์ทั้งด้านการตลาดและที่สำคัญยิ่งช่วงใกล้เลือกตั้งจะมีประโยชน์กับการเมืองโดยตรง จับตาดูต่อไปว่าบัตรคนจนเป็นคนของใคร
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร