svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ตำรวจสอบสวนกลาง เตือน ภัยเงียบวันตรุษจีน เผากงเต๊กอันตรายกว่าที่คิด

31 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตำรวจสอบสวนกลาง เตือน ภัยเงียบวันตรุษจีน เผากงเต๊กอันตรายกว่าที่คิด ชี้ เฝ้าระวังอาจเกิดไฟไหม้ เปิดสถิติเพลิงไหม้กทม.พื้นที่ไหนพบบ่อยสุด สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีป้องกันมีอะไร ดูรายละเอียดที่นี่

31 มกราคม 2565 "วันตรุษจีน" ปีนี้ก็ตรงกับวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ตามธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีการเฉลิมฉลอง จุดพลุ ประทัด จุดธูป เผากงเต๊ก เพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ ตามประเพณีนิยมของคนไทยเชื้อสายจีน และผลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น หากไม่มีการควบคุมดูแลการจุดและเผาที่กล่าวมา คือ ไฟไหม้ ซึ่ง ตำรวจสอบสวนกลางได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก เตือน ในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ ว่า

ตำรวจสอบสวนกลาง เตือน ภัยเงียบวันตรุษจีน เผากงเต๊กอันตรายกว่าที่คิด

 “ภัยเงียบวันตรุษจีน” เผากงเต๊กอันตรายกว่าที่คิด การจุดธูปหรือการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ในแต่ละครั้ง จะปล่อยสารมลพิษออกมา คือ ควันและขี้เถ้า เป็น“ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และสารก่อมะเร็งหลายชนิด นอกจากจะทำให้มีอาการอาการแสบตา แสบจมูก คัดจมูก หายใจลำบาก  คันตา และปวดตาแล้ว  หากไม่มีการเฝ้าระวังให้ดีอาจเกิดการลุกลามทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เป็นเหตุให้สูญเสียทรัพย์สิน หรือเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ขอเตือนประชาชน ควรเผาทีละน้อยๆ และเผาในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ควรจุดและเผาในที่โล่งมีอากาศถ่ายเท เมื่อเผาเสร็จก็ควรใช้น้ำราดให้ดับเพื่อความมั่นใจ หากเกิดเพลิงไหม้แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่หมายเลขโทรศัพท์ 199 และให้รีบอพยพออกจากจุดเกิดเหตุโดยเร่งด่วน

 

ทั้งนี้จากข้อมูล สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) พบว่า ในพื้นที่ กทม. “อัคคีภัย” นับเป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นบ่อยอันดับต้นๆ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ไฟไหม้หญ้าและการเผาขยะ รองมาคือ ไฟฟ้าลัดวงจร ดังนี้

ตำรวจสอบสวนกลาง เตือน ภัยเงียบวันตรุษจีน เผากงเต๊กอันตรายกว่าที่คิด

ปี 2560 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้ง

ปี 2561 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้ง

ปี 2562 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 3,085 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 638 ครั้ง

ปี 2563 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,554 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 629 ครั้ง

ปี 2564 ช่วง 3 เดือนแรก มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 712 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 104 ครั้ง

 

นอกจากสาเหตุไฟไหม้หญ้า ขยะ และ ไฟฟ้าลัดวงจร ยังมี สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ดังนี้

 

  • ลุกลามจากการเผาขยะและหญ้าแห้ง
  • ไฟฟ้าลัดวงจร
  • ทิ้งบุหรี่และไม้ขีดไฟไม่เป็นที่
  • ลุกลามจากธูปเทียนบูชาพระ
  • ดับไฟในแก๊สหุงต้มไม่สนิท
  • ใช้น้ำมันเพลิงไม่ถูกวิธี เช่น นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อก่อไฟ

 

สถานที่เสี่ยงเกิดอัคคีภัยในกทม.ส่วนมากอยู่ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น อาคารขนาดใหญ่ อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า สถานบันเทิง ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามักเป็นสถานที่มีการใช้ไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยฤดูร้อน ฤดูแล้ง และในห้วงเทศกาลสำคัญถือเป็นช่วงที่ต้องมีการจับตาและเฝ้าระวังการเกิดอัคคีภัยถี่ขึ้น

 

สถิติเพลิงไหม้อาคารตามเขตพื้นที่ในกทม.สูงสุด ได้แก่

 

ปี 2560 มีนบุรี 15 ครั้ง บางแค 13 ครั้ง วัฒนา 12 ครั้ง

ปี 2561 จตุจักร 16 ครั้ง คลองเตย 14 ครั้ง มีนบุรี 12 ครั้ง

ปี 2562 คลองสามวา บางกะปิ ลาดกระบัง เขตละ 14 ครั้ง

ปี 2563 บางแค ป้อมปราบศัตรูพ่าย ภาษีเจริญ เขตละ 11 ครั้ง

ปี 2564 ช่วง 3 เดือนแรก บางกะปิ 5 ครั้ง จอมทอง/บางเขน/บางพลัด/ประเวศ เขตละ 4 ครั้ง

ตำรวจสอบสวนกลาง เตือน ภัยเงียบวันตรุษจีน เผากงเต๊กอันตรายกว่าที่คิด

ความเสี่ยงที่ทำให้ไฟไหม้ เกิดจากพฤติกรรมอะไรบ้าง

1. เสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ ถือเป็นสาเหตุในลำดับต้นๆ ที่ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเสี่ยงทำให้เกิดเพลิงไหม้ รวมถึงการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ อาทิ เตารีด หรือที่หนีบผม ก็เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บ้านเช่นกัน

2. วางเครื่องใช้ไฟฟ้าชิดกันเกินไป ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น หรือไมโครเวฟ หากวางชิดกันเกินไป ทำให้เกิดความร้อนสูง เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนได้ ดังนั้น ควรเว้นระยะห่างให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้

3. สายไฟชำรุด ห้ามใช้งานสายไฟที่เกิดการชำรุดเป็นอันขาด เพราะมีส่วนทำให้เกิดไฟช็อตที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมถึงทำให้เกิดประกายไฟเมื่อเสียบปลั๊ก ซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ นอกจากนี้การเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าจากปลั๊กพ่วงมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเหตุไฟไหม้ได้เช่นกัน

4. เปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ ถือเป็นความประมาทที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านในลำดับต้นๆ เพราะฉะนั้นหลังจากที่ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย ควรตรวจเช็คให้ละเอียดว่าปิดเตาแก๊สดีแล้วหรือไม่

5. จุดเทียนทิ้งไว้ ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่มักลงข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง! และส่งผลให้บ้านไหม้มอดไปเกือบทั้งหลัง เพราะฉะนั้นห้ามจุดเทียนทิ้งไว้ และจุดให้ห่างจากเด็กเล็ก หรือสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันอันตรายและเหตุเพลิงไหม้ที่ไม่คาดฝัน

 

สำหรับวิธีป้องกันไฟไหม้

  • เก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟลุกไหม้ เช่น หนังสือพิมพ์ เสื้อผ้าเก่าๆ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น
  • หมั่นตรวจตราและซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ และสวิทซ์ไฟ
  • ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งานทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ
  • ปิดแก๊สหุงต้มเมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง เพราะสาเหตุต้นๆ ของอัคคีภัยในบ้านคือความประมาทจากการลืมปิดแก๊สหุงต้มหลังทำอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้
  • ไม่จุดธุปเทียนบูชาหรือทิ้งก้นบุหรี่ไว้ภายในบ้าน รวมถึงไฟแช็กหรือไม้ขีดไฟ ควรเก็บให้ห่างจากความร้อนหรือประกายไฟ
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟ ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร สาเหตุที่สร้างความสูญเสียอย่างรุนแรงได้
  • ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟภายในบ้าน
  • เซฟเบอร์สถานีดับเพลิงใกล้บ้าน หรือ เบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉิน 199
logoline