svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอธีระ ย้ำโอมิครอน BA.2 แพร่เร็ว ม.ค.65 บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 1,880 คน

29 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอธีระ เผยตัวเลขเดือนมกราคม 2565 บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 1,880 คน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะข้อมูลการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน BA.2" พบแพร่ระบาดเร็วในหลายประเทศ ความสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียง "โอมิครอน BA.1"

24 มกราคม 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก “ThiraWoratanarat” เผยข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 ของบุคลากรทางการแพทย์ในเดือนม.ค.65 สูงเฉียด 2 พัยราย และการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน BA.2 ระบาดได้รวดเร็วและหลบภูมิคุ้มกันได้ดี มีเนื้อหาดังนี้..

 

สถิติบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 เพียงเดือนมกราคมเดือนเดียว ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูง 1,880 คน (1-29 มกราคม 2565) ยอดสะสมกว่าหมื่นคน ราวครึ่งหนึ่งอยู่ในกทม.

 

หมอธีระ ย้ำโอมิครอน BA.2 แพร่เร็ว ม.ค.65 บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 1,880 คน

 อัพเดต Omicron 

1. UK HSA เพิ่งออกรายงาน SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England ฉบับที่ 35 เมื่อวานนี้ 28 มกราคม 2565 โดยมีสาระสำคัญดังในตาราง

 

หมอธีระ ย้ำโอมิครอน BA.2 แพร่เร็ว ม.ค.65 บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 1,880 คน


Omicron สายพันธุ์ BA.2 น้้นมีข้อมูลในหลายประเทศ ชี้ให้เห็นว่ามีความสามารถในการแพร่ระบาดมากกว่า Omicron สายพันธุ์เดิม BA.1


ข้อมูลวิชาการปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า BA.2 นั้นมีการดื้อต่อภูมิคุ้มกันไม่มากไปกว่า BA.1 ดังนั้นการขยายวงของการระบาดจึงน่าจะมาจากคุณสมบัติในการแพร่เชื้อโดยตัวไวรัสเอง


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคจาก BA.2 และโอกาสการติดเชื้อซ้ำ (reinfection) ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างจากสายพันธุ์เดิม


 

2. Nature ฉบับ 28 มกราคม 2565 มีบทความนำเสนอสมมติฐานเกี่ยวกับจุดกำเนิดของ Omicron

หมอธีระ ย้ำโอมิครอน BA.2 แพร่เร็ว ม.ค.65 บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 1,880 คน

 

คาดว่าอาจเริ่มต้นตั้งแต่กลางปี 2563 โดยอาจมีความเป็นไปได้ที่เกิดการเพาะบ่มของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็น Omicron ได้ 3 สมมติฐานคือ 

 

  • หนึ่ง มีการติดเชื้อกันจากคนสู่คนอย่างเงียบๆ (Silent spread) ในพื้นที่ที่ไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการตรวจคัดกรองโรคและไม่มีการเฝ้าระวังตรวจหาพันธุกรรมของไวรัส
  • สอง เกิดการติดเชื้อในคนแบบเรื้อรัง (Chronic infection) เช่นในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในร่างกายผู้ติดเชื้อ
  • และสาม มีการติดเชื้อในสัตว์ประเภทหนู ซึ่งอาจมีการติดเชื้อจากสิ่งปฏิกูลจากคนที่ติดโควิด แล้วมีการกลายพันธุ์ของไวรัสในหนูจนนำมาสู่การติดสู่คนอีกครั้ง

 

หมอธีระ ย้ำโอมิครอน BA.2 แพร่เร็ว ม.ค.65 บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด 1,880 คน

หมอธีระ ย้ำว่า สำหรับไทยเรา การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
จุดเปราะบางที่มีอยู่ตอนนี้คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม และปริศนาเรื่องภาวะอาการคงค้างอย่าง Long COVID ว่าจะเกิดขึ้นในคนที่ติดเชื้อ Omicron แตกต่างจากสายพันธุ์เดิมหรือไม่ การป้องกันตนเองและครอบครัวให้ไม่ติดเชื้อย่อมปลอดภัยกว่า

logoline