svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อัปเดต วิธีสมัคร "ประกันสังคม ม. 40" พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทดแทน

28 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เช็กที่นี่! ประกันสังคม อัปเดต ช่องทางการชำระเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และช่องทางการรับประโยชน์ทดแทน

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อัปเดต ช่องทางการชำระเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และช่องทางการรับประโยชน์ทดแทนมาตรา 40 โดยการจ่ายเงินสมทบแบบใหม่ (ลดเงินสมทบ  เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งวันที่ 1 ส.ค. 64 - 31 ม.ค. 65) มี 3 ทางเลือกพร้อมสิทธิคุ้มครอง ดังนี้

 

  • ทางเลือกที่ 1 จ่าย 42 บาทต่อเดือน จากเดิม 70 บาท : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต

  • ทางเลือกที่ 2 จ่าย 60 บาทต่อเดือน จากเดิม 100 บาท : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ

  • ทางเลือกที่ 3 จ่าย 180 บาทต่อเดือน จากเดิม 300 บาท : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร

 

อัปเดต วิธีสมัคร "ประกันสังคม ม. 40"  พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทดแทน

 

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน / ปี การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ บัตรทอง 30 บาท ผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 จะใช้สิทธิบัตรทองได้เหมือนเดิม เพียงแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีประสบอันตราย / เจ็บป่วย : ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย เจ็บป่วย รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 - 1,000 บาท / เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี เสียชีวิตก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

 

อัปเดต วิธีสมัคร "ประกันสังคม ม. 40"  พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทดแทน

 

เงื่อนไขในการรับสิทธิ กรณีทุพพลภาพ

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ) 

ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด เงื่อนไขการรับสิทธิดังนี้ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ) 

ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท / เดือน ตลอดจนเสียชีวิต กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน

 

เงื่อนไขการรับสิทธิ 

ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก จ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท / เดือน และสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555

 

เงินสงเคราะห์บุตร

ในกรณีเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 จะมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบตามที่ประกันสังคมกำหนดด้วย

 

อัปเดต วิธีสมัคร "ประกันสังคม ม. 40"  พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทดแทน

 

วิธีเช็กประกันสังคมมาตรา 40 ดังนี้

  • ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th คลิก

  • ลงทะเบียนผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 คลิก

  • เข้าสู่ระบบสมาชิกเว็บไซต์ประกันสังคม คลิก

 

 สำหรับคนที่ไม่สะดวกสมัครผ่านเว็บไซต์ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ในช่องทางอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  1. สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
  2. สายด่วนประกันสังคม หมายเลข 1506
  3. เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
  4. ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา
  5. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
  6. เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ

 

ช่องทางการชำระเงินสมทบ เคาน์เตอร์ธนาคาร / หน่วยบริการ ดังนี้

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  4. เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11)
  5. เคาน์เตอร์โลตัส
  6. ตู้บุญเติม
  7. เคาน์เตอร์บิ๊กซี
  8. เคาน์เตอร์ CenPay Powered by บุญเติม

 

logoline