svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

25 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอประสิทธิ์ เผยการรับวัคซีนครบช่วยลดเกิด Long COVID ได้ 49% แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ส่วนเข็ม 4 ขอให้รอข้อมูล คาดวัคซีนรุ่น 2 อีกไม่นาน เชื่อแนวโน้มสูงข้าช่วงปลายการระบาดของโควิด-19

25 มกราคม 2565 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล อัปเดต "สถานการณ์ของสายพันธุ์ Omicron จากทั่วโลก 2 เดือนหลังการเริ่มแพร่ระบาด"  ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ “Mahidol University” ระบุว่า..

 

สถานการณ์การระบาด โอมิครอน ทุกประเทศคล้ายกัน การติดเชื้อรุนแรงป่วยเพิ่มขึ้น แต่อัตราเสียชีวิตไม่ได้เพิ่มตามการติดเชื้อ โดยทั่วโลกฉีดวัคซีนแล้วกว่า 9.9 พันล้านโดส ฉีดวันละ 36 ล้านโดส ประชากรทั่วโลกเกือบ 8 พันล้านคนได้รับวัคซีนแล้ว (ข้อมูลวันที่ 23 ม.ค.)

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

 

สำหรับ ประเทศไทย การบริหารจัดการโควิด-19 สายพันธุ์ เดลตา ทำได้ดี จากวันละ 2 หมื่นคนต่อวันก็เริ่มลง จากนั้นก็เจอ โอมิครอน ขณะนี้ป่วยอยู่ประมาณ 7-8 พันคนต่อวันเป็นสัปดาห์แล้ว และเสียชีวิตยังตัวเลข 2 หลัก ส่วนใหญ่สิบกว่าๆ โดยฉีดวัคซีนแล้ว 111 ล้านโดสจากประชากรกว่า 70 ล้านคน ฉีดเข็มกระตุ้นไปแล้ว 15.8% 

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

 

ประเทศไทย ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่นในภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19  ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนหลังการประกาศสายพันธุ์โอมิครอน จากข้อมูลที่เกิดขึ้น โอมิครอนแพร่เร็วกว่าเดลตา ซึ่งการแพร่เร็วไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณไวรัสในผู้ติดเชื้อ แต่มาจากคุณสมบัติของโอมิครอนเอง

 

“ความจำเป็นต้องรับการรักษาในรพ. น้อยกว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ในไทยจึงมีการจัดระบบการรักษาในบ้าน แต่หากอาการเพิ่มขึ้นก็จะต้องนอนรพ. แต่อัตราการนอนรพ.ของโอมิครอนมีเพียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2  เนื่องจากอาการรุนแรงน้อยกว่าเดลตา”

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า โอมิครอน หลบภูมิคุ้มกันเรามากกว่าเดลตา ขณะเดียวกันไม่สามารถแยกอาการชัดเจนว่า แบบไหนโอมิครอนหรือเดลตา แต่แยกได้หลักๆ บ้าง คือ น้ำมูกไหล ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว จามบ่อยและเจ็บคอ ส่วนอาการไข้สูง ไม่ได้กลิ่นหรือไม่ได้รส พบไม่บ่อยเหมือนเดลตา แต่จริงๆ อาการเหล่านี้สงสัยว่าป่วยโควิดก่อน ไม่ต้องคิดว่าสายพันธุ์อะไร 

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

ขณะที่ การศึกษาในสัตว์ พบว่า เชื้อโอมิครอน มักติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ลงปอดมากเหมือนเดลตา ทำให้อาการไม่ค่อยรุนแรง แต่แพร่ง่าย แพร่เร็ว เพราะจามง่ายขึ้นได้

 

ทั้งนี้ ยาที่มีรายงานว่าได้ผลดีต่อโอมิครอนนั้น Favipiravir , Molnupiravir, Nirmatrelvir และ Remdesivir ถือว่ายังได้ผลดี ส่วนกลุ่ม Monoclonal antibody  ตามรายงานของ US-FDA ยังได้ผลดีต่อโอมิครอน อยู่ แต่ยาที่มีรายงานว่าอาจไม่ได้ผล คือ Regeneron 

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

 

การศึกษาจาก Imperial College  ในกรุงลอนดอนพบว่า การจะมีภูมิฯช่วยลดการติดเชื้อ หรือติดเชื้อที่มีอาการมากจำเป็นต้องได้รับวัคซีน 3 เข็ม

 

“คนฉีด 2 เข็ม ขอให้ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ห่างกันประมาณ 3 เดือน แต่ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อเสนอแนะว่า ให้ฉีดทุกๆ 3-6 เดือน เพราะยังต้องติดตามสถานการณ์ของไวรัสนี้ต่อไป และอีกไม่กี่เดือนจะมีวัคซีนรุ่น 2 ออกมาอีก ซึ่งก็ต้องพิจารณาว่ามีอะไรเพิ่มเติม”

 

ดังนั้น คนฉีดเข็ม 2 ให้ฉีดเข็ม 3 แต่คนฉีดเข็ม 3 แล้วขอให้ติดตามข้อมูลก่อน ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงมากๆ ต้องฉีดเข็ม 4 นี่คือเหตุผลที่ทั่วโลกมีการฉีดเข็มกระตุ้นเหมือนไทย

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การจะชนะ โอมิครอน ทั่วโลกต้องช่วยกัน พลโลกส่วนใหญ่ต้องได้รับวัคซีนให้ครบ และการหวังให้เกิดมีภูมิคุ้มกันโดยการติดเชื้อ เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ เพราะอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ที่สำคัญหากได้เชื้อเข้าไป ตัวเองอาจไม่มีอะไร แต่ท่านอาจนำเชื้อไปติดผู้ใหญ่ที่บ้านได้  ซึ่งการเพิ่มภูมิฯที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

 

สำหรับภาวะ Long COVID  เป็นกลุ่มอาการที่พบได้หลังจากติดเชื้อ อาจพบได้เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ มีมากกว่า 50 อาการที่พบ ระยะเวลาที่มีอาการในสหราชอาณาจักรถือว่าไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ในสหรัฐระบุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ การได้รับการฉีดวัคซีนครบ จะช่วยลดโอกาสเกิดได้ถึง 49%  ส่วนโอมิครอนหรือเดลตาจะแตกต่างอย่างไรหากเป็น Long COVID ยังไม่มีหลักฐาน

 

“ ผลจากการแพร่ระบาดเร็วของโอมิครอน แต่ก่อให้เกิดอาการน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่เข้าสู่ช่วงปลายของการแพร่ระบาดของโควิด19  จากผลรวมของประชากรที่มีภูมิคุ้มกัน ทั้งจากการฉีดวัคซีนและหายจากการติดเชื้อ แต่อย่าไปหวังติดเชื้อเอง เพราะไม่คุ้ม ” 

 

หมอประสิทธิ์ แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ลดภาวะ Long COVID ส่วนเข็ม 4 รอวัคซีนรุ่น 2

ศ.นพ.ประสิทธ์ กล่าวตอนท้ายว่า ส่วนวิถีการใช้ชีวิตแม้จะไม่กลับมาเป็นปกติ แต่จะเป็นการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ คือ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดการแพร่ระบาดจากเชื้อโรคใหม่ และจะเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น เดิมทำงานที่สถานที่ทำงาน แต่เมื่อมีโควิดได้ทำงานที่บ้าน อาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น ล้างมือบ่อย อย่าถอยกลับไปเหมือนเดิม รักษาสิ่งดีๆเหล่านี้ไว้ 

 


ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

logoline