svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ประภัตร" แจงสภายันรัฐบาลไม่ปกปิดโรคระบาดสุกร ยันตรวจซากไม่ใช่ ASF

20 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ยืนยันว่าไม่เจอก็ไม่เจอสิ! รัฐบาลฝ่ายค้านซัดกันนัว "ประภัตร" แจงสภารัฐบาลเคยไม่ปกปิดโรคระบาดสุกร ยืนยันตรวจซากแล้วเป็น PRRS ไม่ใช่ ASF ส่วนสาเหตุที่หมูแพงเพราะต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ขณะที่ฝ่ายค้านท้าขุดซากหมูตรวจใหม่พร้อมพาลุยแหล่งสต๊อกเนื้อหมูเพื่อปั่นราคา

     วันนี้ (20 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ ช่วงกระทู้ถามสด ของนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ถึงโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร หรือ AFS ว่า เมื่อเดือน ส.ค. 62 เจอซากสุกรลอยน้ำในแม่น้ำโขง ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตนลงพื้นที่ด้วยตนเอง และได้ตรวจพิสูจน์ซากเชื่อว่า เป็นโรคระบาดในสุกรที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ดังนั้นต้องกำจัดด้วยการทำลายสุกร อย่างไรก็ดีการป้องกันโรคระบาด ช่วงแรกเอกชนลงขันเป็นเงินหลัก 100 ล้านบาท และคิดเป็นค่าเผาทำลายสุกร รวม 90 ล้านบาท ทั้งนี้สุกรยังไม่เป็นโรค แต่ต้องสกัดกั้นการระบาด 

 

      นายประภัตร ชี้แจงว่า ผลแล็ประบุว่าไม่พบอหิวาห์แอฟริกา เป็นตรวจไวรัสแต่เป็น PRRS ดังนั้นไม่ใช่ว่า เราไม่ยอมรับ แต่ผลแล็ปยืนยันมาแบบนี้ ผมขอทำความเข้าใจกับสมาชิกต่อกรณีการปกปิด ทั้งนี้โรคในสุกรที่ตายจำนวนมาก คือ โรคเอเอสเอฟ, โรคพีอาร์อาร์เอส ระบบสืบพันธุ์และระบบหายใจ และ ซีเอสเอฟ อหิวาห์ในสุกร ซึ่งอาการของโรคนั้นเหมือนกัน และตายภายใน 1 วัน  

     โดยเอเอสเอฟ ไม่มีวัคซีน ส่วนโรคพีอาร์อาร์เอส เกษตรกรไม่อยากฉีดเพราะยามีราคาแพง ส่วนซีเอสเอฟ ฉีดได้ทุกตัวเพราะราคาถูก อย่างไรก็ดีผลแล็ป อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ที่ตายพอสมควร ระบุว่าเป็นพีอาร์เอส ส่วนโรคซีเอสเอฟ เพิ่งเจอปี 65 ที่โรงฆ่าสัตว์นครปฐม อย่างไรก็ดีรัฐบาลไม่มีการปกปิด สำหรับหมูที่ ตายทั้งสิ้น 2.7 แสนตัว ผลแล็ปบอกว่าเป็นพีอาร์อาร์เอส  

 

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     นายประภัตร กล่าวว่า ปริมาณหมูในประเทศมีจำนวน 19 ล้านตัว ทั้งนี้ มีกลุ่มผู้เลี้ยงรวม 1.9 แสนราย แบ่งเป็นรายย่อยและรายเล็ก 1.8 แสนราย มีปริมาณหมูที่เลี้ยง ประมาณ 4 ล้านตัว ขณะที่รายใหญ่ 200 ราย และ รายกลาง 3,000 ราย มีปริมาณหมูที่เลี้ยง 15 ล้านตัว ส่วนราคาหมูที่มีราคาแพง กรมการค้าภายในเป็นผู้กำหนดราคา โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูแพง เนื่องจากราคาอาหาร และ ราคาลูกหมู  โดยในเดือน พ.ย พบว่าเดือน พ.ย. 64 ราคาต้นทุนการเลี้ยง 82 บาท เขียงหมูขาย 160 บาท แต่ในเดือน ธ.ค. 64 - ม.ค. 65 ต้นทุนขึ้น 91 บาท ราคาหน้าฟาร์ม 110 บาท ราคาขายเนื้อแดง 215 บาท 

 

"ประภัตร" แจงสภายันรัฐบาลไม่ปกปิดโรคระบาดสุกร ยันตรวจซากไม่ใช่ ASF

"ประภัตร" แจงสภายันรัฐบาลไม่ปกปิดโรคระบาดสุกร ยันตรวจซากไม่ใช่ ASF
 

     ทั้งนี้ นายจุลพันธุ์ ได้ท้าพิสูจน์ให้ขุดซากหมูขึ้นมาตรวจอีกครั้ง เชื่อว่าจะเจอโรคเอเอสเอฟแน่นอน อย่างไรก็ดีการปกปิดข้อมูลดังกล่าวมีเป็นอย่างระบบ นอกจากนั้นในส่วนของราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้น เชื่อว่ามีผู้ได้ประโยชน์จากผู้ค้าที่เก็บสต๊อกเนื้อหมู และตนพร้อมจะพาไปแหล่งที่เก็บสต๊อกเนื้อหมู ไม่ใช่ไปตรวจสต๊อกที่โรงเนื้อแกะและเนื้อวัว

 

โดยนายประภัตร กล่าวยอมรับว่า "ผมไม่ได้แกล้งเซ่อ แต่ตรวจไม่เจอจริง" 

 

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย

logoline