svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

14 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบช้างป่า ได้รับบาดเจ็บบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำกระหร่าง จากการตรวจสอบพบ เป็นเป็นช้างสีดอเพศผู้ ชื่อ “เจ้าด้วน” อายุประมาณ 50-60 ปี ได้รับบาดเจ็บพบบาดแผลจากการชนกับช้าง พบบาดแผลเป็นรอยงาแทง ขวา 2 แผลขนาดใหญ่

ตามที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ได้รับการประสานงานว่าพบช้างป่าเจ้าด้วน ได้รับบาดเจ็บบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำกระหร่าง 3 หมู่ 3 บ้านป่าแดง ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

 

จึงประสานนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ “หมอล็อต” สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชุดกู้ภัยและช่วยเหลือสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับคณะทีมสัตวแพทย์ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 ประทับช้าง สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย ทหารชุดเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ และเจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย นั้น โดยมีลำดับเหตุการณ์ในการรักษาช้างป่า ดังนี้

 

วันที่ 10 มกราคม 2565 (เวลาประมาณ 15.00) น. หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน , ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับคณะทีมสัตวแพทย์จากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ

 

นำโดยนายภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 ประทับช้าง , สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย , เจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ และเจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย  ลงพื้นที่ติดตามตัวช้างป่าสีดอ(ด้วน) ที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อวางแผนการรักษา

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

 

จากการตรวจสอบพบ เป็นเป็นช้างสีดอเพศผู้ ชื่อ “เจ้าด้วน” อายุประมาณ 50-60 ปี หนักกว่า 5 ตัน ซึ่งได้รับบาดเจ็บพบบาดแผลจากการชนกับช้างจากการตรวจสอบพบบาดแผลจากการชน ซึ่งเป็นรอยงาแทง ขวา 2 แผลขนาดใหญ่ แผลจากรอยงาแทง ซ้าย 3 ขนาดใหญ่ และมีรอยแผลบริเวณหัวช้าง 1 แผล และรอยคล้ายรูกระสุนปืนเล็กๆ บริเวณโคนหางและสะโพกซ้าย จำนวน 5 แผล

ทีมสัตวแพทย์ที่ได้ใช้ยาควบคุมอาการเคลื่อนไหว (ยาซึม) เริ่มวางยาซึม (ช่วงเวลา 15.24 น.) ยาซึมคำนวณตามน้ำหนักตัวช้าง จำนวน 25 ซีซี  

 

ผ่านไป 50 นาที ฤทธิ์ยาซึมยังเข้าหาตัวช้างไม่ได้ จึงคำนวณโดรสยาซึมเพิ่มเติม ให้ยาซึมครังที่ 2 จำนวน 8 ซีซี (ช่วงเวลา 16.21 น.) ผ่านไป 21 นาที ช้างหยุดการเคลื่อนไหว สามารถเข้าทำงานได้ แต่ยังขยับขาเดินไปข้างหน้าได้ แต่ งวงตก อวัยวะเพศหย่อน ตามฤทธิ์ยาซึม (พิจารณาใช้โดสเท่านี้ เพื่อทำการรักษา )

 

ทางทีมสัตวแพทย์โดยให้ยาปฎิชีวนะ (excede) ยาลดการอักเสบ(flunixin)จำนวน 200 ซีซี ยาบำรุงร่างกาย (B-100 ) จำนวน 100 ซีซี  วัคซีนบาดทะยัก 2 ซีซี  หลังนั้นช้างขยับไปข้างหน้ามากขึ้น ไม่สามารถ เปิดเส้นเลือดที่ใบหูได้ จึงให้ยาซึม เพิ่ม 5 ซีซี  (ช่วงเวลา 17.03 น.) ผ่านไป 10 นาที ช้างหลับดีขึ้น มีเสียงกรน จึงทำการเปิดเส้นเลือดให้สารน้ำเข้ากระแสเลือด และเก็บเลือดส่งตรวจ

 

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

 

หลังจากนั้นสัตวแพทย์ เปิดตำแหน่งแผลระบายหนองออกจากรูแผล พบฝีหนองเป็นจำนวนมาก ทำความสะอาดโดยไฮโดรเจนเจือจาง ฟลัชล้างฝีหนองออกตามรูแผลต่างๆที่พบเจอ จนคราบหนองออกจนหมด ตามด้วยล้างแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผลจนสะอาด

 

หลังจากนั้นนำน้ำยาสคับล้างฆ่าเชื้อโรคตามรูแผลต่างให้สะอาด ตามด้วยน้ำเกลือล้างแผลจนสะอาด  หลังจากนั้นใช้เบต้าดีนเจือจางล้างแผลให้สะอาด ตามด้วยล้างโดยน้ำเกลือล้างแผลจนสะอาด หลังนั้นซับแผลด้วยผ่าก๊อชให้แห้ง ทายาปฏิชีวนะภายนอก ตามด้วยยาผงกันแมลง ให้น้ำเกลือจำนวน 3 ขวดทางเส้น ใต้ผิวหนัง จำนวน 2 ขวด

 

 

พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ หลังจากทำการรักษาครบทุกขั้นตอนแล้ว ให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม จำนวน 60 ซีซี (ในช่วง18.16) ใช้เวลาในการทำงานเป็นจำนวน 2 ชั่วโมง 54 นาที หลังจะเริ่มให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม จึงให้ คณะเจ้าหน้าจึงออกมาจากพื้นที่ สัตวแพทย์เริ่มให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม ประมาณ 18.23 น. หาง และใบหูเริ่มขยับ 18.24 น.ลำตัวเริ่มขยับ 18.28 น. ขยับขาถอยหลังออกมา จึงมอบให้ชุดเจ้าหน้าที่ ติดตามอาการห่างๆดูอาการอย่างใกล้ชิด

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

 

วันที่ 11 ธันวาคม 2565  นายวุฒิพงษ์ ศรีช่วย ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับคณะทีมสัตวแพทย์จากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ , ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 ประทับช้าง , สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย , เจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ และเจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย

 

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ช่วงกลางคืน ช้างมีการเดินไป เดินมา รอบๆสวนชาวบ้าน (ช่วงเวลา 12.00 น.) ช้างยืนหลับ ค่อยๆขยับตัว สัตวแพทย์ให้สังเกตอาการต่อไป  ระหว่างสังเกตอาการได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ นำเลือดไปส่งตรวจที่ห้องเลปปฎิบัติการหัวหิน รายงานผลพบผลเลือดบ่งบอกว่าเกิดโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวพบระดับสูงแต่ยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน และค่าตับ ค่าไต ยังอยู่เกณฑ์ปกติ และผลตรวจโรคที่สำคัญในช้าง เก็บส่งตรวจไปที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

 

หากผลออกจะรายงานให้ทราบต่อไป (ช่วงเวลา 17.00 น.) ช้างยังไม่หมดถฤทธิ์ยาซึมไม่ดี จึงให้แก้ยาซึมเพิ่ม 20 ซีซี จึงมอบให้ชุดเจ้าหน้าที่ ติดตามอาการห่างๆดูอาการอย่างใกล้ชิด

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

 

วันที่ 12 มกราคม 2565 นายวุฒิพงษ์ ศรีช่วย ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับคณะทีมสัตวแพทย์จากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ , ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 ประทับช้าง , สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย , เจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ และเจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เข้าพื้นที่ติดตามสังเกตอาการช้างป่าสีดอ(ด้วน) ต่อเนื่องที่บริเวณท้องที่หมู่ 3 บ้านป่าแดง ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

 

จากการเฝ้าติดตามสังเกตอาการ พบว่าช้างป่าตัวดังกล่าวเริ่มออกหากินได้ปกติ และไม่มีท่าทีอ่อนเพลีย ต่อมาเมื่อเวลา 10.00 น. คณะทีมสัตวแพทย์ฯ และเจ้าหน้าที่ฯ ได้นำยาบำรุงเลือด จำนวน 50 เม็ด , วิตามิน ใส่เข้าไปในผลไม้ (กล้วย) เพื่อให้ช้างป่ากิน ผลปรากฏว่า ช้างป่านำผลไม้(กล้วย) เข้าปากแต่คลายออกไม่กลืน  พฤติกรรมโดยทั่วไปช้างป่าเริ่มมีแรง และมีปฏิกิริยาตอบสนองมากขึ้น ในส่วนของบาดแผลยังคงต้องเฝ้าระวังติดตามและวางแผนการรักษาในครั้งถัดไป

 

ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนผลไม้(กล้วย) จาก หจก.เอ็นแอนด์เอ็นฟรุทส์ คุณอาคม คงกระเรียน และสิ่งของที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน จากหจก.กบเทร็คกิ้ง , กลุ่มดูนกเพชรบุรีเครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำเพชรบุรี โดยนายเกียรติศักดิ์ กล่อมสกุล

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

 

วันที่ 13 มกราคม 2565 นายวุฒิพงษ์ ศรีช่วย ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อบต.ป่าเด็ง , ชาวบ้านจิตอาสาหมู่ 3 ตำบลป่าเด็งฯ  เข้าพื้นที่ติดตามช้างป่าสีดอ(ด้วน) ที่บริเวณท้องที่หมู่ 3 บ้านป่าแดง ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จากการเฝ้าติดตาม พบว่าช้างป่าสีดอ(ด้วน) ออกหากินอยู่บริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำกระหร่าง 3 ซึ่งอยู่ใกล้กับที่ทำกินละแวกชุมชน พฤติกรรมโดยทั่วไปช้างป่ามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการต้อนผลักดันให้เข้าป่า ในส่วนของบาดแผลบางจุดเริ่มแห้งไม่มีการกลัดหนอง

 

วันที่ 14 มกราคม 2565 ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี, หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน , ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ และเจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เข้าพื้นที่ติดตามช้างป่าสีดอ (ด้วน)

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

 

พบว่ามีอาการดีขึ้น เดินกินหญ้าเป็นปกติ แผลไม่บวม และลงเล่นน้ำอยู่บริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำใกล้ละแวกชุมชน ซึ่งอาจเกิดอันตรายกับประชาชนในพื้นที่ หลังจากที่ช้างป่าได้ขึ้นจากน้ำ เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการผลักดันช้างป่า (เพื่อความปลอดภัยของประชาชน) เข้าป่าซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บริเวณอ่างเก็บน้ำกะหร่าง 3 ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ได้มอบเสบียงและสิ่งของที่จำเป็นแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่

 

เปิดแผนรักษาช้างป่า "เจ้าด้วน" บาดเจ็บ เหตุศึกชนช้าง

logoline