svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ซูเปอร์โพล" โต้นักวิชาการปมโพลบุคคลแห่งปี ยัน "โพล" ทำตามหลักวิชาการ

04 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เดือดฉ่า! "ซูเปอร์โพล" โต้นักวิชาการปมตั้งข้อสงสัยโพลบุคคลแห่งปี ยืนยัน "โพล" ทำตามหลักวิชาการ แนะฐานะนักวิชาการที่ดีควรจะมาช่วยกันลดอคติต่อกัน

     วันนี้ (4 ม.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณี ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ Warwick Business School ตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยต่อผลสำรวจของซูเปอร์โพล เรื่อง บุคคลแห่งปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจพบ บุคคลแห่งปี ที่ช่วยเหลือแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนและปัญหาสังคมอันดับที่ 1 คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และ รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 40.0 (อ่านต่อรายละเอียด)

 

     โดยระบุว่า จากข้ออ้างเพียงสองข้อของนักวิชาการท่านนี้ แล้วมาสรุปว่า ผลของซูเปอร์โพลว่า โพลนี้ทำขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่าคำตอบจะต้องเป็นคนใดคนหนึ่งที่คนทำโพลได้เลือกมาไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยทางด้านสถิติไม่ทำกันเพราะมันผิดกระบวนการ ตามที่เผยแพร่ในบทความของนักวิชาการท่านนั้น

 

     ยืนยันว่า โพลนี้ทำขึ้นมาไม่มีความตั้งใจว่าคำตอบจะต้องเป็นคนใดคนหนึ่งที่คนทำโพลเลือกมาไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว แต่โพลนี้มีตัวเลือกมาจากการศึกษาวิจัยทั้งจากเอกสารที่เคยมีมาก่อนหน้านี้และจากประชาชนถึงบุคคลที่มีนัยสำคัญในแต่ละด้านที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) เป็นวิทยาศาสตร์และมาจากอัตวิสัย (Subjectivity) ของประชาชนผู้ถูกศึกษา
 

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล

 

     การสรุปของนักวิชาการจากข้ออ้างเพียงสองข้อที่แกะออกมาได้จากบทความนี้ ไม่น่าจะเพียงพอที่จะสรุปว่า โพลนี้ผิดกระบวนการ เพราะข้ออ้าง (premises) ทั้งสองท่านนักวิชาการผู้นี้ก็เป็นข้ออ้างที่ลอย ๆ เพราะตั้งขึ้นโดยคาดเดาไปเองรวมทั้งข้อสรุปและข้อเสนอแนะก็เป็นเชิงสมมติฐานเพราะขาดข้อมูลจริงมารองรับ โดยซูเปอร์โพลยืนยันว่าทำถูกต้องตามกระบวนการและหลักการวิจัยที่ประยุกต์ใช้ทั้งผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้และข้อมูลสัมภาษณ์เจาะลึกจากประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

 

     โดยสรุป ซูเปอร์โพลทำโพลแต่ละเรื่องมีหลักการและไม่เคยผิดหลักการอย่างแน่นอนเพราะไม่ใช่โพลเฉพาะกิจจึงทำโพลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical data) และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วและข้อมูลเชิงอัตวิสัย (Subjectivity) จากประชาชนผู้ถูกศึกษา ดังนั้นจึงอยู่ที่การรับรู้สาธารณะ (Public Perception) มุมมองที่แตกต่างกันและหลักการระเบียบวิธีการสำรวจ จึงสะท้อนให้เห็นว่า
 

"ซูเปอร์โพล" โต้นักวิชาการปมโพลบุคคลแห่งปี ยัน "โพล" ทำตามหลักวิชาการ

     ข้ออ้างและข้อสรุปในบทความของนักวิชาการท่านนี้เป็นสิ่งที่ดีแต่ข้ออ้างต่าง ๆ (premises) นั้นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ไม่ครบถ้วนและข้อสรุป (conclusions) ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอมาด่วนสรุป (jump to conclusions) แทนที่จะด่วนสรุปว่าคนอื่นเขาทำผิดกระบวนการ ผู้สรุปควรมีข้อมูลความเป็นจริงครบถ้วนรอบด้านมองในมุมเดียวกันและหลักการเดียวกันเสียก่อน อย่าใจร้อนออกมาว่าคนอื่นเขา ถ้ายังไม่รู้ความจริงว่าคืออะไร เพื่อว่าพวกเราในฐานะนักวิชาการที่ดีควรจะมาช่วยกันลดอคติ (Bias) ต่อกันจะดีกว่าหรือไม่ ลองพิจารณาดู เพราะไม่ต้องการให้ใครมาเชื่ออยู่แล้วและส่วนตัวเขียนบทความอยู่ในเว็บไซต์ของซูเปอร์โพล www.superpoll.co.th ตัวใหญ่ ๆ อยู่ให้เห็นว่า “อย่าเชื่อโพล” ที่เขียนโดยคนทำโพล ลองเข้าไปหาอ่านดูได้จะได้ช่วยกันลดอคติที่มีต่อกันได้ในทางใดทางหนึ่ง (someway somehow)

 

     ซูเปอร์โพล เข้าใจดีว่าตลอดปีที่ผ่านมา ชาติบ้านเมืองและประชาชนได้เจออะไรที่วิกฤตหนัก ๆ ทั้ง วิกฤตโควิด วิกฤตเศรษฐกิจ ปากท้อง สังคมการเมืองและอื่น ๆ จึงย่อมจะมีกระแสตอบโต้แรง แต่ถ้าเราตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิหาจุดที่ดีร่วมกันและระลึกเสมอว่าสังคมไทยไม่สิ้นคนดีต้องช่วยกันทำให้คนดีมีที่ยืนอย่างแน่นอน บ้านเมืองของเราและประชาชนของเราจึงผ่านพ้นมาได้แม้ว่าอนาคตข้างหน้าอาจจะเจออะไรที่หนักกว่านี้แต่ก็จะผ่านพ้นไปได้เพราะสังคมไทยไม่สิ้นคนดี เหล่านี้คือหลักการ (Principles) และมุมมอง (Perspectives) และปฏิบัติการ (Practices) ของซูเปอร์โพล และหวังว่า คนในรัฐบาลจะทำอะไรต่อยอดที่ดีต่อชาติบ้านเมืองและประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ไม่นำไปเข้าข้างตนเองเมื่อเห็นผลสำรวจนี้ 

 

กรณี ศ.ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ Warwick Business School

logoline