svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

นาซาแชร์ภาพ "ลีโอนาร์ด" ที่ดอยอินทนนท์

28 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

NASA แชร์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำวัน แสดงให้เห็นทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ และดาวหางลีโอนาร์ด ขณะเดินทางผ่านประเทศไทย โดยเห็นเจดีย์บนดอยอินทนน์ได้อย่างชัดเจน

นาซาแชร์ภาพ "ลีโอนาร์ด" ที่ดอยอินทนนท์

 

องค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (NASA) แชร์ภาพดาราศาสตร์ประจำวัน (Astronomy Picture of the Day) ถ่ายโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ขณะที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เวบบ์" (James Webb Space Telescope ) เดินทางผ่านน่านฟ้าประเทศไทย โดยเห็นยอด "พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล" บนดอยอินทนน์ จังหวัดเชียงใหม่อย่างชัดเจน และยังเห็นดาวหาง C/2021 A1 หรือ ลีโอนาร์ด (Comet Leonard) โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 70,000 ปี และเป็นครั้งสุดท้ายที่ดาวหาง ดวงนี้เข้ามาในระบบสุริยะ ก่อนที่จะจากไปโดยไม่กลับมาอีก 

 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เวบบ์" ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ประมาณ 40 นาที ก็เดินทางผ่านน่านฟ้าประเทศไทย สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สามารถเห็นได้หลายพื้นที่ ของภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ 

นาซาแชร์ภาพ "ลีโอนาร์ด" ที่ดอยอินทนนท์

 

ดาวหางลีโอนาร์ด ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 3 มกราคม ปี 2564 โดย เกรกอรี เจ. ลีโอนาร์ด (G. J. Leonard) แห่งหอดูดาวทางดาราศาสตร์ "เมาท์ เลมมอน" ( Mount Lemmon Observatory) บนเขาซานตา คาตาลินา เขตป่าสงวนแห่งชาติโคโรนาโด ( Coronado National Forest) ซึ่งตลอดทั้งปี ดาวหางจะค่อยๆ เคลื่อนใกล้เข้าไปยังระบบสุริยะชั้นใน แสงจากดวงอาทิตย์ค่อยๆ ทำให้แก๊สในดาวหางระเหิดออก ฟุ้งกระจายทั่วอวกาศโดยรอบ ปรากฏเป็นหางยาวออกมา และโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ระยะห่าง 34.9 ล้านกิโลเมตร โดยจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 3 มกราคม 2565 ก่อนจะถูกเหวี่ยงออกไปจากระบบสุริยะ จึงเป็นโอกาสเดียวในชีวิตที่จะได้เห็นดาวหางดวงนี้ ที่ถือเป็นของขวัญส่งท้ายปี 2564 ที่สุดแสนมหัศจรรย์


 

นาซาแชร์ภาพ "ลีโอนาร์ด" ที่ดอยอินทนนท์

 

และตลอดทั้งปีดาวหางก็ได้ค่อยๆ เคลื่อนที่ใกล้เข้ามายังระบบสุริยะชั้นใน แสงจากดวงอาทิตย์ค่อยๆ ทำให้แก๊สในดาวหางระเหิดออก ฟุ้งกระจายไปทั่วอวกาศโดยรอบ ปรากฏเป็นดาวหางที่มีหางยาวออกมา ได้โคจรเข้าใกล้โลกที่สุดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา

 

ที่ระยะห่าง 34.9 ล้านกิโลเมตร และกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 3 มกราคม 2565 ก่อนที่จะถูกเหวี่ยงออกไปจากระบบสุริยะ จึงเป็นโอกาสเดียวในชีวิตที่เราจะได้ชมดาวหางดวงนี้ ถือเป็นของขวัญส่งท้ายปี 2564 ที่สุดแสนมหัศจรรย์
 

logoline