svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

27 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปฏิกิริยาของประชาชนที่ส่งผ่านแบบสอบถามของโพล และการตั้งฉายาให้กับรัฐบาลในแต่ละห้วงจะเป็นตัวสะท้อนเรื่องของศรัทธาและความเชื่อมั่นในรัฐบาลแต่ละครั้ง และในรอบนี้เข้าขั้นวิกฤต

ทุกรัฐบาลจะต้องเผชิญกับวิกฤติ ศรัทธา ความเชื่อมั่น ทุกรัฐบาลจะเผชิญสิ่งเหล่านี้เพียงแต่ว่าจะเจอช่วงไหนของอายุรัฐบาล ผลที่ออกมาเป็นการบ่งบอกความรู้สึกของประชาชนที่สะท้อนกลับไปที่รัฐบาล

 

โพล-ฉายา เป็นตัวสะท้อนวิกฤติหรือความรู้สึกของประชาชนในห้วงเวลานั้น ปัจจุบันรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับฉายาว่า "ยื้อยุทธ์" ภาพของรัฐบาล ที่ยื้อแย่งกันเองทั้งในส่วนของอำนาจ ตำแหน่ง ถูกมองว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม และมองการดำรงอยู่ของพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานผู้นำรัฐบาล จะเป็นประโยชน์มากกว่า จึงต้องทำทุกอย่างเพื่อยื้อให้พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ต่อไป ไม่ว่าจมีการชุมนุมขับไล่ใสส่งอย่างไร ใครไม่อยู่ แต่พล.อ.ประยุทธ์ อยู่

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : "ชำรุดยุทธ์โทรม" การบริหารราชการแผ่นดินทั้งปีที่ผ่านมา ถือได้ว่า เป็นผู้ที่รับบทหนัก ถูกมองว่าล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาโควิด-19 การกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือแม้แต่เรื่องการเมือง ถูกโจมตีรอบด้าน แม้ยังอยู่ในตำแหน่งได้ แต่ก็ทธุดโทรมเสื่อมสภาพไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ

 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ : "รองช้ำ" พี่ใหญ่ในตระกูล 3 ป. ประสบกับเรื่องซ้ำๆ เจ็บช้ำๆ มาโดยตลอด หลายสถานการณ์ต้องตกเป็นรอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือการเมือง โดยเฉพาะเป็นหาภายในพรรค ที่เกิดความแตกแยกอย่างหนักสะเทือนถึงพี่น้องอีก 2ป. สั่นคลอน "3 ป. Forever" ซ้ายก็น้องรัก ขวาก็ลูกน้องที่รัก หักใจเลือกใครไม่ได้ สุดท้ายต้องยอมแบกความเจ็บช้ำไว้คนเดียว

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

ความรู้สึกของประชาชน บุคคลที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายก

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

เป็นเกมที่พรรคการเมืองพรรคแกนนำจะต้องพิจารณา เพราะเหตุใดที่ทำให้ประชาชนคิดว่าพรรคพลังประชารัฐมีขีดจำกัดและไม่เชื่อมั่น

 

  • ฉายารัฐบาล ปี 62 : รัฐเชียงกง สะท้อนภาพรัฐบาลคล้ายแหล่งค้าขายอะใหล่มือสอง ประกอบกันขึ้นจาก ข้าราชการยุคก่อนและนักการเมืองหน้าเก่า แม้ใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังขาดความน่าเชื่อถือ สะท้อนความไม่มีเสถียรภาพ

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : อิเหนาเมาหมัด มักจะตำหนิ ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต สุดท้ายกลับมาทำเอง ไม่สามารถควบคุมให้รัฐบาลเป็นเอกภาพ เกิดปัญหาติดขัดพรรคร่วม และฝ่ายตรงข้ามรุมเร้าคล้ายโดนระตมหมัดเข้าถาโถม แม้พยายามสวนหมัดสู้ แต่หลายครั้งถึงกับมีนชกโดนตนเองก็มี

  • ฉายารัฐบาล ปี 63 : VERY "กู้" การทำงานของรัฐบาล ต้องกอบกู้วิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 กู้ชีวิตคนไทยรอดปลอดภัย แม้จะไม่ถึงขั้น very good ก็ตาม ขณะเดียวกัน ผลพวงวิกฤตเศรษฐกิจปัญหาปากท้องคนไทยที่ต้องแบกรับภาระหนี้สิน และภาวะตกงาน ส่งผลให้รัฐบาลต้องกู้เงินสูงที่สุดในประวัติศาสตร์มาบรรเทาปัญหา

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : ตู่ไม่รู้ล้ม เป็นการล้อคำ "โด่ไม่รู้ล้ม" ชื่อยาดองชนิดหนึ่ง สรรพคุณคึกคัก กระปี้กระเปร่า ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สะท้อนถึงการทำงานของนายกฯที่ไม่ว่าจะประสบปัญหา อุปสรรคการเมือง หรือชุมนุมขับไล่ถาโถม ก็ยังยืนหยัดฝ่าฟันอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไป

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

 

 

รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 

  • ฉายารัฐบาล ปี 52 : ใครเข้มแข็ง? รัฐบาลประกาศแผนปฏิบัติการ "ไทยเข้มแข็ง" ลงทุนยกเครื่องประเทศครั้งใหญ่ ภายใต้พ.ร.บ. และพ.ร.ก.เงินกู้รวม 8 แสนล้านบาท มีเสียงวิจารณ์เรื่องผลประโยชน์ของพรรคร่วมรัฐบาล ความไม่โปร่งใส จนเกิดคำถามว่าสร้างหนี้เพื่อฟื้นประเทศทำให้ใครเข้มแข็งระหว่างประชาชน หรือนักการเมือง ?
  • นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี : หล่อหลักลอย เป็นนายกฯ ที่ภาพลักษณ์ดี หน้าตาดี ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อให้ ครม. มีความรับผิดชอบทางการเมืองมากกว่าทางกฎหมาย แต่เมื่อรัฐมนตรีบางคนมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย หรือความไม่โปร่งใสกลับไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง เท่ากับไม่สามารถกำกับให้กฎเหล็กมีผลใช้บังคับได้

  • ฉายารัฐบาล ปี 53 : รอดฉุกเฉิน รัฐบาลต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ การเมือง ความขัดแย้ง จนต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในหลายพื้นที่จนทุกฝ่ายมองว่า รัฐบาลไม่น่าบริหารต่อได้ แต่สุดท้ายรอดจากวิกฤตต่าง ๆ รวมทั้งรอดพันจากคดียุบพรรคบชป. ท่ามกลางข้อกังขาจากสังคม 

  • นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี : ซีมาร์คโลชั่น ภาวะที่ไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางสังคม เสมือนผู้ป่วยหนักที่ต้องการยารักษาโรค สังคมคาดหวังว่าจะแก้ไขปัญหาและรักษาได้ แต่ผลทำได้เพียงบรรเทาโรคเสมือนการใช้ "ซีม่าโลชั่น" ทาแก้คันเท่านั้น

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

  • ฉายารัฐบาล ปี 54 "ทักษิณส่วนหน้า" รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถสลัดภาพ ทักษิณ ไปได้จนเหมือนเป็นส่วนหน้าไปแล้วเช่น นโยบายหาเสียง ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ 
  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี "นายกฯนกแก้ว" มาจากความสวยที่โดดเด่น ดุจดั่งนกแก้วที่มีสีสวยงาม แต่กลับไม่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ต้องมีพี่เลี้ยงคอยดูแล ได้แค่พูดตามบทที่เขียนไว้เท่านั้น โดยไม่ทราบข้อเท็จจริงอะไร และพูดผิดพูดถูกอยู่ตลอด
  • ฉายารัฐบาล ปี 55 "พี่คนแรก" ล้อคำจากนโยบายที่ขึ้นชื่อของรัฐบาล เช่น รถคันแรก บ้านหลังแรก แต่ด้วยความที่รัฐบาลต้องบริหารประเทศ โดยมีเงาของพี่ชาย พี่สาว พาดผ่านเข้ามา รวมไปถึงปัญหาต่าง ๆ ก็มาจากเรื่องของพี่ เรียกได้ว่าเอะอะอะไรก็พี่ เรื่องของพี่ต้องมาก่อน ต้องมาเป็นอับดับแรก

  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี "ปูกรรเชียง" ล้อจากชื่อเล่นของนายกฯ คือ "ปู" การบริหารงานของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ต้องแบกภาระ และใบสั่งจากพี่ชาย พี่สาว คนรอบข้างก็คอยลากไปลากมา ไม่เห็นผลงานเป็นรูปธรรม เมื่อมีปัญหาการเมือง มักจะตีกรรเชียง ลอยตัวหนีปัญหา

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

รัฐสภาปีนี้ไม่เป็นมิตรกับรัฐบาล

  • 2562 ฉายาสภาฯ : ดงงูเห่า

  • 2563 ฉายาสภาฯ : ปลวกจมปลัก

  • 2564 ฉายาสภาฯ : สภาอับปาง

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้รัฐบาลควรทำอย่างไร

  1. ปรับครม.ชุดใหม่ เรียกความเชื่อมั่น

  2. ลงมือทำให้เป็นรูปธรรม

  3. รัฐบาลต้องมีความกล้าตัดสินใจในสาระสำคัญ สิ่งที่ควรทำ

  4. แก้ปัญหาเสถียรภาพรัฐบาล - พรรคพปชร. - พรรคร่วมรัฐบาลให้ทำงานเป็นทีม มิใช่ต่างคนต่างทำ

ฉายารัฐบาล สะท้อนความเชื่อมั่น ศรัทธา

การทำงานเป็นทีมของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะพลิกวิกฤติศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชนให้กลับคืนมา

 

ที่มา : เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร

logoline