svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

24 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดินลงพื้นที่รับฟังข้อชี้แจงจากอบจ.ตรัง กรณีชาวบ้านคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ หวั่นปัญหาขัดแย้งซ้ำรอยตำบลนาบอน จ.นครศรีธรรมราช

ผู้แทนจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นำโดยนายวทัญญู ทิพยมณฑา รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อร้องเรียน และข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ 5 ต.บางเป้า อ.กันตัง จ.ตรัง ซี่งเป็นพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง เตรียมจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ หรือโครงการแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้า ขนาด 9.9 เมกะวัตต์ บนเนื้อที่ 40 ไร่ งบประมาณ 2,000 ล้านบาท ที่ผ่านมาในการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านนั้น ถูกชาวบ้านในพื้นที่ออกมาคัดค้าน

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

ทั้งนี้ มีนายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธาน นายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ นายก อบจ.ตรัง ผู้บริหาร สมาชิกสภา. อบจ.ตรัง และตัวแทนบริษัทที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน เข้าร่วมชี้แจง

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

โดยอบจ.ตรัง เชิญตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังด้วย ทั้งนี้ ทางผู้ตรวจการแผ่นดินต้องการรับทราบประเด็นปัญหา เรื่องพื้นที่ก่อสร้างว่าขัดต่อผังเมืองรวมหรือไม่ ,การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ,การจัดทำข้อมูลศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความคืบหน้าของโครงการ

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

อบจ.ตรังได้ชี้แจงว่า สถานที่ก่อสร้างเป็นพื้นที่เหมาะสม ไม่ขัดต่อผังเมืองรวมจังหวัดตรัง ,จุดก่อสร้างห่างจากชุมชนประมาณ 300 เมตร, มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านไปแล้วหลายครั้งในรัศมี 3 กิโลกรัม รอบจุดที่ตั้งโครงการ รวม 7 หมู่บ้าน ใน 3ตำบล คือ.ต.บางเป้า,ต.บางหมาก ,ต.คลองชีล้อม โดยชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยและไม่เข้าข่ายการทำศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะขนาดเพียง 9.9 Mw เท่านั้น

 

แต่ได้ทำมาตรการรองรับครอบคลุมในหลายประเด็น และเตรียมจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพิ่มอีกประมาณ 2 ครั้ง ซึ่งการก่อสร้างโครงการดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจังหวัดตรัง ที่ขณะนี้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นจำนวนมากสูงวันละ 652 ตัน

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

ในขณะที่พื้นที่กำจัดขยะมีเป็นแบบฝังกลบเพียง 2 แห่ง คือ ของเทศบาลนครตรัง และของเทศบาลเมืองกันตัง และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเต็มขีดความสามารถ และจังหวัดตรังจะเข้าขั้นวิกฤติเรื่องปัญหาขยะ จึงเป็นโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

ส่วนความคืบหน้าของโครงการขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนที่ 4 คือผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดตรังแล้ว และส่งไปถึงกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแล้ว เตรียมจะนำเข้าสู่คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการกำจัดมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มอบหมายให้เอกชนดำเนินการ หรือร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้วจะส่งต่อไปยังคณะกรรมการกลางจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พิจารณาให้ความเป็นชอบเป็นลำดับต่อไป

 

สำหรับแผนการดำเนินการ ในช่วงการพัฒนาโครงการ มกราคม 2564 - มิถุนายน 2565 และ ช่วงระยะเวลาก่อสร้าง มิถุนายน 2565 - ธันวาคม 2566 ดำเนินการกำจัดขยะ 20 ปี

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่ที่มาเข้าร่วมรับฟังด้วยนั้น ไม่มีใครแสดงความคิดเห็น โดยหลังจากนี้ทางผู้แทนของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จะนำข้อมูลที่ได้ไปเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อพิจารณาต่อไป หรืออาจจะลงตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างก่อไป

 

ทั้งนี้ หวั่นว่าจะเกิดปัญหาประชาชนไม่มีส่วนร่วม หรือเกิดความไม่เข้าใจ ความขัดแย้งตามมา เหมือนกรณีชาวบ้านตำบลนาบอน อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช ที่บุกทำเนียบรัฐบาลคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวลอยู่ขณะนี้

ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ ชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้าขยะ

ภาพ/ข่าว : คนิตา สีตอง จ.ตรัง

logoline