svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

18 ธ.ค. วันแรงงานข้ามชาติสากล LPN วอนหยุดละเมิดสิทธิ

18 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันแรงงานข้ามชาติสากล ประเทศไทย ต้องไม่ปฏิเสธ การมีแนวนโยบายที่ดี ปกป้องคุ้มครอง ไม่คุกคามในชีวิต การไม่กระทำซ้ำขูดรีดทางนโยบาย และสิทธิมนุษยชน กับแรงงานข้ามชาติที่ทำงาน และพักอาศัยในประเทศไทย

เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล
18 ธันวาคม IMD : International Migrant Day 2021 สมพงค์  สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) กล่าวว่า ทุกๆ  ปี ของวันนี้ เป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล (International Migrants Day)  หรือเป็นวันผู้ย้ายถิ่นสากล ด้วยการประกาศของ UN ซึ่งมาจากอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ค.ศ.1990 เพื่อให้แรงงานข้ามชาติ และผู้ติดตามในประเทศต่างๆ ได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน สิทธิที่ต้องได้รับ การได้รับการปฏิบัติที่ดีจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ ทั้งประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา สีผิว และเพศสภาพ ฯลฯ 

 

และทุก ๆ ปี หน่วยงานภาคีต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ (Campaign)   แลกเปลี่ยนความรู้จากการปฏิบัติและทางวิชาการ การถอดบทเรียนการทำงาน การรณรงค์เชิงนโยบายต่อภาครัฐ (Advocacy) การส่งเสียงจากพี่น้องแรงงาน (Voices for Labour) การแสดงออกทางวัฒนธรรม การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารเพื่อการณ์ณรงค์ (Advocacy Media) การออกมาเดินบนท้องถนน การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ “แพลตฟอร์ม” หรือ Platform ต่าง ๆ  

18 ธ.ค. วันแรงงานข้ามชาติสากล LPN วอนหยุดละเมิดสิทธิ

ที่สำคัญยิ่ง ข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ  ของหน่วยงานภาคีความร่วมมือ สถาบันวิชาการ/ CSO/ Private Sector / Migrant Labour Group ที่รัฐบาลต้องตระหนักและนำไปพินิจพิจารณา วิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ  และนำไปตัดสินใจในเชิงนโยบาย เป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่ง เราจะทำอย่างไรให้ถึงมือนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง  

 

ประเทศไทยปฏิเสธไม่ได้ว่า "ไม่ต้องการแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชา และส่วนหนึ่งจากเวียดนาม

18 ธ.ค. วันแรงงานข้ามชาติสากล LPN วอนหยุดละเมิดสิทธิ

ประเทศไทย ต้องไม่ปฏิเสธ "การมีแนวนโยบายที่ดี แนวปฏิบัติที่ดี การปกป้องคุ้มครอง การไม่คุกคามในชีวิต การไม่กระทำซ้ำขูดรีดทางนโยบาย การออกระเบียบ คำสั่งที่ขัดต่อกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน เมื่อมีการให้แรงงานข้ามชาติทำงานและพักอาศัยในประเทศไทย  

 

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบกดขี่ ขูดรีด รีดไถ เรียกรับส่วย ต่างๆ นานา จากความไม่รู้กฎหมาย จากความไม่เท่าทัน  จาก "ความกลัว" ของแรงงานข้ามชาติ

 

และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นายจ้าง​ ผู้ประกอบการในรูปแบบต่าง ๆ   ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาต่าง ๆ ที่ รัฐบาลให้สัตยาบัน ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างหรือผู้ประกอบการต้องไม่ละเมิดสิทธิในชีวิต ร่างกาย​  การกดขี่ขูดรีดแรงงาน การทำให้เป็นรายงานบังคับ​  แรงงานทาสค้ามนุษย์  ซึ่งเป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง

 

LPN  และ​เครือข่าย​ความร่วมมือ​ แนวร่วมต่างๆ​ ทั้งภาครัฐและเอกชน​ ยังคงมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิต คุ้มครองสิทธิ ความเสมอภาค การพึ่งตนเอง และสรรค์สร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ 

 

และปรารถนาใน 10  ปีข้างหน้าว่า   “ประชากรอาเซียน แรงงานข้ามชาติ ต้องได้รับยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีจากนโยบายสังคมและสวัสดิการที่ดีที่เกิดจากทุกคนมีส่วนร่วมผลักดันและตัดสินใจร่วมกันของประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียน เราจะยืนหยัดไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะมุงมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความยั่งยืนในทุก ๆ  มิติ และเกิดความเหลื่อมล้ำให้น้อยที่สุด นี้คือฝันที่ผมอยากเห็นใน 10 ปีข้างหน้า”

 

เชื่อมั่นว่า มือเราที่ลงมือทำสิ่งดีๆ  จะเปลี่ยนแปลงได้

 

เชื่อมั่นว่าทุกภาคี ความร่วมมือภาครัฐ​ องค์กรภาคธุรกิจ​  องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายทางสังคมที่น้องแรงงานได้มาร่วมมือกัน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีได้

 

คุณภาพชีวิตพี่น้องแรงงานดี ผลประกอบการดี เศรษฐกิจของประเทศไทยไปต่อได้​ และสมควรได้รับการชื่นชมหากมีการ​  "บริหารจัดการแรงงานข้ามชาติได้ดีในประเทศไทย" และรัฐบาลไทยฟังเสียงพวกเรานำไปปรับเปลี่ยนนโยบายให้เกิดผลดีและยั่งยืนได้

18 ธ.ค. วันแรงงานข้ามชาติสากล LPN วอนหยุดละเมิดสิทธิ

logoline