svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

15 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปรากฏการณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แอนโทนี่ บลิงเคนเดินทางมาพบกับนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติ ครบหนึ่งปีตั้งแต่วันสาบานตนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เดินทางมาเยือนประเทศไทย

ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นยุทธการของพญาอินทรีในการเดินเกมในภูมิภาคเอเชีย การเดินเกมของ บลิงเคน ไม่ใช่แค่ไทยที่ต้องจับตามองแต่เป็นของทั้งโลก เพราะนี่คือยุทธการทวงบัลลังก์ เป็นเป้าหมายของรัฐบาลโจ ไบเดน และส่งรัฐมนตรีมือขวามา

 

 

แอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เยือนไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ ม.ค. 2564

  • กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า มาเยือนเพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อพันธไมตรีในสนธิสัญญาสหรัฐฯ กับไทย
  • ฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังการเกิดโรคระบาด การรับมือสถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
  • หารือประเด็นสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นในเมียนมา กต.ไทยระบุ เป็นโอกาสในการเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ
  • กระชับความร่วมมือในประเด็นที่ 2 ประเทศให้ความสำคัญร่วมกัน

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เราต้องจับตาอย่างยิ่ง ในสถานการณ์เอเชียตอนนี้มีอยู่ 5 ปรากฎการณ์ที่ต้องพิจารณา

  • กัมพูชา-ฮุนเซน หนุนลูกชาย 'ฮุน มาเนต’
  • เผาอาวุธอเมริกา สั่งซื้ออาวุธจากจีน
  • จีน-ไต้หวัน สหรัฐฯ ส่งทหารหน่วยพิเศษ และ 'นาวิกโยธิน' ไปไต้หวัน
  • คุก 'อองซาน ซูจี'
  • 'ดอน ปรมัตถ์วินัย' รมว.ต่างประเทศ ขนวัคซีน อาหาร ยารักษาโรคของกลุ่มประเทศ EU ไปให้เมียนมา

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า เดินทางไปเมียนมา 14 พ.ย. สถานการณ์ของเมียนมาในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จึงได้ประชุมและพูดคุยกับหน่วยงานระหว่างประเทศหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งต้องการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับเมียนมา ได้นำสิ่งของจำเป็น วัคซีนไปบริจาค ราว 17 ตัน ไปส่งมอบ ได้มีการพูดคุยกับ"พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง ลาย" ด้วย

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

เป็นปรากฏการณ์ระลอกนี้ที่พญาอินทรี เป็นบุคคลที่มีความสำคัญของสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 4 สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับไทยอย่างมาก ในระยะเวลา 1-2 เดือนที่ผ่านมา ผิดปกติจากก่อนหน้านี้ไทยไม่ได้รับการต้อนรับจากสหรัฐอเมริกา

 

18-19 ต.ค. 64 'เดเร็ค ชอลเล็ต' ที่ปรึกษาก.ต่างประเทศสหรัฐฯ เข้าพบ-หารือกับ "ดอน ปรมัตถ์วินัย' รมว.ต่างประเทศ หารือเรื่องการเสริมสร้างความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ การรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือทวิภาคี และในกรอบอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ เพื่อการให้ความช่วยเหลือต้านมนุษยธรรมให้แก่ประชาชนในเมียนมา

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

19 พ.ย.64 'เดวิด เอส โคเฮน' รองผอ.สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA เข้าพบ'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เป็นเวลา 45 นาที 'พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม' เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ระบุว่าคุยกันในเรื่องงานต่างประเทศ และความมั่นคง ความร่วมมือทางทหาร เพื่อเสถียรภาพในภูมิภาค

***สถานการณ์ในเมียนมา

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

29 w.ย. 64 'เท็ด โอเชียส' ประธานสกาธุรกิจสหรัฐอเมริกา- อาเซียน (USABC) เข้าพบ 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นายกรัฐมนตรี หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือต้านการค้าและการลงทุนนำนักธุรกิจสหรัฐฯ ประชุมทางไกลออนไลน์กับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม 'นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์' รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 'นายอนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกฯและรมว.สาธารณะสุข

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

2-4 ธ.ค. 64 แดเนียล คริเตนบริงค์ ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ต้านกิจการเอเชียตะวันออก และแปซิฟิก เดินทางมาเยือนไทย เป็นครั้งแรกหลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน ก.ย.

  • เอกสารก.ต.ระบุว่า หารือถึงแนวทางความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ต่อเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้า
  • การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี 65 ซึ่งสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพต่อในปี 66

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

5 ธ.ค. 64 แอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ ส่งสารถึงประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันชาติ

"ไทยกับสหรัฐฯ ได้เสริมสร้างความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนมาตลอดระยะเวลากว่าสองศตวรรษ และจะร่วมมือกันต่อไปโดยเฉพาะการร่วมกันฟื้นฟูชาติให้กลับมาเฟื้องฟูและแข็งแกร่งกว่าเดิมหลังผ่านพ้นการระบาดใหญ่ของโรควิด-19 และสหรัฐฯชื่นชมบทบาทการเป็นผู้นำของไทยในภูมิภาคนี้และทั่วโลก"

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ถ้าพิจารณาจากภารกิจ "แอนโทนี บลิงเคน" รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ จะเห็นร่องรอย

  • 13-14 ธ.ค. เยือนกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ปาฐกถาเรื่องความสำคัญของภูมิภาคอินโด-แปชิฟิกตอกย้ำลักษณะสำคัญของหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ กับอินโดนีเซีย
  • 14-15 ธ.ค. เยือนมาเลเซียผลักดันความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับมาเลเซียในการรับมือกับโควิด-19 การสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น การส่งเสริมภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง
  • 15-16 ธ.ค. เยือนไทย ยืนยันความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อพันธไมตรีในสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐฯ กับไทยทำงานเพื่อฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังการเกิดโรคระบาด และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 17 ธ.ค. เดินทางไปโฮโนลูลู รัฐฮาวาย เพื่อพบกับพลเรือเอก จอห์น อากีลีโน ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

เป้าหมายหลักในการมาเยือน

 

  • ประกาศให้โลกรู้ว่าอเมริกากลับมาแล้ว
  • หารือเรื่องการส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ
  • ทำให้นโยบายต่างประเทศเป็นสิ่งที่กินได้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อพลเมืองสหรัฐฯ บลิงเคนใช้โอกาสนี้หรือหรือโน้มนัาวให้ไทยดำเนินการอะไรงางอย่างเพื่อพลักตันให้รัฐบาลาหารเมียนมาปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ ของที่ประชุดสุดยอดอาเชียนเมื่อเดือน เม.ย. ชั่ง มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐประหารเมียนมาเข้าร่วมประชุมด้วย
  • สกัดการขยายตลาดของจีนต้านเศรษฐกิจ สหรัฐฯ จะต้องการกลับมามีบทบาในไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน
  • เจรจาเรื่องการเดินทางมาประชุมเอเปคของโจ ไบเดน+การปฏิรูปของไทย

ยุทธการพญาอินทรี ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา

 

ลึกลับกว่านั้นจะเป็นเป้าหมายอยู่ที่เมียนมา เรื่องภูมิรัฐศาสตร์ภายในภูมิภาคช่องแคบไต้หวัน รวมถึงการปฏิรูปประชาธิปไตยและการเมืองในประเทศไทย ยุทธการของพญาอินทรีรอบนี้คนไทยต้องจับตามอง แต่ผู้นำอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องปรับท่าทีและเตรียมนโยบายให้ชัดเจน  เมื่อสหรัฐเดินทางมาแถบนี้เพื่อที่จะทวงบัลลังก์คืนและหลังจากนี้สถานการณ์ของโลกจะบีบให้เลือกข้างมากขึ้น เป็นบทบาทและท่าที แนวนโยบาที่ต้องรีบตัดสินใจ

 

ที่มา : เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร

logoline