svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

“เมืองอัจฉริยะ” ตอบโจทย์วิถีใหม่ประเทศไทย

15 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เนชั่น และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงานสัมมนา THAILAND Move On : Reshaping to Smart City ก้าวต่อไป ภูมิทัศน์ใหม่ เมืองอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพชีวิต สู่ความ Smart ในทุกด้าน

หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19  เป็นตัวเร่งสำคัญของเทคโนโลยีนวัตกรรม และอินเทอร์เน็ตให้มีความก้าวหน้าและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart city”  อีกก้าวของนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในทุกๆ ด้าน ให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

 

ไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้เมืองสะดวกสบายขึ้น และที่สำคัญคือการลดต้นทุนลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย ส่งผลต่อการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน


นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวถึง นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและการออกแบบเมือง สู่การเป็น “เมืองอัจฉริยะ”  
โครงการ Smart City ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 


โดยรูปแบบการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 


1. เมืองเดิมน่าอยู่ พัฒนาจากเมืองเดิมที่มีอยู่แล้วก่อนนำโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เป็นสมัยใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 


2. เมืองใหม่ คือสร้างเมืองใหม่เป็นพื้นฐานสมัยใหม่ วางโครงสร้างพื้นฐานใหม่ สร้างสิ่งในความสะดวกขึ้นมาใหม่เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองใหม่แห่งนี้ 
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของแต่ละพื้นที่จะพัฒนาตามเส้นทาง และบริบทของแต่ละพื้นที่ 


องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วย 

 

1. กำหนดวิสัยทัศน์ ซึ่งกำหนดโดยประชาชน และผู้บริหารของเมือง 

 

2. ต้องมีการวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานวิเคราะห์เทคนิคดิจิทัล จะนำมาเป็นตัวช่วยสำคัญในการขับเคลื่อนในระยะยาว สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารกันได้ด้วยข้อมูล 
เพื่อเกิดการบริหารจัดการเมืองอย่างชาญฉลาด 

 

 

“เมืองอัจฉริยะ” ตอบโจทย์วิถีใหม่ประเทศไทย

 

 

3. มีการจัดทำพัฒนาข้อมูลเพื่อการพัฒนาการเมืองซึ่งเรียกว่า City Data Platform จะมีชุดข้อมูลที่จำเป็นในการใช้ในการบริหารเมืองรวมกันไว้เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ของเมืองทำให้การบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ เป็นธรรมโปร่งใส และประชาชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในพื้นที่ 

 

4. สำคัญที่สุด คือความยั่งยืนของการพัฒนา โดยต้องมีข้อมูลหรือมีการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ต้องเปิดโอกาสให้มีพื้นที่ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทุกเวทีให้มีตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชนสามารถนำเสนอแผนพัฒนาเมืองตามบริบท และความต้องการของเมืองของพี่น้องประชาชน เพื่อการกระจายตัวของการพัฒนาและมีการพัฒนาเมืองตามสภาพที่เหมาะสมกับสิ่งที่มี และไม่มีอยู่ ความสำคัญคือต้องกระจายความเจริญไปถึงพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้

 

ประเทศไทยพยายามผลักดัน Smart City ให้เกิดขึ้นจริงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12 และนโยบาย Thailand 4.0 

 

องค์ประกอบในการพัฒนา Smart City ครบทั้ง 7 ด้าน ตามหลักที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้กำหนดไว้

 

 

“เมืองอัจฉริยะ” ตอบโจทย์วิถีใหม่ประเทศไทย

 

 

โดยการบริหารเมืองแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมือง

 

1. Smart Environment คือต้องมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

 

2. Smart Economy คือต้องทำให้ประชาชนมีรายได้ที่ดี โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการประกอบอาชีพในการทำธุรกิจ 

 

3. Smart Mobility คือการเดินทางการขนส่งของพี่น้องประชาชนโลจิสติกส์ต่างๆ ในเมืองต้องสะดวกและปลอดภัย

 

4. Smart Governance คือการบริหารจัดการเมือง การบริหารของหน่วยงานภาครัฐในเมืองต้องโปร่งใสเป็นธรรม และประชาชนต้องมีส่วนร่วม

 

 5. Smart Living ประชาชนต้องเข้าถึงบริการทางการแพทย์ มีการลดปัญหาอาชญากรรม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น 

 

6. Smart People ประชาชนที่อยู่ในเมืองต้องได้รับการพัฒนาอาชีพ ต้องมีการให้ความรู้ เสริมทักษะต่างๆ เพื่อให้มีกำลังคนที่พร้อมในการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต

 

7. Smart Energy เรื่องของพลังงาน เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง โดยพลังงานทดแทนต้องถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาเมืองนั้นให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

“เมืองอัจฉริยะ” ตอบโจทย์วิถีใหม่ประเทศไทย

 

ปัจจุบันมี เมืองที่มุ่งมั่นในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปแล้วกว่า 50 เมือง ใน 29 จังหวัด โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย คือมีทั้งเมืองใหญ่ เมืองเล็ก เมืองเก่า เมืองใหม่ และเมืองขนาดที่เป็นพื้นที่เฉพาะ ระดับเทศบาล ระดับตำบล จนถึงระดับจังหวัด

 

"ตอนนี้กำลังเสนอแผนเพื่อรอประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะอีก 36 พื้นที่ 23 จังหวัด 
เพื่อส่งเสริมการขับเครื่องเมืองอัจฉริยะ รัฐบาลมีมาตรการและแนวทางในการกระตุ้นการลงทุน ให้ผู้ประกอบการทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการประยุกต์
ใช้งานในเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาบุคลากร และกำลังคน ตลอดจนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

 

เป็นโอกาสของผู้ประกอบการและโอกาสของภาครัฐในการเปลี่ยนแปลงเมือง และประชากรเมืองไปสู่เมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริงในอนาคต ซึ่งขณะนี้ก็มีหลายพื้นที่ที่พัฒนาไปแล้ว ทั้งในเมืองหลวง และเมืองในต่างจังหวัดใหญ่ๆ เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ตหรือเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ eec

 

ตัวอย่างในเมืองหลวงที่เห็นได้ชัดคือ สามย่าน ซิตี้  ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมการใช้ประโยชน์สูงสุด ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ประหยัดพลังงาน เรื่อง Smart Living 
การอยู่อาศัย ระบบการขนส่ง การเดินทาง ในอนาคตของประเทศไทยจะทำให้เกิดขึ้นมากที่สุดในทุกๆ พื้นที่ต่อไป


ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายและการขับเคลื่อนของรัฐบาลที่จะเปลี่ยนเมืองประเทศเราไปสู่ Smart City  ซึ่งไม่เพียงมุ่งหวังที่จะพัฒนาเมือง แต่เราต้องการสร้างความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ให้กับพี่น้องประชาชนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีพลังงานสะอาด
ที่ดีที่สุด พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดีสะดวกสบาย ซึ่งคนไทยทุกคนจะรับรู้ได้แน่นอนครับในอนาคตอันใกล้นี้"

 

“เมืองอัจฉริยะ” ตอบโจทย์วิถีใหม่ประเทศไทย

 


ภายในงานสัมมนา THAILAND Move On : Reshaping to Smart City ประกอบด้วยหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ 

  • เมืองอัจฉริยะตอบโจทย์วิถีใหม่ 
  • แพลตฟอร์มเมืองอัจฉริยะเพื่อการศึกษา
  • ออกแบบเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิต
  • ยุทธศาสตร์โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะนครหลวง
  • Road Map นวัตกรรมมุ่งสู่เมืองอัจฉริยะ
  • Network โทรคมนาคมเมืองอัจฉริยะ

ฯลฯ

จัดระหว่างวันที่ 15 - 17 ธันวาคมนี้
เวลา 13.00 - 16.30 น. 
สามารพลงทะเบียนรับชมผ่านระบบ ZOOM คลิกที่นี่ https://nregister.nationgroup.com/NTRSCL/register.php

logoline