svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ยานสำรวจอวกาศ NASA เข้าใกล้ดวงอาทิตย์

15 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ยานสำรวจอวกาศ Parker Solar Probe ของ NASA ผ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์แล้ว ในระหว่างภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์เพื่อไขปริศนาลมสุริยะ และนับเป็นการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด หลังถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2560

ยานสำรวจ Parker Solar Probe (PSP) ขององค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (NASA) ที่ได้ชื่อว่า "ยานสัมผัสดวงอาทิตย์" ได้ผ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศสุริยะ (solar atmosphere) ที่เรียกว่า "โคโรนา" (corona) ได้ขยับเข้าใกล้ และสัมผัสพื้นผิวและออกมาอย่างรวดเร็วได้อย่างน้อย 3 ครั้ง

 

ยานสำรวจอวกาศ NASA เข้าใกล้ดวงอาทิตย์

 

NASA ตั้งชื่อยานสำรวจ PSP เพื่อเป็นเกียรติแก่ "ยูจีน พาร์กเกอร์" นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านลมสุริยะ และส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศโดยตรวจ "Delta 4" ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2560 เพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์เป็นเวลา 7 ปี โดยยานลำนี้ได้ชื่อว่ามีความเร็วกว่ายานอวกาศทุกลำ คือ 150 กิโลเมตรต่อวินาที ที่สามารถเดินทางรอบโลกได้ภายใน 4 นาที หรือเดินทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ โดยใช้เวลาแค่ 40 นาทีเท่านั้น แต่ NASA ระบุว่ายานลำนี้ ยังทำความเร็วได้อีก โดยตั้งเป้าไว้ที่ 200 กิโลเมตรต่อวินาที  

 

ยานสำรวจอวกาศ NASA เข้าใกล้ดวงอาทิตย์

ในการสำรวจดวงอาทิตย์ ยาน PSP ได้เหวี่ยงตัวรอบดาวศุกร์ 7 ครั้ง เพื่อเร่งความเร็วให้สามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ให้ได้ 24 ครั้ง และแต่ละรอบยานก็จะขยับเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อตรวจวัดข้อมูลเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กในบรรยากาศชั้น "โคโรนา" และติดตามกระแสการไหลเวียนของพลังงานในดวงอาทิตย์ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงหรือลมสุริยะ รวมทั้งสามารถไขปริศนาอื่น ๆ เช่น เหตุใดบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์จึงมีอุณหภูมิร้อนแรงกว่าชั้นในของดาวหลายเท่า

 

ยานสำรวจอวกาศ NASA เข้าใกล้ดวงอาทิตย์

 

ที่จริงยาน PSP ได้ผ่านเข้าสู่ชั้นโคโรนาตั้งแต่เดือนเมษายน ในระหว่างที่ยานโคจรใกล้ดวงอาทิตย์รอบที่ 8  เมื่อเดือนเมษายน และนักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาไม่กี่เดือนในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลับมา แต่กว่าจะยืนยันได้ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน 

 

ยานสำรวจอวกาศ NASA เข้าใกล้ดวงอาทิตย์

ส่วนปริศนาที่ว่าเหตุใดจึงไม่ถูกพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาเป็นจุล ก็มีคำตอบว่าในบางสภาวะที่อนุภาคอุณหภูมิมีความหนาแน่นต่ำ เช่น ในห้วงอวกาศหรือชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ความร้อนก็จะไม่ถูกถ่ายทอดมาถึงยาน PSPมากนัก ยานใช้เกราะป้องกันความร้อน TPS (Thermal Protection System) หนา 4.5 นิ้ว ที่ทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ที่อยู่ในรูปแบบของโฟมน้ำหนักเบา  ทำให้ด้านในของยานมีอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส ส่วนด้านนอกเคลือบเซรามิกสีขาว ที่จะช่วยสะท้อนความร้อนออกไปให้มากที่สุด 

 

ยานสำรวจอวกาศ NASA เข้าใกล้ดวงอาทิตย์

 

บางส่วนของยานประกอบด้วยอุปกรณ์ป้องกันความร้อน ทำจากวัสดุจุดหลอมเหลวสูง เช่น สายเคเบิลและ "ถ้วยฟาราเดย์" (Faraday cup) ที่ใช้ตรวจวัดเก็บข้อมูลประจุไฟฟ้าและกระแสอิเล็กตรอนในลมสุริยะ และติดตั้งระบบทำความเย็นโดยใช้น้ำปราศจากประจุไฟฟ้า (Deionized water) เป็นสารหล่อเย็น 

 

logoline