เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
การเมืองเรื่อง"จะนะ"กำลังร้อนแรงมาก ปมการขัดแย้งในการสร้างอุตสาหกรรม เพื่อการพัฒนาในเชิงที่สร้างมูลค่าในการอุตสาหกรรมแทนที่เกษตรกรรมและวิถีชีวิตชาวประมงพื้นถิ่นรอบทะเล กำลังกลายเป็นประเด็นใหญ่ ความขัดแย้งก่อตัวมานาน
- อนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน
- ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า (รมช.เกษตรฯ ขณเนั้น) เป็นรองประธาน
- เสกสกล อัตถาวงศ์ (สุภรณ์ อัตถาวงศ์) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ
- ประสาน หวังรัตนปราณี ผู้ช่วยรมต.ประจำ พล.อ.ประวิตร เป็นกรรมการ
- 28 ก.ย. 2563 คณะกรรมการผังเมืองรวมจังหวัดสงขลามีมติเห็นชอบเปลี่ยนผังเมืองให้ที่ดินบางส่วนของ อ.จะนะ จากพื้นที่สีเขียว/สีเขียวอ่อน (พื้นที่ชนบทเกษตรกรรม/อนุรักษ์ป่าไม้) เป็นสีม่วง (อุตสาหกรรม) เพื่อรองรับโครงการเมืองอุตสาหกรรมจะนะ
- 10-15 ธ.ค. 2563 ชาวบ้านจะนะและครื่อข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เดินทางจาก จ.สงขลา มาปักหลักชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้นายกฯ หยุดโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ และให้จัดทำการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ก่อนเดินหน้าโครงการเพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจต่อโครงการพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้
- ยอมรับข้อเสนอของเครือข่ายฯ ที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของ ศอ.บต. และติดตามการแก้ไขปัญหาโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตอำเภอจะนะ ให้ยุติการดำเนินการใด ๆ ในโครงการนี้เอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผังเมืองและการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการอุตสาหกรรมของบริษัทเอกชน
- รัฐบาลต้องจัดให้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของโครงการ
6 ธ.ค. 2564 เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามบันทีกข้อตกลงที่ทำไว้กับผู้ชุมนุมเมื่อเดือน ธ.ค. 2563 และประท้วงที่มีการทำผิดสัญญาเนื่องจากบริษัทเอกชนได้เดินหน้าจัดทำอีไอเอของโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ ก่อนถูกสลายการชุมนุมช่วงกลางดึก มีการร้องเรียนว่า ศอ.บต.กระทำการขัดกับมติครม. ปรากฏว่าผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามาตรวจสอบเรื่องนี้บอกว่าไม่ผิด ว่าด้วยเรื่องของชุมชนวิถีชีวิตของคนกรรมการสิทธิ์พิจารณาเรื่องนี้และเป็นอันยุติเรื่อง
แต่ปัญหาว่าด้วยเรื่องของชาวบ้านที่มีความคิดแตกต่างกันกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ออกมาเรียกร้องให้ยุติโครงการที่ขับเคลื่อน และหลังจากนี้เรื่องของจะนะกลายเป็นเรื่องของการเมืองและเป็นการเมืองที่รุมกินโต๊ะ
คณะก้าวหน้าลงพื้นที่ต่อเนื่องและออกมากดดันว่าด้วยเรื่องของการจับกุมชาวบ้าน ก่อนหน้านี้คุณธนาธรได้ลงพื้นที่ไปดูผลกระทบ และตอนนี้ไทยสร้างไทยก็ออกมาคัดค้านโครงการนี้ด้วย แต่ผู้กองธรรมนัสก็ได้ออกมาพูดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับตนเอง
เรื่องราวของจะนะเคยมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาว่าด้วยเรื่องของการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ไปเอื้อให้กับกลุ่มทุน และนักการเมืองซึ่งก็คือคุณนิพนธ์ หลังจากที่มีการสลายการชุมนุมผู้กองธรรมนัสได้มีการโพสต์เฟซบุ๊ก
“จบการกิจหลังจากที่ผมพ้นจากการเป็นตำแหน่ง รมช. เกษตรฯ ผมไม่สามารถสานงานต่อเรื่องปัญหาของพี่น้องประชาชนในหลายๆ เรื่องรวมถึงปัญหาของพี่น้องชาวจะนะ ซึ่งคงไม่มีใครรู้และเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา ยกเว้นผู้ที่มีส่วนได้เสียกับโครงการนี้ ผมได้รับการประสานจากเพื่อนๆ สส. หลายท่านให้เข้ามาช่วยเหลือพี่น้องชาวจะนะเหมือนเดิม แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผมไม่สามารถไปก้าวล่วงกับคณะทำงานชุดใหม่ของรัฐบาลได้อีก ผมยังเป็นห่วงพี่น้องชาวจะนะ และผมจะใช้ระบบสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาช่วยเหลือพี่น้องชาวจะนะต่อไปครับ”
คราวนี้คุณนิพนธ์ในฐานะส.ส. ในพื้นที่ อยู่ที่จังหวัดสงขลา เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าไปกว้านซื้อที่เยอะ เพื่อการพัฒนาในเมืองอุตสาหกรรมจะนะ
" โครงสร้างนั้นผมเห็นด้วย ที่เห็นได้ชัดคือจังหวัดชายแดนภาคใต้เราแก้ปัญหาได้แล้ว ทั้งการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน ความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ขณะนี้เหลือปัญหาเดียวคือความยากจนของประชาชน ฉะนั้น การทำให้คนในพื้นที่มีงานทำผมถือว่าเป็นการแก้ปัญหาหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้ศึกษากันมานานกว่า 20 ปี "
นี่เป็นหัวใจสำคัญในการแตกแยกและวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดและสามอำเภอ เดิมทีเคยมีข้อตกลงร่วมกันกับแกนนำที่มีการเรียกร้องอยู่ 3 ข้อ
1.ขอให้ยุติการดำเนินโครงการไว้ก่อน
2.เสนอให้ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA ว่ามีความจำเป็นในการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมหรือไม่ ซึ่งจะเป็นทางออกกับรัฐบาลด้วย
3.ขอให้รายงานเรื่องการตั้งคณะทำงานศึกษา เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้รับทราบ
ไครียะห์ ระหมันยะ ตัวแทนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ออกมาต่อสู้เรียกร้องในเรื่องนี้
“ สัญญาที่ให้ไว้กับชาวจะนะทำให้รู้สึกเจ็บปวดมาก ที่ถูกหลอกมาเป็นปีๆ เชื่อว่ามีการทำ MOU ไม่ใช่แค่ที่จะนะที่เดียว พวกเราอยากจะให้ กมธ. มีการตรวจสอบอย่างถึงที่สุด ”
เมื่อไหร่ก็ตามที่วิถีชีวิตของผู้คนมีรายได้ที่ดีขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความขัดแย้ง ทางความคิด ความแตกแยกในเรื่องของสภาพพื้นที่และความเชื่อมันจะกลายเป็นทีมบริบทหนึ่งที่ต้องพิจารณาการให้รอบด้าน การจับกูไม่ใช่ทางออกของปัญหาแต่ทางออกคือทำอย่างไรให้คนในพื้นทีกับรัฐบาลมองเห็นภาพเรื่องเดียวกัน
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร