ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเรียกร้องให้ผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดทำเนียบขาวเพื่อประชาธิปไตยครั้งแรก ให้พลิกฟื้นภาวะถดถอยที่กำลังดำเนินอยู่ของระบอบประชาธิปไตยในช่วงเวลาที่ลัทธิอำนาจนิยมกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นในทั่วโลก
ไบเดนบอกในการกล่าวเปิดการประชุมสุดยอดเป็นเวลา 2 วัน เมื่อวันพฤหัสบดี ( 9 ธันวาคม ) ว่า “ในความเห็นของผม นี่คือนิยามความท้าทายในยุคสมัยของเรา นั่นคือประชาธิปไตย รัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนในบางครั้งก็อาจเปราะบาง แต่โดยเนื้อแท้ ก็มีความยืดหยุ่น"
การประชุมสุดยอดเกิดขึ้นในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐเองกำลังเผชิญกับความท้าทายที่มีต่อสถาบันและประเพณีของประเทศ รวมถึงการบุกเมื่อวันที่ 6 มกราคม เข้าไปในอาคารแคปปิตอล ซึ่งเป็นที่ตั้งของสภาคองเกรสสหรัฐ ที่ทำให้ชาวพรรครีพับลิกันหลายคนเชื่อในการอ้างของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าผลการเลือกตั้งของเขาถูกขโมย
ไบเดนบอกว่า "เรายืนอยู่ที่จุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ของเรา เราจะปล่อยให้สิทธิและประชาธิปไตยล้าหลังต่อไปโดยไม่ถูกตรวจสอบ หรือว่าเราจะร่วมกันมีวิสัยทัศน์ และวิสัยทัศน์ที่ไม่ใช่แค่วิสัยทัศน์ แต่เป็นวิสัยทัศน์ และความกล้าหาญ”
การประชุมสุดยอดเสมือนจริงรายการนี้ ได้รับการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐ และประเทศที่ไม่ได้รับเชิญบางส่วน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย
อย่างเอกอัครราชทูตจีนและรัสเซีย ประจำสหรัฐ ได้เขียนเรียงความร่วมกัน ที่บรรยายถึงรัฐบาลของไบเดนว่าแสดงถึงความคิดแบบสงครามเย็น
ขณะที่สถานีโทรทัศน์ CCTV ของทางการจีนก็รายงานว่า สื่ออเมริกันจำนวนมากเอง ก็กำลังตั้งคำถามและแสดงสงสัยเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอด และไม่ถือว่ามันเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ
อย่างเมื่อวันพุธ The Hill ได้ออกมาความคิดเห็นในบทความชื่อ "การประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย" ของไบเดน จำเป็นต้องทำให้เป็นประชาธิปไตย " โดยบอกว่า "การประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย" มีเป้า
หมายเพื่อกระตุ้นความมุ่งมั่นระดับโลกต่อระบอบประชาธิปไตย แต่ขั้นตอนและการจัดการ รวมถึงการออกแบบเนื้อหาและการคัดเลือกผู้เข้าร่วม กลับห่างไกลจากการเป็นประชาธิปไตยอย่างน่าตลก
บทความเสียดสีว่าการประชุมสุดยอดไม่เพียงแต่กีดกันนักเคลื่อนไหวและนักนวัตกรรมด้านประชาธิปไตยทั่วโลก แต่ยังรวมถึงพวกเดโมแคร็ตจากภาคประชาสังคม ฝ่ายค้าน และภาคส่วนและบุคคลอื่นๆ
ในขณะเดียวกัน แขกบางคนในรายการเชิญของสหรัฐ ก็ไม่เป็นไปตามมาตรฐานประชาธิปไตยที่กำหนดโดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อประชาธิปไตยและความช่วยเหลือในการเลือกตั้ง (IDEA)
ส่วนบทความของวอชิงตันโพสต์เยาะเย้ยว่าแม้ว่ารัฐบาลของไบเดนจะพยายามทำให้ภาพลักษณ์ของตัวเองเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตยอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวสำหรับการประชุมสุดยอดได้เผยให้เห็นถึงความไร้ความสามารถและการจัดการที่ผิดพลาดในการบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน
ส่วนบทความที่ตีพิมพ์ใน Foreign Policy เมื่อวันอังคารบอกว่ายังบอกไม่ได้ว่าการประชุมสุดยอดจะเป็นเพียงการพูดคุยที่ยืดยาว หรือเวทีสำหรับการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม การโต้เถียงกันเรื่องความถูกต้องของการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการจลาจลที่สภาคองเกรสเมื่อวันที่ 6 มกราคม ได้บั่นทอนภาพลักษณ์ของสหรัฐในฐานะประเทศประชาธิปไตย
ในความคิดเห็นที่เผยแพร่ในนิตยสาร The Nation ของสหรัฐเมื่อวันพุธในบทความที่ชื่อว่า "ไบเดนไม่ควรใช้การประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตยเพื่อเริ่มสงครามเย็นมากขึ้น" บอกว่าสหรัฐฯ พยายามที่จะครอบงำภูมิ
ภาคยูเรเซียและสร้างระเบียบโลกใหม่ ด้วยการกระทำดังกล่าว สหรัฐฯ พยายามที่จะปลอมแปลงฉันทามติของทั้งสองฝ่าย เพื่อปกป้องการกระทำของรัฐบาลไบเดน
บทความยังบอกอีกว่าค่าใช้จ่ายในการกลับไปสู่สงครามเย็นจะมีจำนวนมหาศาล
บทความชี้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ และ "สงครามเย็น" ใหม่กับจีนจะทำให้การแบ่งแยกทางเชื้อชาติแย่ลงไปอีก และก่อให้เกิดอาชญากรรมความเกลียดชังต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น